Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52863
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ชุมพร ปัจจุสานนท์ | - |
dc.contributor.author | อาชวินทร์ ลังคุลจินดา | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ | - |
dc.coverage.spatial | ไทย | - |
dc.date.accessioned | 2017-05-17T07:52:28Z | - |
dc.date.available | 2017-05-17T07:52:28Z | - |
dc.date.issued | 2552 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52863 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 | en_US |
dc.description.abstract | การให้สินบนเจ้าหน้าที่รัฐต่างชาติในธุรกิจระหว่างประเทศ เกิดจากการที่นักลงทุนของประเทศหนึ่งให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่รัฐของอีกประเทศหนึ่ง เพื่อผลประโยชน์ในธุรกิจระหว่างประเทศ การให้สินบนในลักษณะนี้ประเทศที่ได้รับ ความเสียหายมักจะไม่สามารถนำตัวผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดีได้เพราะผู้กระทำความผิดจะมีสถานะเป็นนิติบุคคล ดังนั้น ประเทศที่นักลงทุนมีสัญชาติจึงต้องออกกฎหมายเพื่อลงโทษนักลงทุนของตนที่ให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่รัฐของ ประเทศอื่นจากการศึกษาพบว่า นักลงทุนจากประเทศไทยมีบทบาทอย่างสูงต่อการลงทุนในประเทศพม่า ประเทศลาว และประเทศกัมพูชาตามรายงานขององค์การสหประชาชาติ ในขณะที่ตามรายงานขององค์กรระหว่างประเทศเพื่อความ โปร่งใสระบุว่า เจ้าหน้าที่รัฐของประเทศพม่า ประเทศลาวและประเทศกัมพูชามีอัตราการทุจริตสูงที่สุดในภูมิภาคเอเซีย- แปซีฟิก ดังนั้น นักลงทุนไทยจึงมีความเสี่ยงสูงที่จะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับการให้สินบนเจ้าหน้าที่รัฐต่างชาติในธุรกิจ ระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเกิดจากการเรียกร้องของเจ้าหน้าที่รัฐหรือการเสนอของนักลงทุนไทยก็ตาม ดังนั้น ประเทศไทย ควรเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาโออีซีดีเพื่อกำจัดการให้สินบนเจ้าหน้าที่รัฐต่างชาติในธุรกิจระหว่างประเทศ ค.ศ.1997 ซึ่ง เป็นกฎหมายระหว่างประเทศเพียงฉบับเดียวที่มีวัตถุประสงค์ในการปราบปรามการให้สินบนในธุรกิจระหว่างประเทศ และประเทศสำคัญของโลกได้เข้าร่วมเป็นภาคี วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ผู้เขียนจึงทำการศึกษาอนุสัญญาโออีซีดีเพื่อกำจัดการให้สินบนเจ้าหน้าที่รัฐต่างชาติในธุรกิจระหว่างประเทศ ค.ศ.1997 เพื่อเสนอแนวทางการอนุวัตรการตามกฎหมายไทย นอกจากนี้ยังได้ทำการศึกษา คำแนะนำของโออีซีดี(ฉบับแก้ไข) เกี่ยวกับการกำจัดการให้สินบนในธุรกิจระหว่างประเทศ ค.ศ.1997 (1997 Revised Recommendation of the Council on Combating Bribery in International Business Transactions) รวมถึงเอกสาร อื่นของโออีซีดีและกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้อง ผู้เขียนได้ทำการศึกษาลักษณะการให้สินบนในธุรกิจระหว่างประเทศจากเอกสารของโออีซีดี ศึกษามาตรการ ปราบปรามการให้สินบนเจ้าหน้าที่รัฐต่างชาติที่กำหนดในอนุสัญญาโออีซีดีเพื่อกำจัดการให้สินบนเจ้าหน้าที่รัฐต่างชาติ ในธุรกิจระหว่างประเทศ ค.ศ.1997 และแนวทางเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาทั้งตามบทบัญญัติในอนุสัญญาและตาม กฎหมายไทย ผู้เขียนยังได้ศึกษาแนวทางการอนุวัตรการอนุสัญญาโดยรัฐภาคีประเทศต่างๆ เพื่อเลือกรูปแบบการอนุ วัตรการที่เหมาะสมกับประเทศไทย นอกจากนี้ ผู้เขียนยังได้พิจารณามาตรการทางภาษีตามคำแนะนำของโออีซีดี(ฉบับ แก้ไข) ซึ่งแม้ว่าจะมิได้ปรากฎในอนุสัญญาฉบับนี้โดยตรง แต่รัฐภาคีทุกรัฐของอนุสัญญาโออีซีดีฉบับนี้ได้ยอมรับที่จะ ปฏิบัติตามเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพในการปราบปรามอีกด้วย | en_US |
