Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53021
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพัชนี เชยจรรยา-
dc.contributor.authorธัญญรัตน์ สาปาน-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-06-20T14:36:30Z-
dc.date.available2017-06-20T14:36:30Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53021-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en_US
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการความสัมพันธ์กับกลุ่มผู้ปฏิบัติงานภายในองค์กรสตรี, ศึกษาแนวทางการจัดการความสัมพันธ์กับกลุ่มสถาบันหรือหน่วยงานผู้สนับสนุนทุนขององค์กรสตรี, ศึกษาถึงปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดการความสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมายภายในที่เกี่ยวข้องขององค์กรสตรีและการแก้ปัญหา, และเพื่อศึกษาบทบาทของการจัดการความสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมายภายในที่เกี่ยวข้องที่มีต่อการดำเนินงานขององค์กรสตรี โดยมีกรณีศึกษาคือ มูลนิธิผู้หญิง มูลนิธิเพื่อนหญิง และสมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรีในพระอุปถัมภ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้บริหาร บุคลากรฝ่ายประชาสัมพันธ์ และผู้ปฏิบัติงานขององค์กรสตรี รวมทั้งผู้ประสานงานจากกลุ่มสถาบันผู้สนับสนุนทุนขององค์กรสตรี จำนวนทั้งสิ้น 16 คน และศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า (1) องค์กรสตรีใช้การสื่อสารสองทางและสื่อแบบผสมผสานในการจัดการความสัมพันธ์กับกลุ่มผู้ปฏิบัติงาน (2) องค์กรสตรีใช้การสื่อสารสองทางและสื่อแบบผสมผสานในการจัดการความสัมพันธ์กับกลุ่มสถาบันผู้สนับสนุนทุน โดยให้ความสำคัญกับผลการดำเนินงานขององค์กรและความซื่อสัตย์ ความเคารพต่อเงื่อนไขต่างๆ ของสถาบันผู้สนับสนุนทุนควบคู่ไปด้วย (3) ปัญหาและอุปสรรคในการจัดการความสัมพันธ์กับกลุ่มผู้ปฏิบัติงาน ได้แก่ ปัญหาด้านงบประมาณ แก้ไขได้ด้วยการหาแหล่งทุนใหม่ๆ มาสนับสนุนเพิ่มเติม รวมทั้งใช้การตลาด การประชาสัมพันธ์ และสื่อมวลชนเป็นเครื่องมือในการระดมทุน, ปัญหาการสื่อสารระหว่างบุคคล แก้ไขได้ด้วยการย้ำเตือนด้วยวาจาและสื่อรูปแบบต่างๆ รวมทั้งการใช้กิจกรรมเชิงอบรมเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารของบุคลากร, ปัญหาการจัดการความสัมพันธ์กับผู้ปฏิบัติงานในสำนักงานย่อยขององค์กร แก้ไขได้ด้วยการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการสื่อสารระหว่างกัน และปัญหาอันเกิดจากหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงานที่มีอยู่มาก ทำให้ไม่สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันได้ แก้ไขได้ด้วยการใช้สื่อประเภทต่างๆ ในการสร้างความสัมพันธ์กับผู้ปฏิบัติงาน (4) ปัญหาและอุปสรรคในการจัดการความสัมพันธ์กับกลุ่มสถาบันผู้สนับสนุนทุน ได้แก่ ปัญหาการจัดการความสัมพันธ์กับกลุ่มสถาบันผู้สนับสนุนทุนที่เป็นองค์กรต่างประเทศ, ปัญหาการวางแผนการจัดการความสัมพันธ์กับกลุ่มสถาบันผู้สนับสนุนทุน โดยทั้งสองปัญหานี้แก้ไขได้ด้วยการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น เว็บไซต์ เป็นช่องทางในการสื่อสารกับกลุ่มสถาบันผู้สนับสนุนทุน และปัญหาความไม่เข้าใจกันระหว่างองค์กรสตรีกับกลุ่มสถาบันผู้สนับสนุนทุน แก้ไขได้โดยเน้นการทำงานร่วมกันและติดต่อสื่อสารกันมากขึ้น รวมทั้งใช้การประชุมเป็นช่องทางในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างกัน (5) บทบาทของการจัดการความสัมพันธ์กับกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่มีต่อการดำเนินงานขององค์กรสตรี ได้แก่ บทบาทในการสร้างและรักษาความสัมพันธ์ที่ดีภายในองค์กร, บทบาทในการสื่อสารและเผยแพร่แนวคิดขององค์กร และบทบาทในการประสานงานภายในองค์กร (6) บทบาทของการจัดการความสัมพันธ์กับกลุ่มสถาบันผู้สนับสนุนทุนที่มีผลต่อการดำเนินงานองค์กรสตรีนั้น ได้แก่ บทบาทในการสร้างความน่าเชื่อถือและความรู้สึกที่ดี ทำให้เกิดการสนับสนุนในระยะยาว และบทบาทในการสร้างความเข้าใจในการทำงานร่วมกันen_US
