Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52905
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พัชนี เชยจรรยา | - |
dc.contributor.author | วัชรา บุรีศรี | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2017-05-25T10:52:54Z | - |
dc.date.available | 2017-05-25T10:52:54Z | - |
dc.date.issued | 2551 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52905 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการสื่อสารและลักษณะภาคีเครือข่ายการสื่อสารเพื่อการจัดการสู่การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนอุทยานแห่งชาติตะรุเตา และเพื่อศึกษาการรับรู้และพฤติกรรมการท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติตะรุเตาของนักท่องเที่ยว โดยใช้วิธีการแบบสหวิธีการ คือ ทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ โดยวิธีการสัมภาษณ์เจาะลึก จำนวน 17 คน, การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและโดยการสำรวจเอกสาร อีกทั้งใช้แบบวิจัยเชิงสำรวจ ด้วยแบบสอบถาม จำนวน 400 ชุด เพื่อสำรวจพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติตะรุเตา ผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า กระบวนการสื่อสารเพื่อการจัดการสู่การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนอุทยานแห่งชาติตะรุเตา ประกอบด้วย (1) ผู้ส่งสาร ได้แก่ ภาครัฐ คือ อุทยานแห่งชาติตะรุเตา, สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจ.สตูล, การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำนักงานภาคใต้ เขต1 (สงขลา - สตูล), ภาคเอกชน คือ สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจ.สตูลและมัคคุเทศก์, ภาคประชาชน คือ ชาวเลบนเกาะหลีเป๊ะ และพันธมิตร คือ เครือข่ายการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน อันดามันตอนล่าง(สตูล-ตรัง) ,มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, มูลนิธิสืบนาคเสถียรและมูลนิธิชัยพัฒนา เป็นต้น โดยบทบาทของผู้ส่งสารมีดังนี้ 1. ด้านการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติโดยตรง2. ด้านการให้ความรู้และคำแนะนำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องช่วยกันดูแลรักษาธรรมชาติ 3. ด้านการควบคุมมาตรการในการจัดการ 4. ด้านการให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยว 5. ด้านการส่งเสริมกิจกรรมเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว 6. ด้านการให้บริการกับนักท่องเที่ยว 7. ด้านการเป็นช่องทางในการนำเสนอแนวคิดและปัญหาในการจัดการ และ8. ด้านการค้นคว้าวิจัย เพื่อจัดการด้านทรัพยากรและแหล่งท่องเที่ยว (2)สารหรือประเด็น ได้แก่ ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ, ด้านการประชาสัมพันธ์กิจกรรมและแหล่งท่องเที่ยว, ด้านการบริการนักท่องเที่ยวและด้านกฎระเบียบ(3)สื่อหรือช่องทาง ได้แก่ สื่อมวลชน, สื่อบุคคล, สื่ออินเทอร์เนต, สื่อเฉพาะกิจและสื่ออื่นๆ และ(4)ผู้รับสาร ได้แก่ สมาชิกภายในเครือข่าย, นักท่องเที่ยวและบุคคลทั่วไป และพบว่ารูปแบบของการสื่อสารแบ่งเป็น(1) รูปแบบการสื่อสารภายในเครือข่าย ได้แก่ การสื่อสารทางเดียว, การสื่อสารสองทางอย่างเป็นทางการ, การสื่อสารสองทางอย่างไม่เป็นทางการและการสื่อสารแบบมีส่วนร่วม และ (2) รูปแบบการสื่อสารระหว่างเครือข่ายกับนักท่องเที่ยว ได้แก่ การสื่อสารทางเดียว, การสื่อสารสองทางและการสื่อสารแบบมีส่วนร่วม ทั้งนี้ลักษณะการสื่อสารของภาคีเครือข่ายการสื่อสาร แบ่งออกเป็น 5 เครือข่ายย่อยๆ ได้แก่ การสัมมนาเพื่อการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวและบริการ, การสัมมนาแลกเปลี่ยนแนวคิดการจัดการปัญหาทรัพยากรแหล่งท่องเที่ยว, กิจกรรม “ รักษ์เล รักษ์ป่า รักษาสิ่งแวดล้อม ”, กิจกรรมยุวมัคคุเทศก์และการจัดพิธีกรรมลอยเรือของชาวเลเกาะหลีเป๊ะ และปัจจัยที่ส่งผลต่อการขยายและดำรงอยู่ของภาคีเครือข่ายการสื่อสาร ได้แก่ ปัจจัยด้านการสื่อสาร ได้แก่1)ปัจจัยด้านผู้ส่งสาร ผู้นำหรือแกนนำ 2) การบอกปากต่อปากของเครือข่าย 3) ความหลากหลายของสื่อในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร และ4)ความน่าสนใจของกิจกรรม และปัจจัยด้านอื่นๆ ได้แก่1)ปัจจัยด้านการสนับสนุนและบทบาทหน้าที่ของภาครัฐ 2) ผู้ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยวรุ่นใหม่ 3) ความหลากหลายของภาคีเครือข่าย และ4) ความภาคภูมิใจในพิธีกรรม, วัฒนธรรม, ภูมิปัญญาท้องถิ่นและแหล่งท่องเที่ยวของตน ผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่านักท่องเที่ยวมีการรับรู้ข่าวสารด้านการท่องเที่ยวผ่านช่องทาง/สื่อต่างๆ ได้แก่ สื่อมวลชนอยู่ในระดับการรับรู้น้อย, สื่อบุคคลอยู่ในระดับการรับรู้ปานกลาง และสื่อสื่อเฉพาะกิจอยู่ในระดับการรับรู้น้อย อย่างไรก็ตามนักท่องเที่ยวรับรู้ข่าวสารจากสื่อบุคคลมากที่สุดและการรับรู้ข้อมูลข่าวสารระดับปานกลางเช่นเดียวกันทุกประเด็น และมีพฤติกรรมการท่องเที่ยวด้านการเคารพสำรวมและรักษาสภาพเดิมของสถานที่ทางประวิติศาสตร์อุทยานแห่งชาติตะรุเตาอยู่ในระดับมากที่สุด | en_US |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this research for study the communication process and communication network towards Sustainable Tourism Management at Tarutao National Marine Park. And to study about the acknowledge and Tourists's behavior in Tarutao National Marine Park. The research choosed to use multimethodology both a qualitative approach and a qualitative approach that to be used in-depth interview 17 persons, to be observation in participatory, and to examine for document. On the other hand, to be used survey research approach by the questionnaire 400 unit for the purpose survey in Tourists's behavior at Tarutao National Marine Park. The qualitative approach findings were the communication process towards sustainable tourism of Tarutao National Marine Park consist of (1) Sender, devider into 4 parts , Part 1, such as government sector Tarutao National Marine Park, Satun Tourism and Sport Office, Tourism Authority of Thailand, Songkha-Satun. Part 2, Private sector such as Satun Tourism and Tour guide association. Part 3, citizen sector such as fishermen inhabiting the west coast of Thailand that inhabitant on Lipe Island. And part 4, association sector such as South Andaman Coast Sustainable Tourism Network (Satun-Trang), Prince of Songkha University, The Suebnakhasathian Foundation, and The Chaipattana Foundation etc. Which the function of sender consist of 1) To be conservation natural resources. 