Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5339
Title: | เทคนิคอัลทราโซนิกสำหรับวัดค่าโฮลด์อัพในคอลัมน์สกัดแบบจานหมุน |
Other Titles: | Ultrasonic technique for hold-up measurements in a rotating disk contactor extraction column |
Authors: | สมิทธ์ ฉัตรภูติ |
Advisors: | สมเกียรติ งามประเสริฐสิทธิ์ เลอสรวง เมฆสุต |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | somkiat@sc.chula.ac.th Lursuang.M@chula.ac.th |
Subjects: | อัลตราโซนิกส์ โฮลด์อัพ -- การวัด การถ่ายเทมวล |
Issue Date: | 2542 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้เป็นการทดลองนำเทคนิคอัลทราโซนิกมาใช้กับคอลัมน์สกัดแบบจานหมุน (RDC) เพื่อศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการนำเทคนิคนี้มาใช้ในการวัดค่าโฮลด์อัพ โดยคอลัมน์สกัดแบบจานหมุนที่ใช้ศึกษามีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายใน 5.05 เซนติเมตร ยาว 108 เซนติเมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของจานหมุน และวงแหวนสถิต เท่ากับ 2.4 และ 3.0 เซนติเมตร ตามลำดับ จำนวนคอมพาร์ตเมนต์ เท่ากับ 43 ชั้น อัลทราโซนิกทรานสดิวเซอร์ที่ใช้มีขนาดเส้นผ่านศูนยกลางผิวหน้า 1.5 เซนติเมตร ความถี่ 1 เมกะเฮิรตซ์ สำหรับระบบอิมัลชันที่ใช้คือ โทลูอีน (วัฏภาคกระจาย)-น้ำ และศึกษาตัวแปรที่มีผลต่อค่าโฮลด์อัพ ได้แก่ อัตราการไหลของวัฏภาคกระจาย เท่ากับ 0.01-0.08 ลิตรต่อนาที อัตราการไหลของวัฏภาคต่อเนื่อง เท่ากับ 0.1-0.8 ลิตรต่อนาที และความเร็วรอบจานหมุน เท่ากับ 300-800 รอบต่อนาที ตามลำดับ พบว่าเมื่อให้อัตราการไหลของวัฏภาคต่อเนื่อง และความเร็วรอบจานหมุนคงที่ อัตราการไหลของวัฏภาคกระจายมีผลต่อค่าโฮลด์อัพ โดยโฮลด์อัพมีค่าเพิ่มขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของอัตราการไหลของวัฏภาคกระจาย สำหรับอัตราการไหลของวัฏภาคต่อเนื่องต่อค่าโฮลด์อัพ เมื่ออัตราการไหลของวัฏภาคกระจายและความเร็วรอบจานหมุนมีค่าคงที่ โฮลด์อัพมีค่าลดลงเมื่ออัตราการไหลของวัฏภาคต่อเนื่องเพิ่มขึ้น และผลของความเร็วรอบจานหมุนมีผลเพียงเล็กน้อยต่อค่าโฮลด์อัพ จากการทดลองได้เปรียบเทียบโฮลด์อัพที่วัดด้วยวิธีอัลทราโซนิก และวิธีวัดประมาตรโดยตรงในคอลัมน์สกัดแบบจานหมุนย่อส่วนที่มี geometry ของคอลัมน์ใกล้เคียงกันกับคอลัมน์สกัดแบบจานหมุน พบว่ามีค่าใกล้เคียงกันและน่าเชื่อถือโดยมีค่าเฉลี่ยของผลต่างของค่าโฮลด์อัพเท่ากับ 0.019 และคิดเป็นร้อยละ 7.73 ค่าโฮลด์อัพที่วัดได้ด้วยเทคนิคอัลทราโซนิกในคอลัมน์สกัดแบบจานหมุนนี้ มีค่าอยู่ระหว่าง 0.010-0.499 และความสัมพันธ์ของค่าโฮลด์อัพกับตัวแปรที่ทำการศึกษาคือ Phi = 0.7188 (Qc/Qd)-0.7604 |
Other Abstract: | This study used ultrasonic technique with a rotating disk contactor extraction column (RDC) to study the feasibility of the technique for determining dispersed phase hold-up. The measurement was done in a 5.05 cm. inner diameter RDC column, 108 cm. length and diameter of rotating disks and stator rings were 2.4 and 3.0 cm., respectively. The column consists of 43 rotating disks, 44 stator rings and height between disk and stator ring, 2.0 cm. Active surface's ultrasonic transducer is 1.5 cm., with ultrasonic transducer of frequency 1 MHz. The toluene (dispersed)-water system was used throughout the study. The flow of dispersed phase and continuous phase were introduced, with the rate of 0.01-0.08 L/min and 0.1-0.8 L/min, respectively. The rotating disks were operated at 300-800 rpm. The results showed that when the flow rate of continuous phase and rotating speed are constant, the flow rate of dispersed phase have an effect on hold-up of dispersed phase. Hold-up has increased with the increasing of dispersed phase flow. When the dispersed phase flow and rotating speed are constant, the increasing of the continuous phase flow caused the hold-up to decrease. The increasing of rotor speed have a slight effect on the hold-up. The values of dispersed phase hold-up obtained from ultrasonic and direct volume measurement method were compared in miniaturized RDC that have column geometry similar to RDC. The study found that the values of hold-up from both methods were reliable and somewhat accuracy, the average of the difference of hold-up of 0.019. The hold-up values were measured by means of ultrasonic technique in RDC are between 0.010-0.499. The relation of hold-up expressed in term of dispersed phase flow rate and continuous phase flow rate can be represented as follows: Phi = 0.7188 (Qc/Qd)-0.7604. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เคมีเทคนิค |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5339 |
ISBN: | 9746394312 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.