Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53303
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศรีเลิศ โชติพันธรัตน์-
dc.contributor.authorภัสสร วิวัฒนาธรรม-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.coverage.spatialชลบุรี-
dc.date.accessioned2017-09-17T04:56:42Z-
dc.date.available2017-09-17T04:56:42Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53303-
dc.descriptionโครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2554en_US
dc.description.abstractเขตพื้นที่อุตสาหกรรมภาคตะวันออก บริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออกเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีการกระจายตัวของนิคมอุตสาหกรรมและเขตอุตสาหกรรมจำนวนมาก ทำให้พื้นที่ในบริเวณนี้มีความต้องการการใช้น้ำเพื่อรองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม โดยแหล่งน้ำที่สำคัญที่สามารถตอบสนองความต้องการนี้ได้คือแหล่งน้ำบาดาล ดังจะเห็นได้จากการปฏิบัติภารกิจของกรมทรัพยากรน้ำบาดาลในการแก้ไขปัญหาภัยแล้งของพื้นที่ในภาคตะวันออกในปี พ.ศ. 2548 ในการศึกษานี้มีพื้นที่ศึกษาตั้งอยู่บริเวณอำเภอศรีราชาและอำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ในการศึกษานี้มุ่งเน้นศึกษาสมบัติของชั้นน้ำบาดาลโดยใช้วิธีทางธรณีฟิสิกส์ ข้อมูลหลุมเจาะจากกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ตลอดจนข้อมูลสูบทดสอบ เพื่อประกอบกับการสร้างภาพตัดขวางและแบบจำลองเชิงมโนทัศน์ (Conceptual Model) ในพื้นที่ดังกล่าวซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนการบริหารจัดการการใช้น้ำบาดาลอย่างยั่งยืนต่อไป เมื่อนำข้อมูลต่างๆมาจำแนกชั้นหินอุ้มน้ำตามลักษณะของตะกอนและคุณสมบัติทางธรณีฟิสิกส์สามารถแบ่งชั้นน้ำในพื้นที่ศึกษาได้เป็น 2 ชั้นน้ำหลักดังนี้ 1.ชั้นหินให้น้ำตะกอนเศษหินเชิงเขา (Colluvium Aquifers, Qcl) หรือชั้นตะกอนวางตัวอยู่ด้านบนสุดประกอบด้วยทราย ดินเหนียว กรวด ไม่มีการแบ่งแยกตะกอนเป็นชั้นๆเพราะช่องว่างระหว่างเม็ดตะกอนมักจะถูกอุดตันด้วยชั้นดินเหนียวตกตะกอนทับอยู่ด้วยกัน มีระดับความลึกของชั้นน้ำบาดาลประมาณ 10-40 เมตร 2. ชั้นหินแข็งของหินแกรนิต (Granite Aquifers) วางตัวอยู่ชั้นล่างสุด มีระดับความลึกของชั้นน้ำบาดาลประมาณ 40-80 เมตร โดยมีคุณสมบัติทางชลศาสตร์ของชั้นหินในน้ำบาดาลอันได้แก่ ค่าสัมประสิทธิ์การจ่ายน้ำ (Transmissivity, T) ดังนี้ ในชั้นตะกอนจะมีค่าสัมประสิทธิ์การจ่ายน้ำตั้งแต่ 0.420 -1.070 m2/d ส่วนในชั้นหินแข็งจะมีค่าสัมประสิทธิ์การจ่ายน้ำตั้งแต่ 0.200 -1.270 m2/d สำหรับค่าสัมประสิทธิ์การยอมให้น้ำซึมผ่าน (Hydraulic conductivity) ในชั้นตะกอนจะมีค่าสัมประสิทธิ์การยอมให้น้ำซึมผ่าน 0.052 -0.268 m/d ส่วนในชั้นหินแข็งจะมีค่าสัมประสิทธิ์การยอมให้น้ำซึมผ่าน 0.013 -0.159 m/d และจากแบบจำลองเชิงแนวคิดของอุทกธรณีวิทยาชั้นหินอุ้มน้ำทั้งชั้นตะกอนและชั้นหินแข็งมีทิศทางการไหลส่วนใหญ่จากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตกen_US
dc.description.abstractalternativeIn eastern industrial area, coastal watershed is important for the economical system of Thailand. In this area, there is the distribution of industrial estates that cause of increasing of water demand, particular for groundwater served for huge amount of water usage. The study areas of this research locate in Amphoe Sriracha and Amphoe Banglamung, Changwat Chonburi. The objectives of this study aimed to 1) describe the hydrogeologic characteristics of groundwater aquifer by interpretating the 1-D resistivity data, borehole logging, lithologic logs and pumping test and 2) create cross section and conceptual model that will be applicable for groundwater resources management plan. As a result of data interpretation, the aquifers in this area can be divided into 2 types: colluvium aquifer and fractured granite aquifer. The colluvium aquifers, the uppermost sediment which lied over the granite aquifer and is composed of sand, clay and, gravel that their inter-granular pores are filled by clay. The depth of colluvium aquifer commonly varies from 10 to 40 meters. The depth of the granite aquifer varies from 40 to 80 meters. According to pumping test data analyzed by Theis, Cooper-Jacop, Neuman and Hantush methods, the transmissivity values ranged from approximately 0.420 to1.070 m2/d and 0.200 to1.270 m2/d in colluvium aquifer and fractured granite aquifer, respectively. The hydraulic conductivity ranged from approximately 0.052 to 0.268 m/d and 0.013 to 0.159 m/d in colluvium aquifer and fractured granite aquifer, respectively. Finally, the conceptual models of colluvium aquifers and granite aquifers showed there charge/discharge system and groundwater direction genrally moves from eastern recharge area toward western discharge area.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectอุทกธรณีวิทยา -- ไทย -- ชลบุรีen_US
dc.subjectชั้นน้ำบาดาล -- ไทย -- ชลบุรีen_US
dc.subjectHydrogeology -- Thailand -- Chonburien_US
dc.subjectAquifers -- Thailand -- Chonburien_US
dc.titleลักษณะอุทกธรณีวิทยาของแอ่งน้ำบาดาลย่อยบริเวณอำเภอศรีราชาและอำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรีen_US
dc.title.alternativeHydrogeologic characteristics of groundwater subbasin in Amphoe Sriracha and Amphoe Banglamung, Changwat Chonburien_US
dc.typeSenior Projecten_US
dc.email.advisorlertc77@yahoo.com-
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
report_Patsorn Wiwattanathum.pdf5.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.