2) To pass on knowledge and advise with to whom it may concerns attend on conservation natural resources. 3) To measure control towards sustainable tourism management. 4) To present about tourist destination information. 5)To support activities for attract to tourists. 6) Field of service mind with traveler. 7) The channel to present the idea and problem about sustainable tourism management. And 8) To research for development and management in natural resources and tourist place. (2) Message for instance to preserve nature resources, To publicize tourist destination and tourist activities, travel agent with traveler and including the principle. (3) Media or Channel such as mass media, personal media, internet media, specific media and other media. And (4)Receiver such as the member inside network, tourist and other person. That kind of from communication can derided as 1) From of inside communication network for example one-way communication, formal two-way communication, informal two-way communication, and participate and 2)From of outside communication network for example one-way communication, two-way communication, and participate in communication so that types of communication of the associate communication network separated in 5 sub-network such as the seminar for advertise tourist destination and tourism service, the seminar to exchange or brainstorming for manage in the problem of tourism place, “Rak-Lay Rak-Par Pak-SaSing-Waedlorm” activity, youth tour guide activity and the boat float on the water tradition of fisherman inhabiting in the Lipe Island and including the factor have an effect on extend and maintain of the associate communication network consist of follow as communication factor such as 1)factor of a sender , a reader, or a pillar 2)The spread widely of network 3)The variety of media in add information 4)The activity motivation and other factor such as 1) To be support and the government function factor 2)new generation of travel agent 3)vary of the associate communication network finally 4) The pride of ritual, cultural, the folk wisdom and tourist destination's. The quantitative approach findings were tourist's behavior have to acknowledge tourism information via many media or the channel such as a few of to be acknowledge of mass media, personal media that stand in moderately level, and specific media that stand in scanty level, on the other hand, the tourist to the most acknowledge information from personal media, and the medium acknowledge as similarity any point. And to have tourism behavior about respect and the original survive of heritage site of Tarutao National Marine Park in the mostly level. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.44 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | นักท่องเที่ยว | en_US |
dc.subject | พฤติกรรมข่าวสาร | en_US |
dc.subject | การสื่อสารในการจัดการ -- ไทย -- สตูล | en_US |
dc.subject | การสื่อสารในการพัฒนาชุมชน -- ไทย -- สตูล | en_US |
dc.subject | การท่องเที่ยวโดยชุมชน -- ไทย -- สตูล | en_US |
dc.subject | อุตสาหกรรมท่องเที่ยว -- ไทย -- สตูล | en_US |
dc.subject | อุทยานแห่งชาติตะรุเตา | en_US |
dc.subject | Tourists | en_US |
dc.subject | Information behavior | en_US |
dc.subject | Communication in management -- Thailand -- Satun | en_US |
dc.subject | Communication in community development -- Thailand -- Satun | en_US |
dc.subject | Tourism -- Thailand -- Satun | en_US |
dc.subject | Tarutao National Marine Park | en_US |
dc.title | กระบวนการและเครือข่ายการสื่อสารเพื่อการจัดการสู่การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนอุทยานแห่งชาติตะรุเตา และพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว | en_US |
dc.title.alternative | The process and communication network towards sustainable tourism management at Tarutao National Marine Park and the tourists' behaviors | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | นิเทศศาสตรพัฒนาการ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2008.44 | - |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
watchara_bu_front.pdf | 1.49 MB | Adobe PDF | View/Open | |
watchara_bu_ch1.pdf | 1.43 MB | Adobe PDF | View/Open | |
watchara_bu_ch2.pdf | 6.86 MB | Adobe PDF | View/Open | |
watchara_bu_ch3.pdf | 1.59 MB | Adobe PDF | View/Open | |
watchara_bu_ch4.pdf | 12 MB | Adobe PDF | View/Open | |
watchara_bu_ch5.pdf | 8.12 MB | Adobe PDF | View/Open | |
watchara_bu_back.pdf | 2.41 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.