Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53158
Title: การใช้ไคโตซานเพื่อชะลอภาวะเสื่อมถอยและยืดอายุการเก็บรักษาหลังการเก็บเกี่ยวของหน่อไม้ฝรั่ง Asparagus Officinalis.
Other Titles: Chitosan usage to delay senescence and extend postharvest storage of asparagus Asparagus Officinalis.
Authors: เพทาย จรูญนารถ
Advisors: กนกวรรณ เสรีภาพ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: kanogwan.k@chula.ac.th
Subjects: หน่อไม้ฝรั่ง -- การเก็บและรักษา
หน่อไม้ฝรั่ง -- เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
ไคโตแซน
Asparagus -- Preservation
Asparagus -- Postharvest technology
Postharvest technology
Chitosan
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิธีการใช้และความเข้มข้นที่เหมาะสมของไคโตซานต่อการรักษาคุณภาพ หน่อไม้ฝรั่งเขียวหลังการเก็บเกี่ยวโดยการจุ่มหรือแช่หน่อไม้ฝรั่งในสารละลายไคโตซานที่มีความ เข้มข้น 0, 5, 10, 25, 50 และ 100 ppm เป็นเวลา 5 นาทีเปรียบเทียบกับชุดการทดลองควบคุมที่ไม่จุ่ม หรือแช่หน่อไม้ฝรั่งในน้ำ ก่อนการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 15 วัน พบว่าชุดการ ทดลองที่จุ่มน้ำและสารละลายไคโตซาน 5 ppm มีคะแนนลักษณะที่ปรากฏภายนอกสูงที่สุดตลอด ระยะเวลาการเก็บรักษา ส่วนชุดการทดลองที่จุ่มในไคโตซาน 5 ppm และชุดการทดลองที่แช่ในไคโตซาน 100 ppm มีการสูญเสียน้ำหนักสดน้อยที่สุดโดยมีการสูญเสียน้ำหนักสดในวันที่ 15 เพียง 5.17% และ 3.93% เมื่อเปรียบเทียบกับชุดการทดลองควบคุมที่มีการสูญเสียน้ำหนักสด 10.39% นอกจากนี้ การจุ่มหน่อไม้ฝรั่งในไคโตซานสามารถช่วยยับยั้งการยืดยาวของปลายยอดได้ ในขณะที่การแช่ หน่อไม้ฝรั่งในไคโตซานนั้นกระตุ้นให้มีการเจริญของปลายยอดมากขึ้น ส่วนการหายใจของ หน่อไม้ฝรั่งมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในวันที่ 3 หลังจากนั้นลดลงยกเว้นชุดการทดลองที่จุ่ม และแช่ในไคโตซานความเข้มข้น 5 ppm และชุดการทดลองที่แช่ในไคโตซานความเข้มข้น 100 ppm นอกจากนี้ชุดการทดลองที่จุ่มและแช่ในไคโตซานความเข้มข้น 5 ppm รวมถึงชุดการทดลองที่แช่ในไค โตซาน 10 ppm ไม่มีแนวโน้มของการเพิ่มขึ้นของเส้นใย ชุดการทดลองที่จุ่มและแช่ในไคโตซานความ เข้มข้น 5 และ 100 ppm ถูกเลือกเพื่อนำมาศึกษากลไกของการยืดอายุหน่อไม้ฝรั่ง พบว่าชุดการทดลอง ที่จุ่มไคโตซานยังคงมีแนวโน้มที่สามารถรักษาน้ำหนักสดของหน่อไม้ฝรั่งได้ดีที่สุด และในการศึกษา การเปลี่ยนแปลงปริมาณเส้นใยก็สามารถยืนยันได้ว่าชุดการทดลองที่แช่ในไคโตซานความเข้มข้น 100 ppm นั้นมีการเพิ่มปริมาณเส้นใยน้อยที่สุด นอกจากนี้ชุดการทดลองที่จุ่มในไคโตซาน 5 ppm มีปริมาณ คลอโรฟิลล์ a, b และแคโรทีนอยด์สูงที่สุดตลอดระยะเวลาการเก็บรักษาแต่ไม่พบความแตกต่างใน กลุ่มการทดลองที่แช่ในไคโตซาน และชุดการทดลองที่จุ่มในไคโตซานความเข้มข้น 5 ppm มีแนวโน้ม ที่จะสามารถลดปริมาณการทำงานของเอนไซม์โพลีฟีนอลออกซิเดสนี้ได้ดีที่สุด อย่างไรก็ตามการ ตรวจสอบการสลายของ DNA จากยอดหน่อไม้ฝรั่งด้วยวิธี gel elctrophoresis ไม่พบการสลายของ DNA ของยอดหน่อไม้ฝรั่งที่ปรากฏชัดเจนตลอดการเก็บรักษา
Other Abstract: The study to find the appropriate condition and concentration of chitosan for prolonging green asparagus after harvest was done by either dipped or submerged asparagus spears in 0, 5, 10, 25, 50 and 100 ppm chitosan for 5 minutes to compare with untreated asparagus before storing at 4OC for 15 days. Spears dipped in 0 and 5 ppm chitosan showed the highest overall appearance score. Spears dipped in 5 ppm and submerged in 100 ppm chitosan could maintain the lowest fresh weight loss 5.17% and 3.93%, respectively on day 15 compared to the controlled condition that showed 10.39% fresh weight loss on the same day. Moreover, the result of increased length indicated that chitosan dipping could inhibit tip elongation while chitosan submerging showed enhanced tip elongation. Respiration rate of all treatments tended to rapidly increase on day 3 and decrease thereafter, except 5 ppm dipping and submerging in chitosan and 100 ppm chitosan submerging. Also, spears dipped and submerged in 5 ppm chitosan and submerged in 10 ppm chitosan could maintain the low fiber content level. Chitosan dipped and submerged in 5 and 100 ppm were selected for studying the mechanism in prolonging asparagus. Chitosan treatment could maintain fresh weight and submerging in 100 ppm chitosan showed the lowest increase in fiber content. Moreover, chlorophyll a, b and carotenoid of spears dipped in 5 ppm chitosan showed the highest in chlorophyll content but all chitosan submerging treatments did not show any differences from the untreated spear. In addition, 5 ppm chitosan dipping treatment tended to decrease activity of polyphenoloxidase enzyme. However, DNA degradation of all treatments observed by gel electrophoresis had shown no evidence of DNA degradation through out the storage time.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีชีวภาพ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53158
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.21
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.21
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
patai_ch_front.pdf1.33 MBAdobe PDFView/Open
patai_ch_ch1.pdf496.8 kBAdobe PDFView/Open
patai_ch_ch2.pdf2.6 MBAdobe PDFView/Open
patai_ch_ch3.pdf855.16 kBAdobe PDFView/Open
patai_ch_ch4.pdf9.63 MBAdobe PDFView/Open
patai_ch_ch5.pdf891.94 kBAdobe PDFView/Open
patai_ch_ch6.pdf306.89 kBAdobe PDFView/Open
patai_ch_back.pdf2.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.