Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53252
Title: พฤติกรรมและพิบัติภัยแผ่นดินไหวของเขื่อนในประเทศไทย
Other Titles: Earthquake activities and hazard of dams in Thailand
Authors: ชุติมณฑน์ พร้อมสุข
Advisors: สันติ ภัยหลบลี้
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Pailoplee.S@hotmail.com
Subjects: เขื่อนดิน -- ผลกระทบจากแผ่นดินไหว
ความปลอดภัยของเขื่อน
Earth dams -- Earthquake effects
Dam safety
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัจจุบันประเทศไทยเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวเพิ่มมากขึ้น ทำให้ประชาชนตื่นตระหนกถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่สาคัญ เช่น เขื่อน ดังนั้นงานวิจัยในครั้งนี้จึงมุ่งเน้นที่จะประเมินพฤติกรรมและกำหนดพิบัติภัยแผ่นดินไหวของเขื่อนขนาดใหญ่ 39 เขื่อนทั่วประเทศไทย ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยประเมินพิบัติภัยที่จะเกิดขึ้นกับเขื่อนต่างๆ ในประเทศไทยได้ ในการประเมินจะใช้ฐานข้อมูลแผ่นดินไหวจากฐานข้อมูล Incorporated Research Institutions for Seismology (IRIS) ซึ่งหลังจากการปรับปรุงคุณภาพข้อมูลแล้วพบว่ามีข้อมูลแผ่นดินไหวทั้งสิ้น 2,923 เหตุการณ์ การประเมินพฤติกรรมแผ่นดินไหวทำได้โดยการหาขนาดแผ่นดินไหวสูงสุด มีหน่วยเป็น moment magnitude (Mw) ซึ่งสามารถหาได้จากการประเมินจากความยาวของรอยเลื่อนและคำนวณจากสมการความสัมพันธ์ของ Well และ Coppersmith (1994) และประเมินโดยการหาค่า a และ b จากสมการความสัมพันธ์ของ (Gutenberg และ Richter, 1944) ส่วนการประเมินพิบัติภัยแผ่นดินไหวจะประเมินเชิงปริมาณในรูปของแรงสั่นสะเทือนสูงสุดบนพื้นดิน (Peak Ground Acceleration, PGA) โดยทำการประเมินจากวิธีวิธีกาหนดค่า (Deterministic Seismic Hazard Analysis, DSHA) และจากแนวคิดความน่าจะเป็น (Probabilistic Seismic Hazard Analysis, PSHA) จากการประเมินพบว่าขนาดแผ่นดินไหวสูงสุดมีค่าอยู่ระหว่าง 7.0-8.5 Mw และค่าระดับแรงสั่นสะเทือนสูงสุดมีค่าอยู่ระหว่าง 0.01-0.35g ทั้งนี้เขื่อนที่มีพิบัติภัยแผ่นดินไหวรุนแรงและต้องเฝ้าสังเกตและระวังพิบัติภัยแผ่นดินไหวที่จะเกิดขึ้นมีค่าแรงสั่นสะเทือนสูงสุดอยู่ในช่วง 0.26-0.35g ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการประเมินความเสี่ยงของเขื่อนและปรับปรุงคุณภาพเขื่อนให้เหมาะสมเพื่อรับมือกับแผ่นดินไหวที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ส่วนเขื่อนที่มีพิบัติภัยต่ามีค่าแรงสั่นสะเทือนสูงสุดเท่ากับ 0.01g และถูกจัดให้อยู่ในพื้นที่ปลอดพิบัติภัยแผ่นดินไหว (ICOLD, 1989)
Other Abstract: Thailand has many seismic source zone and it make earthquake occurred. Then many people concerned about the impact on construction especially dams. In this study, the assessment of earthquake activity and hazard of 39 large dams in Thailand can help to assess the seismic hazard that will impact on dams. The main dataset are completeness earthquake catalog occupied by Incorporated Research Institutions for Seismology (IRIS). After improving the earthquake catalogue has 2,923 events. Maximum earthquake in moment magnitude (Mw) unit is used to assess earthquake activity by measure surface rupture length which relate to Well and Coppersmith (1994) equation and other method is estimate a and b value from G-R relationship (Gutenberg and Richter, 1944). Thereafter, Peak Ground Acceleration (PGA) was considered in order to assess seismic hazard by Deterministic Seismic Hazard Analysis (DSHA) and Probabilistic Seismic Hazard Analysis (PSHA). The results of maximum earthquake are between 7.0 and 8.5 Mw. And the highest of Peak Ground Acceleration are between 0.01 and 0.35g. As a result according to the extreme hazard of dams is revealed that located in class 4 and PGA is between 0.26 and 0.35g. And the safety area from earthquake hazard is revealed that PGA is 0.01g. Therefore, the dams in class 4 have to observation or monitoring of future earthquakes. (ICOLD, 1989)
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2558
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53252
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5532712323.pdf2.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.