Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/532
Title: ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัยของนิสิตปริญญามหาบัณฑิตทางการศึกษา : การวิเคราะห์จำแนกกลุ่มพหุ
Other Titles: Factors affecting decision making on university choice of graduate students in education : a multiple discriminant analysis
Authors: สิทธิพันธ์ ยศยอดยิ่ง, 2524-
Advisors: อวยพร เรืองตระกูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Auyporn.R@Chula.ac.th
Subjects: การตัดสินใจแบบพหุเกณฑ์
สถาบันอุดมศึกษา--การสอบคัดเลือก
บัณฑิตศึกษา
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภูมิหลังของนิสิตปริญญามหาบัณฑิตทางการศึกษากับการตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัย 2) เพื่อศึกษาความสามารถในการทำนายของปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัยของนิสิตปริญญามหาบัณฑิตทางการศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่สามารถจำแนกกลุ่มนิสิตปริญญามหาบัณฑิตทางการศึกษาที่ตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัยต่างกัน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นิสิตปริญญามหาบัณฑิตทางการศึกษา จำนวน 423 คน ที่ศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับการตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัยข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ทำการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน ค่าความสัมพันธ์และการวิเคราะห์จำแนกกลุ่มพหุ ด้วยโปรแกรม SPSS for Window version 11 และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ด้วยโปรแกรมลิสเรล 8.54 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ตัวบ่งชี้ภูมิหลังของนิสิตปริญญามหาบัณฑิตทางการศึกษาทุกตัวมีความสัมพันธ์ในทางบวกกับการตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยอายุมีค่าความสัมพันธ์ค่อนข้างสูงกับการตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัย โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.609 สำหรับประสบการณ์ในการทำงาน สถานภาพสมรสของนิสิต ระยะทางจากบ้านถึงมหาวิทยาลัย สถานภาพสมรสของผู้ปกครองจำนวนบุตรของผู้ปกครอง และเพศ มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัยในระดับค่อนข้างต่ำ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.394 0.371 0.357 0.353 0.331 และ 0.218 ตามลำดับ 2) ปัจจัยที่สามารถทำนายการตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัยของนิสิตปริญญามหาบัณฑิตทางการศึกษา เมื่อพิจารณาตามฟังก์ชั่นการจำแนกกลุ่มพหุ 3 ฟังก์ชั่น พบว่า ฟังก์ชั่น 1 ซึ่งจำแนกนิสิตเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ 1) กลุ่มนิสิตที่ตัดสินใจเลือกจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ 1) กลุ่มนิสิตที่ตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัยราชภัฏ ปัจจัยที่สามารถทำนายการตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัยได้ดีที่สุด 3 อันดับแรก คือ ปัจจัยด้านคุณภาพของมหาวิทยาลัย ด้านอิทธิพลภายนอกที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัย และด้านหลักสูตรมหาวิทยาลัย โดยปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัย สามารถทำนายการตัดสินใจได้น้อยที่สุด สำหรับฟังก์ชั่นที่ 2 ซึ่งจำแนกนิสิตเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ 1) กลุ่มนิสิตที่ตัดสินใจเลือกเรียนที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ 2) กลุ่มนิสิตที่ตัดสินใจเลือกจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร และมหาวิทยาลัยราชภัฎ ปัจจัยที่สามารถทำนายการตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัยได้ดีที่สุด 3 อันดับแรก คือ ปัจจัยด้านอิทธิพลภายนอกที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัย ด้านสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัย และด้านหลักสูตรของมหาวิทยาลัย โดยปัจจัยด้านค่าธรรมเนียมและแหล่งเงินทุนของมหาวิทยาลัย สามารถทำนายการตัดสินใจได้น้อยที่สุด และฟังก์ชั่นที่ 3 ซึ่งจำแนกนิสิตเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ 1) กลุ่มนิสิตที่ตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ 2) กลุ่มนิสิตที่ตัดสินใจเลือกจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยราชภัฎ ปัจจัยที่สามารถทำนายการตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัยได้ดีที่สุด 3 อันดับแรก คือ ปัจจัยด้านความสามารถส่วนบุคคล ด้านหลักสูตรของมหาวิทยาลัย และด้านค่าธรรมเนียมและแหล่งเงินทุนของมหาวิทยาลัย โดยปัจจัยด้านความคาดหวังของนิสิตและผู้ปกครองที่มีต่อมหาวิทยาลัย สามารถทำนายการตัดสินใจได้น้อยที่สุด 3) ปัจจัยที่สามารถจำแนกกลุ่มของนิสิตปริญญามหาบัณฑิตทางการศึกษาที่ตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัยต่างกัน เมื่อพิจารณาจาก 3 ฟังก์ชั้น (รายละเอียดข้อที่ 2) พบว่า ฟังก์ชั่นที่ 1 ปัจจัยที่สามารถจำแนกกลุ่มได้ คือ ปัจจัยด้านคุณภาพของมหาวิทยาลัยและด้านระบบการคัดเลือกนิสิต ฟังก์ชั่นที่ 2 ปัจจัยที่สามารถจำแนกกลุ่มได้ คือ ปัจจัยด้านอิทธิพลภายนอกที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัย ด้านสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคม ด้านสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัย ด้านความคาดหวังของนิสิตและผู้ปกครองที่มีต่อมหาวิทยาลัยและด้านภูมิหลังของนิสิต สำหรับฟังก์ชั่นที่ 3 ปัจจัยที่สามารถจำแนกกลุ่มได้ คือ ปัจจัยด้านค่าธรรมเนียมและแหล่งเงินทุนของมหาวิทยาลัย ด้านหลักสูตรของมหาวิทยาลัย และด้านความสามารถส่วนบุคคล โดยสามารถจำแนกกลุ่มของนิสิตปริญญามหาบัณฑิตทางการศึกษาได้ถูกต้องร้อยละ 45.20
