Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52871
Title: แนวทางการออกแบบปรับปรุงฟื้นฟูพื้นที่พาณิชยกรรมย่านราชประสงค์
Other Titles: Design guidelines for the redevelopment of Rachaprasong commercial district
Authors: นรา พงษ์พานิช
Advisors: อังสนา บุณโยภาส
จิตติศักดิ์ ธรรมาภรณ์พิลาศ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: angsana.b@chula.ac.th
Jittisak.T@Chula.ac.th
Subjects: ราชประสงค์ (กรุงเทพฯ)
ย่านการค้ากลางใจเมือง -- ไทย -- กรุงเทพฯ
การใช้ที่ดิน -- ไทย -- กรุงเทพฯ
การพัฒนาชุมชนเมือง -- ไทย -- กรุงเทพฯ
Rachaprasong (Bangkok)
Central business districts -- Thailand -- Bangkok
Land use -- Thailand -- Bangkok
Community development, Urban -- Thailand -- Bangkok
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการเสนอแนะแนวทางการออกแบบชุมชนเมือง เพื่อพัฒนาพื้นที่บริเวณย่านพาณิชยกรรมราชประสงค์ ซึ่งแต่เดิมจัดว่าเป็นย่านการค้าที่สำคัญย่านหนึ่งของกรุงเทพมหานครฯ ในปัจจุบันย่านราชประสงค์กำลังมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากซึ่งตอบรับกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้นโดยรอบพื้นที่ จะเห็นได้จากการรื้อถอนอาคารพาณิชยกรรมที่มีสภาพเสื่อมโทรมหลายอาคาร อาทิ บริเวณริมซอยราชดำริ 2 และซอยโรงแรมอโนมา ซึ่งจะถูกทดแทนด้วยห้างสรรพสินค้า และโรงแรมขนาดใหญ่ นอกจากนี้ตำแหน่งที่ตั้งและศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางการเปลี่ยนถ่ายการสัญจรระบบขนส่งมวลชนที่สำคัญในระดับเมือง ของรถไฟฟ้า บีทีเอส รถโดยสารประจำทาง และเรือด่วนคลองแสนแสบ ก็มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการทำให้การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในพื้นที่ได้รวดเร็วมากขึ้น หากไม่มีการเสนอแนะแนวทางในการพัฒนา ปล่อยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปตามปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ก็อาจทำให้ย่านพาณิชยกรรมราชประสงค์ถูกพัฒนาไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพได้ ดังนี้จึงต้องมีการศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ซึ่งเป็นผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของระบบขนส่งมวลชนรอบๆพื้นที่ และเสนอแนะแนวทางการพัฒนาที่สอดคล้องกับบริบทของการเป็นพื้นที่พาณิชยกรรมศูนย์กลางเมือง เพื่อให้เข้าใจถึงปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและขั้นตอนต่างๆในการพัฒนาเมืองและหาแนวโน้มในการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ซึ่งการศึกษาจะประกอบด้วยการประเมินการเปลี่ยนแปลงพื้นที่จากการใช้ภาพถ่ายทางอากาศหลายๆปีมาวิเคราะห์ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน การเข้าถึงและระบบการสัญจร และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับพื้นที่ว่างภายในพื้นศึกษา ร่วมกับการสำรวจ การสังเกต การสัมภาษณ์ และการวิเคราะห์พื้นที่ เพื่อกำหนดแนวทางในการออกแบบพื้นที่ดังกล่าวต่อไป ซึ่งพบว่าปัจจัยที่สำคัญคือ การเข้าถึงพื้นที่ไม่ว่าจะด้วยการสัญจรแบบใดก็ตาม การพัฒนาจะขยายตัวไปตามพื้นที่ที่มีการเข้าถึงสะดวก ซึ่งปัจจุบันการพัฒนาเกิดกระจุกตัวอยู่ตามแนวถนนสายหลัก คือ ถนนราชดำริ และถนนเพลินจิต ต่างกับพื้นที่ด้านในและพื้นที่บริเวณริมคลองแสนแสบที่เข้าถึงยาก ทำให้พื้นที่มีการใช้ประโยชน์อย่างไม่เต็มศักยภาพ ด้วยปัญหาข้างต้นทำให้ต้องมีการวางแนวทางการออกแบบให้สามารถใช้ประโยชน์จากระบบขนส่งมวลชนต่างๆของพื้นที่ศึกษา ในการที่จะสนับสนุนให้พื้นที่บริเวณย่านพาณิชยกรรมราชประสงค์เป็นย่านค้าขายที่มีความสำคัญต่อไป ผลการศึกษาได้เสนอแนวทางการพัฒนาพื้นที่บริเวณย่านพาณิชยกรรมราชประสงค์ ให้มีความสอดคล้องกับแนวโน้มการพัฒนาเมืองในอนาคตโดยกำหนดนโยบายการพัฒนาเป็น 3 ส่วน คือ การเพิ่มความหนาแน่นของการพัฒนาบริเวณริมคลองแสนแสบและพื้นที่ด้านใน การเชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชนโดยรอบพื้นที่ด้วยทางเดินเชื่อมต่อกัน การสร้างความต่อเนื่องของกิจกรรมการค้าระหว่างพื้นที่บริเวณย่านพาณิชยกรรมราชประสงค์กับพื้นที่โดยรอบ พร้อมทั้งได้เสนอแนวทางการปฏิบัติที่เป็นลำดับขั้นตอนรวมถึงหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา เพื่อให้สามารถนำไปเป็นแนวทางในการใช้งานต่อไปได้
