Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53357
Title: การวิเคราะห์ระดับอันตรายจากแผ่นดินไหวในประเทศลาว
Other Titles: Seismic hazard analysis in Laos
Authors: สุรพงษ์ เลิศฤทธิพงศ์
Email: ไม่มีข้อมูล
Advisors: สันติ ภัยหลบลี้
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Pailoplee.S@hotmail.com
Subjects: แผ่นดินไหว
แผ่นดินไหว -- ลาว
การประเมินอันตรายจากแผ่นดินไหว
การประเมินอันตรายจากแผ่นดินไหว -- ลาว
Earthquakes
Earthquakes -- Laos
Earthquake hazard analysis
Earthquake hazard analysis -- Laos
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ประเทศลาวเป็นพื้นที่ที่มีแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวกระจายอยู่ทางด้านตอนเหนือของประเทศ จึงจัดเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายจากแผ่นดินไหว ดังนั้นการศึกษาในครั้งนี้จึงมุ่งเน้น วิเคราะห์ระดับอันตรายจากแผ่นดินไหว ในพื้นที่ประเทศลาว ครอบคลุม ละติจูด 14°N – 23°N และ ลองจิจูดที่ 100° E - 108° E เพื่อประโยชน์ในการวางแผนและป้องกันพิบัติภัยที่อาจเกิดขึ้นใน อนาคต โดยการวิเคราะห์ระดับอันตรายจากแผ่นดินไหวมุ่งเน้นประเมินแรงสั่นสะเทือนสูงสุดบน พื้นดินจาก 2 แนวคิดที่แตกต่างกัน คือ แนวคิดกำหนดค่าและแนวคิดความน่าจะเป็น ผลจากการวิเคราะห์ระดับอันตรายแผ่นดินไหวตามแนวคิดกำหนดค่าแสดงให้เห็นว่าพื้นที่ที่ มีค่าอัตราเร่งสูงสุดของพื้นดินในอัตราสูงที่สุดคือ ทางด้านตอนเหนือของประเทศลาว ซึ่งอยู่ในเขต ของแขวงพงสาลี หลวงน้ำทา หลวงพระบาง ไซยบุรี และเมืองหลวงเวียงจันทน์ มีค่าอัตราเร่งสูงสุด ของพื้นดิน ประมาณ 0.55 – 0.65g จากการวิเคราะห์ด้วยแนวคิดความน่าจะเป็นที่มีโอกาสเกิด 2% ในรอบ 50 ปีพื้นที่ที่มีค่าอัตราเร่งสูงสุดของพื้นดินในอัตราสูงที่สุดคือ ทางด้านตอนเหนือของประเทศ ลาวเช่นกัน โดยมีค่าอัตราเร่งสูงสุดของพื้นดิน ประมาณ 0.3 – 0.45g ในขณะที่อัตราเร่งสูงสุดของ พื้นดินที่มีโอกาสเกิด 10% ในรอบ 50 ปี มีอัตราสูงสุดของพื้นดินประมาณ 0.2 – 0.35g ส่วนอัตราเร่ง สูงสุดของพื้นดินที่มีโอกาสเกิด 2% ในรอบ 100 ปี มีแนวโน้มในลักษณะเดียวกันกับผลการวิเคราะห์ กรณีที่มีโอกาสเกิด 10% ในรอบ 100 ปี แต่ค่าอัตราเร่งสูงสุดของพื้นดินที่มีโอกาสเกิด 2% ในรอบ 100 ปีมีค่าสูงขึ้น 1.5 เท่าโดยประมาณ
Other Abstract: According to the present-day activities of the Indian-Eurasian plate collision, Laos and the adjacent areas dominated by a large number of seismic source zones, in particular for the northern part. Based mainly on the epicentral distribution of instrumental earthquake records, it is indicated that most of seismic source zone mentioned above are active. Therefore, Seismic Hazard Analysis (SHA) in Laos is necessary for mitigation planning of the forthcoming earthquake hazards. In this study both deterministic (DSHA) and probabilistic (PSHA) scenarios of SHA are analyzed covering the whole country of Laos, i.e., Latitude of 14๐ N - 23๐ N and Longitude of 100๐ E - 108๐ E. The results obtained from this SHA are present in terms of maps showing distribution of the peak ground acceleration (PGA). DSHA results reveal that the seismicprone areas of Laos are located in the northern part with the PGA ranges 0.55 – 0.65g. Meanwhile for 2% probability of exceedance for a 50 year period of the PSHA, the PGA of the northern part are around 0.3 – 0.45 g covering a number of major cities of Laos, i.e., Phongsali, Louang Namtha, Louangphrabang, Xaignbouli, and Vientiane. For 10% probability of exceedance for a 50 year period, the PGA are estimated about 0.2 – 0.35 g. Whilst, PGA maps for 2% probability of exceedance for a 50 year period also has the similar hazard distribution of the 10% exceedance for a 50 year. However, the ground shaking has increased over 1.5 levels approximately.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2556
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53357
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5332732723 สุรพงษ์ เลิศฤทธิพงศ์.pdf2.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.