dc.description.abstractalternativeThis study was a qualitative research. The purposes of this research were to study 1) the internal relationship management of the women organizations with their officers; 2) relationship management of the women organizations with funding organizations; 3) problems on the relations management and with their stakeholders and how to solve them; and 4) the roles of relationship management to the operation of the women organizations. The samples under study were three women organizations : the Friends of Women Foundation, Foundation of Women, and Association for the Promotion of Status of Women. To collect the data, in-depth interviews were made with the organization executives and administrators, public relations officers, officers working in the women organizations and coordinators of funding organizations. A documentary research was also used. The findings were as the followings: 1)two way communication and integrated media were used to manage the relation with officers and their funding organizations with respect to the conditions of the funding organizations; 2)the problems and obstacles on relationship management with officers were : a) budgeting problems, to solve the problems by searching for new funding organizations and using of marketing, public relations, and mass media for fund raising; b) interpersonal communication problems, to solve the problem was by warning orally and by using of other media, and a training to improve of communication skills of the officers; c) the management of front-line staff relations in branch offices, to solve the problem was the use of electronic media and d) the problems due to the too much responsibilities of working resulting in an inability to join the activities together, to solve the problem was by using of various types of media to build the relationship among the officers. 3)The problems and obstacles on relationship management with funding organizations were the problem on relation management with international funding organizations, relations management planning with funding organizations, to solve the problems was through the use of internet, websites, as channels of communication. However, to solve a misunderstanding was by an increasing using often communication as well as a meeting. 4)The roles of the relationship management to the officers were the roles on creating good relation within the organizations, communicating and disseminating of organization information, and coordinating in the organization. 5)The roles of the relationship management to the funding organizations were the roles on building credibility, good attitudes towards organization and good understanding for further cooperation.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.98-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectสตรีen_US
dc.subjectการสื่อสารในการกระทำทางสังคมen_US
dc.subjectความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลen_US
dc.subjectความสัมพันธ์กับลูกค้าen_US
dc.subjectWomenen_US
dc.subjectCommunication in social actionen_US
dc.subjectInterpersonal relationsen_US
dc.subjectCustomer relationsen_US
dc.titleการจัดการความสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมายภายในที่เกี่ยวข้องขององค์กรสตรีen_US
dc.title.alternativeInternal stakeholder relationship management of women's organizationsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการประชาสัมพันธ์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPatchanee.C@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.98-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
thanyarat_sa_front.pdf1.65 MBAdobe PDFView/Open
thanyarat_sa_ch1.pdf1.21 MBAdobe PDFView/Open
thanyarat_sa_ch2.pdf9.27 MBAdobe PDFView/Open
thanyarat_sa_ch3.pdf844.49 kBAdobe PDFView/Open
thanyarat_sa_ch4.pdf10.52 MBAdobe PDFView/Open
thanyarat_sa_ch5.pdf8.57 MBAdobe PDFView/Open
thanyarat_sa_back.pdf1.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.