Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53249
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุคนธ์เมธ จิตรมหันตกุล-
dc.contributor.authorชนะกานต์ คุ้มฉาย-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.coverage.spatialอยุธยา-
dc.date.accessioned2017-09-06T10:13:38Z-
dc.date.available2017-09-06T10:13:38Z-
dc.date.issued2558-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53249-
dc.descriptionโครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2558en_US
dc.description.abstractแอ่งอยุธยาเป็นแอ่งตะกอนแบบกึ่งกราเบนที่เกิดในช่วงมหายุคซีโนโซอิก ตั้งอยู่ในบริเวณตอนใต้ของพื้นที่ ราบลุ่มภาคกลาง ครอบคลุมพื้นที่ 2,790 ตารางกิโลเมตรและลึกมากถึง 3 กิโลเมตร ธรณีวิทยาโครงสร้างภายใน แอ่งอยุธยามีความซับซ้อนเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางธรณีแปรสัณฐานหลายรูปแบบ การศึกษานี้ใช้ประโยชน์ จากข้อมูลคลื่นไหวสะเทือนชนิดสองมิติและข้อมูลหลุมเจาะ เพื่อสร้างแบบจำลองวิวัฒนาการการเกิดแอ่งอยุธยา และอธิบายเหตุการณ์ทางธรณีแปรสัณฐานในช่วงมหายุคซีโนโซอิก การศึกษานี้ได้แบ่งวิวัฒนาการของแอ่งอยุธยาออกเป็น 4 เหตุการณ์อายุ คือช่วง (1) เหตุการณ์แอ่งขยาย ช่วงต้น (early extensional phase) (2) เหตุการณ์แอ่งขยายช่วงปลาย (late extensional phase) (3) เหตุการณ์โครงสร้างผกผัน (Inversion phase) และ (4) เหตุการณ์แอ่งทรุด (subsidence phase) โดยช่วง เหตุการณ์แอ่งขยายช่วงต้น เกิดขึ้นในสมัยโอลิโกซีนตอนปลายมีการแตกแยกของเปลือกโลกเนื่องจากแรงยืดใน ทิศทางตะวันออกตะวันตกโดยประมาณพร้อมกับการเกิดรอยเลื่อนปกติ ซึ่งได้มีชุดหินทรายแป้งสลับกับหินทราย และหินโคลนที่เกิดในช่วงเวลานี้แสดงความหนาที่มากขึ้นเมื่ออยู่ใกล้ระนาบรอยเลื่อน โดยมีรอยเลื่อนปกติมุมเอียง เทไปทางทิศตะวันตกขนาดใหญ่เป็นตัวควบคุมโครงสร้างและรูปร่างของแอ่งอยุธยา ต่อมาในช่วง เหตุการณ์แอ่งขยายช่วงปลาย พบว่าเปลือกโลกมีการแยกตัวอีกครั้งเกิดการสะสมตัวของชุดหินแบบไม่ต่อเนื่องกับ ชุดหินตะกอนที่เกิดก่อน โดยได้เกิดการสะสมตัวของชุดหินทรายและหินโคลนสลับกับหินทรายแป้งที่มีการตก สะสมตัวในสภาพแวดล้อมการตกสะสมตัวแบบตะกอนน้าพารูปพัด (alluvial fan) ในช่วงเวลาดังกล่าว หลังจาก นั้นในช่วงอายุไมโอซีนตอนกลาง แอ่งอยุธยาได้รับอิทธิพลจากแรงอัดที่มากระทาในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ- ตะวันออกเฉียงใต้เกิดเป็นเหตุการณ์โครงสร้างผกผัน มีการยกตัวของชุดหินเดิมเป็นโครงสร้างรูปประทุนที่มีความ สูงประมาณ 130-150 เมตร ซึ่งจะพบได้บริเวณชุดหินเป็นหินประเภทหินทรายแป้งสลับกับหินทรายและหินโคลน ชั้นบาง โดยบริเวณที่พบการเกิดโครงสร้างรูปประทุนจะอยู่บริเวณชุดตะกอนที่สะสมตัวใกล้ระนาบรอยเลื่อนปกติ ทาให้เกิดการยกตัวของชุดหินเดิมซึ่งเกิดขึ้นในสมัยไมโอซีนตอนกลาง หลังจากนั้นแอ่งอยุธยาเข้าสู่ช่วงการเกิด เหตุการณ์แอ่งทรุด ซึ่งได้มีการสะสมตัวของชุดหินโคลนและหินทรายแป้งจากช่วงอายุไพโอซีนตอนกลางมาจนถึง ปัจจุบันen_US
dc.description.abstractalternativeThe Ayutthaya Basin is a Cenozoic rift basin located in the southern area of Thailand. The basin area covers 2,790 square kilometers with maximum depth of 3 km. The basin has undergone multiple phases of deformation associated with rifting and inversion. This study used two-dimensional seismic data to investigate the structural evolution of the Ayutthaya Basin and constructed conceptual evolutionary model of the Ayutthaya Basin. There are 4 phase of deformation: (1) Early extensional phase, (2) Late extensional phase, (3) Inversion phase and (4) Subsidence phase. During early extensional phase (Late Oligocene), the basin was dominated by siltstone interbeded with sandstone and mudstone. Major west-dipping normal faults controlled the geometry of the basin. During late extensional phase (Early Miocene), extension continued along the major normal fault with deposition of sandstone mudstone interbeded with siltstone in alluvial fan system. In middle Miocene, the basin has a short-period of compression in NW-SE direction and inversion occurred along the major normal fault. About 130-150 m uplift calculated from inversion anticline. The Ayutthaya basin became Regional subsidence phase with deposition of mudstone and siltstone. These sediments thicken towards the west has been developed from Pliocene to Recent.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectแอ่งอยุธยาen_US
dc.subjectแอ่ง (ธรณีวิทยา) -- ไทย -- อยุธยาen_US
dc.subjectAyutthaya basinen_US
dc.subjectBasins (Geology) -- Thailand -- Ayutthayaen_US
dc.titleวิวัฒนาการโครงสร้างของแอ่งอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยาen_US
dc.title.alternativeStructural evolution of Ayutthaya basin, Changwat Phra Nakhon Si Ayutthayaen_US
dc.typeSenior Projecten_US
dc.email.advisorsukonmeth.j@chula.ac.th-
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5532709523.pdf12.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.