Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53200
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศรีเลิศ โชติพันธรัตน์-
dc.contributor.authorธวัชชัย แสงดี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-06-29T03:11:51Z-
dc.date.available2017-06-29T03:11:51Z-
dc.date.issued2558-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53200-
dc.descriptionโครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2558en_US
dc.description.abstractการทำเหมืองมักจะส่งผลกระทบในระยะยาวต่อลักษณะการไหลของน้าใต้ดิน เนื่องจากการเจาะบ่อ สูบน้ำออกจากบริเวณเหมือง (dewatering) เพื่อป้องกันการถล่มลงมาของผนังเหมือง ดังนั้นการศึกษาเพื่อจะ อธิบายลักษณะการไหลของน้ำใต้ดินบริเวณรอบๆ เหมืองจึงเป็นวัตถุประสงค์หลักของการศึกษาในครั้งนี้ โดย พื้นที่ศึกษาคือ พื้นที่รอบเหมืองทอง บริเวณอำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร และอำเภอวังโป่ง จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งข้อมูลที่นำมาใช้จะประกอบไปด้วย ข้อมูลหลุมเจาะในบริเวณพื้นที่ศึกษา และข้อมูลระดับน้ำในบ่อบาดาล จากการสำรวจ เพื่อนำมาสร้างแบบจำลองเชิงมโนทัศน์ และเส้นชั้นน้ำแสดงทิศทางการไหลในบริเวณพื้นที่ ศึกษา ผลการศึกษาพบว่า พื้นที่ศึกษามีหน่วยหินทางอุทกธรณีวิทยาทั้งสิ้น 5 หน่วย ได้แก่ 1. ตะกอนที่ราบน้ำ ท่วมถึง ยุคควอเทอร์นารี (Qfd) 2. ตะกอนตะพักยุคควอเทอร์นารี (Qt) 3. หินอัคนีพุที่ผุพัง (Vw) 4. หินอัคนีพุ ที่มีรอยแตก (Vf) และ 5. หินอัคนีพุเนื้อแน่น (Vm) จากข้อมูลการสำรวจทางด้านธรณีวิทยาทั้งผิวดิน และใต้ ดิน รวมถึงผลการสำรวจการสูบทดสอบจากบ่อสูบทดสอบในพื้นที่ศึกษา ได้สรุปข้อมูลออกมาเป็นแผนที่อุทก ธรณีวิทยา และภาคตัดขวาง จากนั้นนำมาสร้างเป็นแบบจำลองเชิงมโนทัศน์ (Conceptual model) ทางอุทก ธรณีวิทยา ซึ่งเป็นการจำลองสภาพอุทกธรณีวิทยาเชิงแนวคิดของลักษณะรูปร่างและการกระจายตัวของชั้นหิน และชั้นดิน และทิศทางการไหลของน้ำใต้ดิน และเป็นขั้นตอนที่สำคัญสำหรับการจัดทำแบบจำลองทาง คณิตศาสตร์ที่จะทำให้การจำลองการไหลของน้ำใต้ดินมีความน่าเชื่อถือ ส่วนคุณสมบัติทางชลศาสตร์นั้น ได้มี การกำหนดค่าสัมประสิทธิ์การซึมผ่าน (Hydraulic conductivity) ในเบื้องต้น โดยพิจารณาจากข้อมูลแผนที่ น้ำบาดาลและภาพตัดขวางทางอุทกธรณีวิทยาของกองน้ำบาดาล กรมทรัพยากรธรณี ผลของการดำเนินงาน ได้แก่แผนที่ระดับน้ำใต้ดินและทิศทางการไหลของน้ำใต้ดิน และภาพตัดขวางแสดงระดับน้ำและทิศทางการ ไหลของน้ำใต้ดิน (เป็นแนวที่มีทิศทางขนานกับทิศทางของการไหล) จากนั้นจึงจัดทำแบบจำลองทาง คณิตศาสตร์ของการไหลของน้ำใต้ดิน เพื่อสร้างแบบจำลองในระดับภูมิภาคซึ่งครอบคลุมพื้นที่ศึกษาทั้งหมด 928 ตารางกิโลเมตร มีความกว้าง 29 กิโลเมตร และยาว 32 กิโลเมตร ที่สามารถแสดงการไหลของน้าใต้ดินใน พื้นที่ศึกษาได้อย่างถูกต้อง พบว่าผลการคำนวณของแบบจำลองมีความน่าพอใจในระดับปานกลาง โดยมีระดับ น้ำที่คำนวณได้ส่วนใหญ่อยู่ในความเชื่อมั่น 95% และมี Normalized Root Mean Square (RMS) ที่ 8.51% ซึ่งแสดงถึงความผิดพลาดที่พอยอมรับได้en_US
dc.description.abstractalternativeMining affects the long-term nature of groundwater flow due to pumping out dewatering) of groundwater to prevent mine’s wall from collapsing. Therefore, characterization groundwater flow around the mine area is the primary objective of this study. The study area is located around the gold mine, Thap Khlo district, Changwat Phichit and Wang Pong district, Changwat Phetchabun. The data used include borehole data and groundwater level data to create a hydrogeological conceptual model and groundwater contour map that shows the direction of groundwater flow in the study area. The result found that the study area contains five hydrogeological rock units: 1) Quaternary Floodplain Deposits (Qfd), 2) Quaternary Terrace Deposits (Qt), 3). Volcanic Weathered Rocks (Vw), 4) Volcanic Fractured Rocks (Vf) and 5) Volcanic Massive Rocks (Vm). From the survey data on both surface and subsurface geology and the results of pumping test in the study area, the data was integrated as the hydrogeological map and cross sections, explaining hydrogeological formation, distribution of aquifer types and groundwater flow direction. A hydrogeological conceptual model is an important step in the further preparation of the numerical model, which makes it more reliable. The numerical model of groundwater flow covering area of 928 km2 with 29 km wide and 32 km long shows that the groundwater flow in the study area agrees with the hydrogeological conceptual model with a satisfactory level. The groundwater level was calculated mainly in the confidence interval of 95% with normalized root mean square (RMS) at 8.51%, representing an acceptable error.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectอุทกธรณีวิทยา -- ไทย -- พิจิตรen_US
dc.subjectอุทกธรณีวิทยา -- ไทย -- พิจิตรen_US
dc.titleลักษณะทางอุทกธรณีวิทยาบริเวณรอบเหมืองทอง จังหวัดพิจิตรen_US
dc.title.alternativeHydrogeological characteristics around gold mine, Changwat Phichiten_US
dc.typeSenior Projecten_US
dc.email.advisorlertc77@yahoo.com-
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5532721023.pdf11.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.