Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53094
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์-
dc.contributor.authorกานต์ กาญจนะไพบูลย์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-06-23T00:41:05Z-
dc.date.available2017-06-23T00:41:05Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53094-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการปรับใช้หลักกฎหมายลักษณะนิติกรรม-สัญญา กับสัญญารับตั้งครรภ์แทนและสัญญาที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้แนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมในการปรับใช้กับสัญญารับตั้งครรภ์แทนและสัญญาที่เกี่ยวเนื่อง และแนวทางในการร่างกฎหมายที่เหมาะสมเกี่ยวกับสัญญารับตั้งครรภ์แทนและสัญญาที่เกี่ยวเนื่องในประเทศไทย จากการศึกษาในเบื้องต้นพบว่าหลักกฎหมายลักษณะนิติกรรม-สัญญา อาจนำมาปรับใช้กับสัญญารับตั้งครรภ์แทนและสัญญาที่เกี่ยวเนื่องได้ แต่เนื่องจากสัญญารับตั้งครรภ์แทนนี้เป็นสัญญาที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะแตกต่างจากสัญญาทั่วไปอื่นๆ ทั้งสัญญารับตั้งครรภ์แทนไม่ใช่สัญญาที่มีลักษณะส่งผลในเชิงทรัพย์สินเพราะเด็กที่เกิดจากสัญญาไม่ใช่ทรัพย์สิน ทั้งยังมีระยะเวลาในการปฏิบัติสัญญาที่ยาวนาน ทั้งนี้แม้ในเบื้องต้นหลักกฎหมายลักษณะนิติกรรม-สัญญานั้น อาจนำมาปรับใช้กับสัญญารับตั้งครรภ์แทนได้ แต่ก็เป็นการปรับใช้ที่ไม่มีประสิทธิภาพเพราะคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไม่สามารถบังคับคู่สัญญาอีกฝ่ายให้ปฏิบัติตามสัญญาได้สมดังวัตถุประสงค์แห่งสัญญา และไม่อาจป้องกัน หรือให้ความคุ้มครองและแก้ไขปัญหาที่จะเกิดกับเด็กที่จะเกิดจากสัญญาดังกล่าวได้ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับสัญญารับตั้งครรภ์แทนขึ้นโดยเฉพาะเพื่อทำให้เกิดความชัดเจน และเป็นกฎหมายที่ให้ความคุ้มครองทั้งหลักเสรีภาพในการทำสัญญาและเด็กผู้บริสุทธิ์ที่เกิดจากสัญญาที่ควรได้รับการอบรมเลี้ยงดูด้วยความรักและได้มีโอกาสเจริญเติบโตมีชีวิตที่สมบูรณ์ เช่นเดียวกับเด็กที่เกิดจากครอบครัวปกติควบคู่กันไป โดยผู้ร่างกฎหมายจะต้องคำนึงถึงบุคคลที่เกี่ยวข้องด้วยกันทุกฝ่ายโดยเฉพาะเด็กที่จะเกิดขึ้นในอนาคตen_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this thesis is to study the application of the principles of laws of juristic act and contract pertaining to surrogacy contracts and related contracts in order to obtain the proper practical solution for surrogacy as well as to provide guidelines for drafting laws in relation to surrogacy contracts in Thailand. The study initially discovers that the principles of laws of juristic act and contract may be somewhat applied to surrogacy contracts and related contracts although they do not totally fit. This is because the surrogacy contracts are being regarded as a special contract which is different from other contracts. It is not a contract for any consideration in term of property because the baby born under the contract is not deemed a property. Additionally, the performance period of the contract is quite long. Consequently, the party is not able to enforce the other party to comply with the objects of the contract and may not be able to protect, defend, and resolve the surrongated child problems. Therefore, the principles of laws of juristic act and contract currently used in Thailand should not be applied to the contract. In conclusion, it is essential to enact particular laws in relation to the surrogacy contracts. In order to have a proper solution, and to protect not only the freedom of contract but also the innocent baby who will be born under the contract, all parties should be taken into consideration, especially the surrogated child who should be raised with love and care and with full opportunity in the same manner as ordinary child.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.380-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectครรภ์ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับen_US
dc.subjectกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- สัญญาen_US
dc.subjectPregnancy -- Civil and commercial lawen_US
dc.subjectCivil and commercial law -- Contractsen_US
dc.titleปัญหาทางกฎหมายของสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการรับตั้งครรภ์แทนen_US
dc.title.alternativeLegal issues on contracts concerning surrogacyen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSanunkorn.S@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.380-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
karn_ka_front.pdf1.63 MBAdobe PDFView/Open
karn_ka_ch1.pdf699.63 kBAdobe PDFView/Open
karn_ka_ch2.pdf2.21 MBAdobe PDFView/Open
karn_ka_ch3.pdf5.91 MBAdobe PDFView/Open
karn_ka_ch4.pdf3.41 MBAdobe PDFView/Open
karn_ka_ch5.pdf1.52 MBAdobe PDFView/Open
karn_ka_ch6.pdf821.94 kBAdobe PDFView/Open
karn_ka_back.pdf3.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.