dc.description.abstractalternative | Bribery in International Business Transaction occur when an investor of one nation bribe a public official of another nation for benefit relating international business. In this case, damaged country often can not punish the briber because the briber is legal person that register in other countries. Therefore the country of investor have to enact the law that punish it own investor who bribe foreign public official. This Thesis found that Thai investor has must influence on the investment in Myanmar Laos and Cambodia ,according to United Nation report. In addition report of transparency international organization show that public official of Myanmar Laos and Cambodia have top corruption score in Asia-pacific. Therefore Thai investor has much risk relating bribery of foreign public official. Then Thailand should be party of the OECD convention on combating bribery of foreign public official in international business transaction 1997 because the purpose of OECD Convention is to suppress the foreign public official and Most of Developed countries are party. I study OECD convention on combating bribery of foreign public official in international business transaction 1997 for the implementation of OECD convention under Thai legislation. I also study the 1997 Revised recommendation of the Council on combating bribery in international business transaction ,the other OECD documents and related Thai law. For the implementation ,I study bribery in international business Transaction in OECD documents , Measure to combating bribery in international business in OECD convention and process to be party both in OECD convention and Thai law. I also study the implementation of OECD convention by other parties for legislative comparative law. In addition ,thesis include Tax measure in the 1997 Revised recommendation for effectiveness in combating bribery of foreign public official in international business transaction. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.129 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | สินบน -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ | en_US |
dc.subject | สินบน -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย | en_US |
dc.subject | บรรษัทข้ามชาติ -- การทุจริต | en_US |
dc.subject | อาชญากรรมทางเศรษฐกิจ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย | en_US |
dc.subject | อนุสัญญาโออีซีดีเพื่อกำจัดการให้สินบนเจ้าหน้าที่รัฐต่างชาติในธุรกิจระหว่างประเทศ ค.ศ.1997 | en_US |
dc.subject | Bribery -- Law and legislation | en_US |
dc.subject | Bribery -- Law and legislation -- Thailand | en_US |
dc.subject | International business enterprises -- Corrupt practices | en_US |
dc.subject | White collar crimes -- Law and legislation -- Thailand | en_US |
dc.subject | OECD convention on combating bribery of foreign public officials in international business transactions 1997 | en_US |
dc.title | แนวทางในการอนุวัติการอนุสัญญาของประเทศไทยต่ออนุสัญญาโออีซีดีเพื่อกำจัดการให้สินบนเจ้าหน้าที่รัฐต่างชาติในธุรกิจระหว่างประเทศ ค.ศ.1997 | en_US |
dc.title.alternative | The implementation of the OECD convention on combating bribery of foreign public officials in international business transaction 1997 under Thai legislation | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | นิติศาสตร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Chumphorn.P@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2009.129 | - |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
achawin_la_front.pdf | 1.29 MB | Adobe PDF | View/Open | |
achawin_la_ch1.pdf | 626.86 kB | Adobe PDF | View/Open | |
achawin_la_ch2.pdf | 2.49 MB | Adobe PDF | View/Open | |
achawin_la_ch3.pdf | 8.84 MB | Adobe PDF | View/Open | |
achawin_la_ch4.pdf | 949.25 kB | Adobe PDF | View/Open | |
achawin_la_ch5.pdf | 12.97 MB | Adobe PDF | View/Open | |
achawin_la_ch6.pdf | 872.94 kB | Adobe PDF | View/Open | |
achawin_la_back.pdf | 24.89 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.