Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52859
Title: การสร้างความหมายใหม่ของ "วีรบุรุษและยอดวีรบุรุษ" ในภาพยนตร์ไทย
Other Titles: Reframing the "hero and superhero" in Thai films
Authors: ณัฐ สุขสมัย
Advisors: กิตติ กันภัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: kitti.g@chula.ac.th
Subjects: ภาพยนตร์ไทย
วีรบุรุษในภาพยนตร์
วีรบุรุษ
Motion pictures -- Thailand
Heroes in motion pictures
Heroes
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการสร้างความหมายใหม่ของวีรบุรุษและยอดวีรบุรุษที่ปรากฏในภาพยนตร์ไทย จากกลุ่มตัวอย่างภาพยนตร์ไทยทั้งหมด 24 เรื่อง ผู้วิจัยได้แบ่งภาพยนตร์ออกเป็นสองช่วง คือ ภาพยนตร์ไทยยุคอดีตและภาพยนตร์ไทยยุคปัจจุบัน เพื่อศึกษาการประกอบสร้างความหมายของตัวละครวีรบุรุษและยอดวีรบุรุษที่ปรากฏในภาพยนตร์ทั้งสองยุคสมัย โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพและกรอบแนวคิดเรื่ององค์ประกอบของการเล่าเรื่อง นอกจากนี้ยังศึกษาองค์ประกอบด้านผู้สร้างภาพยนตร์ และองค์ประกอบด้านบริบทสังคมทางควบคู่กันไป ผลการวิเคราะห์พบว่าปัจจัยด้านการเล่าเรื่อง ปัจจัยด้านผู้สร้าง และปัจจัยด้านบริบททางสังคม ได้แสดงให้เห็นถึงแบบแผนของกระบวนการสร้างความหมายใหม่ (Reframe) สี่ประการ คือ การสืบทอด (Descend) การตัดทอน (Reduce) การเพิ่มเติม (Add) และการเปลี่ยนแปลง (Change) จากการวิเคราะห์ ผู้วิจัยได้ค้นพบความหมายใหม่ของวีรบุรุษและยอดวีรบุรุษที่ถูกประกอบสร้างในภาพยนตร์ไทยยุคปัจจุบัน ได้แก่ ความเสียสละของวีรบุรุษและยอดวีรบุรุษในภาพยนตร์ไทยยุคปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไป จากการเสียสละตนเองเพื่อส่วนรวมกลับกลายเป็นการเสียสละตนเองเพื่อคลี่คลายวิกฤติการณ์ของปัจเจกชน นอกจากนี้ยังพบคุณลักษณะของความมุ่งมั่นไม่ยอมพ่ายแพ้ต่ออุปสรรค และสถานภาพของตำรวจด้วย ส่วนคุณลักษณะด้านความมีไหวพริบนั้นได้ถูกตัดทอนออกไป เนื่องจากวีรบุรุษและยอดวีรบุรุษในยุคปัจจุบันไม่มีความเป็นนักสืบ (Detective) อยู่เลย จากการวิจัยยังพบคุณลักษณะเฉพาะ (Distinctive) ทั้งด้านดีด้านเสียเพื่อสร้างความหลากหลายให้กับตัวละคร และยังถูกแต่งเติมคุณลักษณะภายนอกอันเนื่องมาจากอิทธิพลของสื่ออื่นๆ ทำให้ตัวละครวีรบุรุษและยอดวีรบุรุษที่ปรากฏในภาพยนตร์ไทยยุคปัจจุบันนั้น มีความเป็นมนุษย์ (Human Being Characteristic) มากขึ้นกว่าวีรบุรุษและยอดวีรบุรุษที่ปรากฏในภาพยนตร์ไทยยุคอดีต
Other Abstract: The purpose of this research is to study the process in reframing the term ‘hero’ and ‘superhero’ that appear in Thai films from a sample of 24 Thai films. The researcher has divided the film into two categories, Thai films in the former period and Thai films in the contemporary period, in order to study the basic construct of the meaning ‘hero’ and ‘superhero’ that appear in films of both time periods. This study is conducted through the use of qualitative research under the framework of the narrative analysis process. In addition, this research also takes into consideration other components including the creator as well as with the social context. The results acquired from this research with regards to the narrative, the creator, and the social context revealed the pattern of reframing process. This pattern comprises of four elements that includes Descending, Reducing, Adding and Changing. The researcher has discovered the new definitions of the term ‘hero’ and ‘superhero’ that has been reframed in contemporary Thai films. First, the notion of ‘sacrifice’. The sacrifice of the hero and superhero in contemporary Thai films has changed. From the act of person sacrifice to save a community, it has changed to the sacrifice to save an individual. Aside from this, the researcher has also found that the ‘hero’ or ‘superhero’ is very determined, never gives up to obstacles, regardless of which side the law and the policemen are on. Their acumen has been discarded because modern heroes and superheroes possess no investigative characters like detectives. Moreover, heroes and superheroes are idiosyncratic in both good and bad ways to create distinction between other characters. They have been created with the consideration of various media that influences their attributes so they appear humanlike compared to the ‘hero’ and ‘superhero’ of Thai films in the former period.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสื่อสารมวลชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52859
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.300
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.300
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5084690228.pdf4.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.