Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53300
Title: พฤติกรรมการเกิดแผ่นดินไหวเชิงสถิติบริเวณชายแดนประเทศไทยและสหภาพพม่า
Other Titles: Statistic earthquake activities along Thai-Myanmar border
Authors: ภัณฑรักษ์ ชาญณรงค์
Advisors: สันติ ภัยหลบลี้
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Pailoplee.S@hotmail.com
Subjects: แผ่นดินไหว -- ไทย
แผ่นดินไหว -- พม่า
Earthquakes -- Thailand
Earthquakes -- Myanmar
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในอดีตที่ผ่านมาบริเวณพื้นที่บริเวณชายแดนประเทศไทยและสหภาพพม่ามีเหตุการณ์แผ่นดินไหวเกิดขึ้นหลายครั้ง แต่อย่างไรก็ตามแผ่นดินไหวแต่ละครั้งไม่ได้เกิดสัมพันธ์กับแนวหรือลักษณะทางธรณีสัณฐานที่บ่งบอกว่าเป็นรอยเลื่อน ดังนั้นในการศึกษานี้จึงมุ่งใช้ข้อมูลเชิงสถิติในการวิเคราะห์พฤติกรรมการเกิดแผ่นดินไหวในพื้นที่ โดยศึกษาการเปลี่ยนแปลงค่า จากความสัมพันธ์กูเต็นเบิร์ก-ริกเตอร์ ทั้งนี้จากการรวบรวมข้อมูลจากทุกฐานข้อมูลแผ่นดินไหว พบข้อมูลแผ่นดินไหวในพื้นที่ทั้งหมด 7,500 ข้อมูล และมีการปรับมาตราการวัดขนาดแผ่นดินไหวให้เป็นมาตราเดียวกัน รวมทั้งการกำจัดกลุ่มแผ่นดินไหวนำและแผ่นดินไหวตามออกจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวหลักเพื่อให้ได้ข้อมูลที่แสดงถึงพฤติกรรมแผ่นดินไหวโดยตรง เมื่อนำข้อมูลแผ่นดินไหวที่ผ่านการสังเคราห์แล้วมาคำนวนความหลากหลายของค่า ในเชิงเวลาโดยวิธีการเลื่อนของช่วงข้อมูลไปตามเวลาการเกิด ที่ประกอบด้วยเหตุการณ์แผ่นดินไหว 25 เหตุการณ์และมีการเลื่อนครั้งละ 3 เหตุการณ์ พบว่ามีการลดลงของค่า ประมาณ 0.2 - 0.5 แล้วจะเกิดแผ่นดินไหวขนาดกลางตามมา ( 6- 7) ส่วนการคำนวณค่า เชิงพื้นที่โดยใช้วิธีแบ่งกริด มีรัศมีของข้อมูล 100 เหตุการณ์ ช่องว่างหระหว่างพิกัดกริด 0.1º x 0.1º พบว่าพื้นที่ที่มีค่า ต่ำๆหรือบริเวณที่เป็นสีฟ้าเข้ม-น้ำเงิน จะเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาดกลางตามมา ทั้งนี้จากแน้วโน้มของแผนที่ค่า จากรูปแบบการคำนวณดังกล่าว ทำให้สรุปได้ว่ามีความเป็นไปได้ที่จะเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในบริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของพื้นที่ศึกษา นอกจากนี้ยังสามารถนำรูปแบบการคำนวณค่า ในเชิงเวลานี้ ไปประยุกต์ใช้ในงานวิจัยอื่นๆที่มีลักษณะของพื้นที่และขนาดแผ่นดินไหวใกล้เคียงกันได้
Other Abstract: In the region of Thai-Myanmar border, there are a large number of earthquake events recorded instrumentally in the past. However, the locations of most earthquakes are not coincide with the location of the morphological features indicated or implied the earthquake fault. Thus, statistical evaluation of earthquake records is focused in this earthquake hazard study. Variations of -values from the Gutenberg-Richter relationship are, therefore, investigated carefully. From data acquisitions, more than 7,500 earthquakes from various earthquake catalogues are used. Magnitude conversion and earthquake de-clustering are analyzed for completeness of the earthquake activity. The temporal variations of -value is calculated by sliding times-window method that contain 25 events with every 3 event sliding illustrate obvious -value drops (down to 0.2-0.5) when the 6-7 earthquake occurred. Furthermore, the spatial variations of -value is calculated by separating the area to grid with radius of 100 earthquake events and 0.1º grid spacing can observe large earthquake in low -value areas. As a result, we conclude that these analysis case studies are the efficiency conditions for predicting the upcoming earthquakes in this area. And based on these condition, the result reveal that the southwestern part of the study area have more possibility to generate the next small-to-medium earthquake in the future more than the other area.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2554
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53300
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
report_Pantarak Channarong.pdf3.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.