Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53268
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุคนธ์เมธ จิตรมหันตกุล | - |
dc.contributor.author | ภัทราพร เตโจ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ | - |
dc.coverage.spatial | อุทัยธานี | - |
dc.date.accessioned | 2017-09-11T09:43:46Z | - |
dc.date.available | 2017-09-11T09:43:46Z | - |
dc.date.issued | 2558 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53268 | - |
dc.description | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2558 | en_US |
dc.description.abstract | เขาสะแกกรัง อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี เป็นภูเขาที่มีการวางตัวในแนวเหนือใต้ มีความสูง 150 เมตร และความยาวประมาณ 3.5 กิโลเมตร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างชัยนาทดูเพลค (Chainat duplex) (Smith et al., 2007) โครงสร้างนี้เกิดจากการเลื่อนตัวแบบซ้ายเข้าของรอยเลื่อนแม่ปิงในช่วงไทรแอสซิกตอนปลายถึง ช่วงโอลิโกซีน ทำให้เกิดการยกตัวของภูมิประเทศโดยรอยเลื่อนที่มีการวางตัวในแนวเหนือใต้ อย่างไรก็ตามการ เลื่อนแบบซ้ายเข้าของรอยเลื่อนแม่ปิงได้สิ้นสุดลง เมื่อมีแรงบีบอัดเกิดที่ขึ้นในแนวเหนือใต้อันเป็นผลมาจากการชน กันของแผ่นทวีปอินเดียและยูเรเชีย ส่งผลให้รอยเลื่อนแม่ปิงมีการเลื่อนตัวแบบขวาเข้าตั้งแต่ช่วงไมโอซีนจนถึง ปัจจุบัน จากการศึกษาในภาคสนาม ข้อมูลลำดับชั้นหินและธรณีวิทยาโครงสร้าง ได้ถูกนำมาศึกษาและวิเคราะห์ ร่วมกันเพื่อใช้ในการอธิบายสภาพแวดล้อมการสะสมตัวและลักษณะธรณีวิทยาโครงสร้างของแนวเขาสะแกกรัง จากข้อมูลดังกล่าวพบว่าหินโผล่ในพื้นที่ศึกษามีสภาพแวดล้อมการสะสมตัวในทะเลลึกบริเวณลาดทวีป นอกจากนี้ ยังพบว่ามีการสะสมตัวในสภาพแวดล้อมแบบตะกอนน้ำพารูปพัดใต้ทะเล และหินโผล่ในพื้นที่ศึกษามีลักษณะทาง ธรณีวิทยาโครงสร้าง ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงภายใต้สภาวะการเลื่อนแบบแตกเปราะ (brittle deformation) นอกจากนี้หินโผล่ยังมีลักษณะโครงสร้างแบบดูเพลค ซึ่งเป็นโครงสร้างที่เกิดจากรอยเลื่อนย้อนโค้งที่มีระนาบรอย เลื่อนซ้อนทับกัน โดยมีการวางตัวที่ค่อนข้างอยู่ในแนวเหนือใต้ของทั้งระนาบรอยเลื่อนและการวางตัวของแนวเขา บ่งบอกรูปแบบการเปลี่ยนลักษณะหลักที่กระทำกับพื้นที่สอดคล้องกับการเลื่อนตัวของรอยเลื่อนแม่ปิงแบบซ้าย เข้า แต่ไม่พบหลักฐานการเปลี่ยนเป็นการเลื่อนตัวแบบขวาเข้าของรอยเลื่อนแม่ปิงของหินโผล่ในพื้นที่ศึกษา | en_US |
dc.description.abstractalternative | Khao Sakae Krang, Amphoe Muang, Changwat Uthai Thani, is anelongate with 150 meters in height and approximately 3.5 km long. It situates within the Chainat duplex (Smith et al., 2007) developed along the predominant sinistral Mae Ping Fault Zone. Both structures were formed during the Late Triassic to Oligocene. The duplex characterized by a series of N–S striking ridges, and is bounded to the north and south by NW–SE striking faults. However, the sinistral strike-slip motion of the Mae Ping Fault ended and changed to dextral movement due to a N-S compression; during the Miocene to the present. Stratigraphic and structural data from field mapping were analyzed in order to explain the depositional environment and structural style of Khao Sakae Krang. The results suggest that sediments were deposited in the region of submarine fan and continental rise. Reverse faults imply that the rock within the ridge were deformed under siniatral brittle deformation. The occurrence of duplex structures are displayed by the NW–SE striking reverse faults. Apart from faults, the N-S trending of ridge is also the evidence of sinistral strike-slip motion of Mae Ping Fault. However, there is no evidence of dextral strike-slip motion found in Khao Sakae Krang outcrops, including other ridges within the modern Chainat duplex. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ธรณีวิทยาโครงสร้าง -- ไทย -- อุทัยธานี | en_US |
dc.subject | ธรณีวิทยากายภาพ -- ไทย -- อุทัยธานี | en_US |
dc.subject | Geology, Structural -- Thailand -- Uthai Thani | en_US |
dc.subject | Physical geology -- Thailand -- Uthai Thani | en_US |
dc.title | ลำดับชั้นหินและธรณีวิทยาโครงสร้างของเขาสะแกกรัง จังหวัดอุทัยธานี | en_US |
dc.title.alternative | Stratigraphy and structural geology of Khao Sakae Krang, Changwat Uthai Thani | en_US |
dc.type | Senior Project | en_US |
dc.email.advisor | sukonmeth.j@chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Sci - Senior Projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5532728423.pdf | 75.01 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.