Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53024
Title: | ปัจจัยที่นำมาสู่การประมวลผลโดยใช้ความคิดเชิงรวบรัดในการตัดสินใจทางการเมือง |
Other Titles: | Factors leading to heuristic processing in political decision making |
Authors: | ดลภพ เหล่าวานิช |
Advisors: | ดวงกมล ชาติประเสริฐ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | duangkamol.c@chula.ac.th |
Subjects: | สื่อมวลชนกับการเมือง การสื่อสารทางการเมือง ความสนใจทางการเมือง การตัดสินใจ Communication in politics Decision making |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาแบบแผนการประมวลผลสารสนเทศอันนำไปสู่การตัดสินใจทางการเมืองของมนุษย์และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจด้วยความคิดเชิงรวบรัด ซึ่งวิธีการเก็บข้อมูลใช้การวิจัยเชิงสำรวจโดยแบบสอบถาม และวิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยพบว่า มนุษย์ใช้การประมวลผลโดยใช้ความคิดเชิงรวบรัดเป็นหลักในการตัดสินใจทางการเมือง ซึ่งเป็นทางลัดในการประมวลผลข้อมูลเพื่อความง่าย รวดเร็ว และหลีกเลี่ยงการใช้ข้อมูลที่ซับซ้อน เนื่องจากความจำกัดด้านศักยภาพในการประมวลผลสารสนเทศของมนุษย์ ความจำกัดของสารสนเทศทางการเมือง ความจำกัดของเวลาและความจำกัดของความสนใจทางการเมือง ความคิดเชิงรวบรัดที่มักใช้ได้แก่ ตัดสินใจโดยจัดประเภทสิ่งเร้าต่างๆตามคุณลักษณะที่ตรงกับต้นแบบโดยไม่คำนึงถึงหลักความน่าจะเป็น การตัดสินใจจากความง่ายในการคาดเดาหรือความคุ้นเคยด้วยความรู้ที่มีอยู่อย่างจำกัดมากกว่าการพิจารณาทางเลือกอื่นๆอย่างรอบคอบ และการตัดสินใจโดยอาศัยการตีความสิ่งเร้าครั้งแรกเป็นจุดอ้างอิง ซึ่งอาจมีการปรับเปลี่ยนภายหลังแต่เป็นไปอย่างมีอคติตามการตีความครั้งแรก ความแตกต่างของการประเมินความสำคัญทางการเมือง ความต้องการในการคิดพิจารณาสาร และความรู้ทางการเมืองเป็นปัจจัยที่นำมาสู่การประมวลผลโดยใช้ความคิดเชิงรวบรัด โดยผู้ที่ประเมินความสำคัญทางการเมืองสูง มีโอกาสใช้ความคิดเชิงรวบรัดน้อยกว่า ผู้ที่ประเมินความสำคัญทางการเมืองต่ำ เนื่องจากเป็นกลุ่มที่สนใจติดตามข่าวสารการเมืองเป็นประจำ และผู้ที่มีความรู้ทางการเมืองสูง มีโอกาสใช้ความคิดเชิงรวบรัดน้อยกว่า ผู้ที่มีความรู้ทางการเมืองต่ำ เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีช่องทางในการแลกเปลี่ยนข่าวสารที่หลากหลาย และเข้าใจรูปแบบการนำเสนอข่าวจากสื่อ หนทางลดการใช้ความคิดเชิงรวบรัด รัฐสามารถรณรงค์ให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการเมืองควบคู่กับการนำเสนอข่าวสารที่มีคุณภาพของสื่อมวลชน เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจทางการเมือง เนื่องจากผู้ที่ตระหนักถึงความสำคัญทางการเมืองและมีความรู้ทางการเมือง สามารถคิดพิจารณาข้อโต้แย้งที่มีอยู่ในสารอย่างมีเหตุผลในการตัดสินใจ |
Other Abstract: | The objective of this research is to study information processing patterns in political decision making and factors leading heuristic processing. The study uses questionnaire-based survey research and in-depth interviews. The research finds that when people make political decision, they tend to rely on heuristic processing or a mental shortcut for a fast and effortless judgment especially under circumstances of limited information processing ability, limited political information, limited time and limited interest to become politically engaged. The heuristic processing strategies normally used by the respondents are representativeness heuristic; judging the probability of an event by comparing a known event and assuming that the probabilities will be similar, availability heuristic; basing a decision on an event spontaneously occurred to mind rather than considering other alternatives and lastly, anchoring and adjustment heuristic; starting with an implicitly suggested reference point as an anchor and making biased adjustment around that anchor. Perceived task importance, need for cognition and political knowledge found to be major factors leading to heuristic processing. People ranked high on perceived task importance tend to use heuristic processing less than those ranked low on perceived task importance because of the difference in political news exposure. People with a high level of political knowledge tend to use heuristic processing less than those with a low level of political knowledge because the first group have more channels for news exchange and have more knowledge about factors affecting news objectivity. To decrease heuristic processing, the government should raise people’s awareness of the importance of politics. Moreover, news reports should be more accurate, concise and balanced in order to provide high quality information because those raked high on perceived task importance and political knowledge will rely more on cognitive rather than heuristic processing |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วารสารสนเทศ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53024 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1178 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2007.1178 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
donlapop_la_front.pdf | 1.19 MB | Adobe PDF | View/Open | |
donlapop_la_ch1.pdf | 643.43 kB | Adobe PDF | View/Open | |
donlapop_la_ch2.pdf | 4.32 MB | Adobe PDF | View/Open | |
donlapop_la_ch3.pdf | 1.92 MB | Adobe PDF | View/Open | |
donlapop_la_ch4.pdf | 3.65 MB | Adobe PDF | View/Open | |
donlapop_la_ch5.pdf | 1.34 MB | Adobe PDF | View/Open | |
donlapop_la_back.pdf | 1.36 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.