Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53354
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจักรพันธ์ สุทธิรัตน์-
dc.contributor.authorณพรินทร์ ชำนาญกิจจา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-09-27T04:34:16Z-
dc.date.available2017-09-27T04:34:16Z-
dc.date.issued2556-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53354-
dc.descriptionโครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2556en_US
dc.description.abstractการวิเคราะห์เชิงปริมาณเคมีของธาตุร่องรอยของกลุ่มพลอยแซปไฟร์ด้วยเครื่องมือ Laser Ablation-Inductively Coupled Plasma-Mass Spectrometry (LA-ICP-MS) สามารถใช้เพื่อศึกษา แหล่งกำเนิดเริ่มต้นของพลอยแซปไฟร์ได้ ตัวอย่างพลอยแซปไฟร์จำนวน 4 แหล่งในเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้ ได้แก่ แหล่งจังหวัดแพร่ ในประเทศไทย แหล่งไพลิน ในประเทศกัมพูชา แหล่งห้วยทราย ในประเทศ ลาว และแหล่งเกียเงีย ในประเทศเวียดนาม ได้ถูกนำมาศึกษาเพื่อแบ่งแยกต้นกำเนิดของการเกิดพลอยที่ถูก พาขึ้นมาด้วยหินอัลคาไลบะซอลต์ ระหว่างการกำเนิดพลอยแบบสัมพันธ์กับกระบวนการ ตกผลึกของ แมกมา และ กระบวนการแปรสภาพ กลุ่มพลอยแซปไฟร์ที่สัมพันธ์กับการตกผลึกของแมกมา มีความเข้มข้นของธาตุเหล็ก (Fe) อยู่ใน ระดับปานกลางถึงสูง (2900-11,000 ppm) ธาตุแกลเลียม (Ga) อยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างสูง (110-190 ppm) ธาตุแมกนีเซียม (Mg) ในระดับปานกลางค่อนข้างต่ำ (8-60 ppm) ธาตุไทเทเนียม (Ti) ต่ำ ธาตุ วาเนเดียม (V) (>100 ppm) และ ธาตุโครเมียม (Cr) ในระดับต่า (8-10 ppm) อัตราส่วนของปริมาณธาตุ เหล็กต่อธาตุไทเทเนียม (Fe/Ti) มีค่าสูง อัตราส่วนของปริมาณธาตุแกลเลียมต่อธาตุวาเนเดียม (Ga/V) และ อัตราส่วนของปริมาณธาตุแกลเลียมต่อธาตุโครเมียม (Ga/Cr) มีค่ากระจายมากตามปริมาณของธาตุ วาเนเดียม (V) และธาตุโครเมียม (Cr) ส่วนกลุ่มพลอยแซปไฟร์ที่สัมพันธ์กับกระบวนการแปรสภาพ มี ความเข้มข้นของธาตุเหล็ก (Fe) อยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างต่ำ (<4,000 ppm) ธาตุแกลเลียม (Ga) อยู่ใน ระดับปานกลางค่อนข้างสูงเช่นเดียวกับกลุ่มพลอยแซปไฟร์ที่สัมพันธ์กับกระบวนการตกผลึกแมกมา ธาตุ แมกนีเซียม (Mg) อยู่ในระดับต่ำ (5-15 ppm) ธาตุไทเทเนียม (Ti) สูง ธาตุวาเนเดียม (V) อยู่ในระดับต่ำ ถึง ปานกลาง และธาตุโครเมียม (Cr) ในระดับต่ำ เช่นเดียวกับกลุ่มพลอยแซปไฟร์ที่สัมพันธ์กับการตกผลึก ของแมกมา อัตราส่วนของปริมาณธาตุเหล็กต่อธาตุไทเทเนียม (Fe/Ti) มีค่ากระจาย อัตราส่วนของปริมาณ ธาตุแกลเลียมต่อธาตุวาเนเดียม (Ga/V) และอัตราส่วนของปริมาณธาตุแกลเลียมต่อธาตุโครเมียม (Ga/Cr) มีค่ากระจายมากตามปริมาณของธาตุวาเนเดียม (V) และธาตุโครเมียม (Cr) เช่นกันen_US
dc.description.abstractalternativeLaser Ablation-Inductively Coupled Plasma-Mass Spectrometry (LA-ICPMS) was applied to study the initial source formations by using trace elements analysis of sapphires with four different sources from basaltic localities in Southeast Asia such as Phrae in Thailand, Pailin in Cambodia, Huai Sai in Loas and Gia Nghia in Vietnam. The LA-ICP-MS analysis was used for identifying between magmatic and metamorphic sapphire found in alkali basalts. Magmatic sapphires are commonly medium-rich in Iron (Fe) (2900-11,000 ppm), medium to low in Magnesium (Mg) (8- 60 ppm), low in Titanium (Ti), high in Vanadium (V) (>100 ppm) and Chromium (Cr) are low (8-10 ppm). These trace elements contents lead to high Fe/Ti. Ga/V and Ga/Cr ratio diagram are very varied related to V and Cr contents. Metamorphic sapphires are low in Iron (Fe) (<4,000 ppm), medium to high in Gallium (Ga) as similar to magmatic sapphires, low in Magnesium (Mg) (5-15 ppm), high in Titanium (Ti), low to medium in Vanadium (V) and Chromium (Cr) are low as similar to magmatic sapphires. Fe/Ti ratio diagram are varied. Ga/V and Ga/Cr ratio diagram are varied as well related to V and Cr contents.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectไพลินen_US
dc.subjectหินบะซอลท์en_US
dc.subjectธรณีเคมีen_US
dc.subjectSapphiresen_US
dc.subjectBasalten_US
dc.subjectGeochemistryen_US
dc.titleธาตุร่องรอยของกลุ่มพลอยแซปไฟร์ จากแหล่งหินบะซอลต์ในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้กับความสัมพันธ์กับแหล่งกำเนิดเริ่มต้นen_US
dc.title.alternativeTrace elements of sapphires from basaltic localities in SE asia and their relation to the initial formationsen_US
dc.typeSenior Projecten_US
dc.email.advisorc.sutthirat@gmail.com-
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5332711523 ณพรินทร์ ชำนาญกิจจา.pdf1.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.