Other Abstract: The purposes of this research were 1) to study the relationship between the background of graduate students in education and decision making on university choice 2) to study the predictabilities of factors affecting decision making on university choice of graduate students and 3) to study factors discriminating decision making on university choice of graduate students in education. The participants of this research were 423 graduate students in education from 9 universities under the jurisdiction of the Office of Commission on Higher Education in Bangkok Metropolitan area consisting of Chulalongkorn University, Srinakharinwirot University Prasanmit, Kasetsart University, Chandrakasem Rajabhat University, Dhonburi Rajabhat University, Ban Somdejchaopraya Rajabhat University, Phanakhon Rajabhat University, Suan Dusit Rajabhat University and Suan Sunandha Rajabhat University. The research instruments were questionnaires. The research data were analyzed by employing SPSS for Window version 11 for descriptive statistics, correlation and Multiple Discriminant Analysis (MDA) and LISREL version 8.54 for Confirmatory Factor Analysis (CFA). The research finding were as follows: 1) All background indicators of graduate students in education had positive relationship related with decision making on university choice at .01 level of statistical significance. Age had quite strong relationship between decision making on university choice, correlation coefficient was 0.609. Work experiences, graduate students’ marital status, distance from residence to university, guardians’ marital status, number of guardians’ children and sex had quite poor relationship between decision making on university choice, correlation coefficient were 0.394 0.371 0.357 0.353 0.331 and 0.218 respectively. 2) By considering 3 multiple Discriminant functions for studying the predictabilities of factors affecting decision making on university choice of graduate students in education, were found that, Function I discriminated graduate students into 2 big groups consisting of group 1) graduate students of Chulalongkorn University, Srinakharinwirot University Prasanmit and Kasetsart University and group 2) graduate students of Rajabhat Universities, the best three predictors of this function were university quality, external influences involving decision making on university choice, university curriculum and the poorest predictor of this function was university environment. Function II discriminated graduate students into 2 big groups consisting of group 1) graduate students of Kasetsart University and group 2) graduate students of Chulalongkorn University, Srinakharinwirot University Prasanmit and Rajabhat Universities, the best three predictors of this function were external influences involving decision making on university choice, university environment, university curriculum respectively and the poorest predictor of this function was university tuition fee and grants. Function II discriminated graduate students into 2 big groups consisting of group 1) graduate students of Srinakharinwirot University Prasanmit and Kasetsart University and group 2) graduate students of Chulalongkorn University and Rajabhat Universities, the best three predictors of this function were individual abilities, university curriculum, university tuition free and grants and the poorest predictor of this function was expectation of graduate students and guardians on university. 3) Factors discriminating decision making on university choice of graduate students into 3 functions (details were in item 2) were found that Function I, the multiple discriminators were university quality and graduate students selection. Function II, the multiple discriminators were external influences involving decision making on university choice, socio-economic status, university environment, expectation of graduate students and guardians on university and graduate students’ background. Function III, the multiple discriminators were university tuition fee and grants, university curriculum and individual abilities. The multiple discriminant functions were 45.20 percent of original grouped cases correctly classified.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/532
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.1495
ISBN: 9745313939
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2004.1495
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sittipan.pdf2.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.