Other Abstract: The main purpose of this research is to recommend the urban development guidelines for Rachaprasong Commercial District which have been an important shopping area for Bangkok. At present, this area is under rapid changing, driven by the surrounding urban developments, which can be seen from the demolishing of many old buildings such as buildings along Soi Rachadumri 2 and Soi Anoma and replace with shopping centers and large hotels. Moreover, the location and potential of this site as center of the mass transits interchange among BTS, bus and boat in Saensaep canal will stimulate rapid change within this area. An appropriate plan for the whole area is needed to ensure suitable development of this valuable land. The study of changes caused by development of mass transits around Rachaprasong Commercial District is necessary to recommend compatible development for this area. In order to understand all factors affecting changes in urban growth and urban development and to be able to forecast future trend, this study has included site assessment using aerial photographs from different years to compare the changes in land use, circulation pattern, and open spaces. The site survey, observation, and interview with the users were conducted to analyse the existing problems and potential for development. The survey concluded that one of the major factors catalyzing changes for Rajathewi and Pratunam areas is the site accessibility by any mode of transportation. Most of developments have occurred heavily along Rachadumri and Plenchit road, main roads which have easy access, on the contrary, the hinterland along Saensaep Canal have less development due to difficult access. The development gap between these two areas has prohibited the full potential of this commercial area. Therefore, the urban design guidelines for these areas have to utilize these mass transit systems to strengthen the importance of this commercial area. The study has recommended development guidelines for Rachaprasong Commercial District compatible with urban design trend with 3 policies; increase density around BTS Rajathewi Station and along Saensaep canal; create linkage for all mass transit systems with walk ways; link trading activities between Rachaprasong Commercial District and its surrounding. The recommendations have focused on 3 main issues; land use, circulation and open space, including implementation procedures and all concerned stakeholders for the success of the study area’s urban development.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การออกแบบชุมชนเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52871
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.134
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.134
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
nara_po_front.pdf1.77 MBAdobe PDFView/Open
nara_po_ch1.pdf869.13 kBAdobe PDFView/Open
nara_po_ch2.pdf3.49 MBAdobe PDFView/Open
nara_po_ch3.pdf10.44 MBAdobe PDFView/Open
nara_po_ch4.pdf6.66 MBAdobe PDFView/Open
nara_po_ch5.pdf11.09 MBAdobe PDFView/Open
nara_po_ch6.pdf558.84 kBAdobe PDFView/Open
nara_po_back.pdf3.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.