Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5341
Title: ผลได้ของการให้ความรู้แก่ผู้ป่วยนอกโรคความดันโลหิตสูง
Other Titles: Outcomes of patient education in hypertensive outpatients
Authors: ยุคลธร จิรพงศ์พิทักษ์
Advisors: สาริณีย์ กฤติยานันต์
รุ่งเพชร สกุลบำรุงศิลป์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Sarinee.K@Chula.ac.th
Rungpetch.C@Chula.ac.th
Subjects: ความดันเลือด
คุณภาพชีวิต
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยเชิงทดลองในผู้ป่วยนอกโรคความดันโลหิตสูงของโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต เพื่อประเมินผลได้ของการให้ความรู้โดยเภสัชกรต่อผลทางคลินิกและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย จำนวนผู้ป่วยที่ศึกษา 120 คน แบ่งเป็นกลุ่มศึกษา (ได้รับความรู้จากเภสัชกร) และกลุ่มควบคุม (ไม่ได้รับความรู้จากเภสัชกร) กลุ่มละ 60 คน ระยะเวลาศึกษา 6 เดือน อายุเฉลี่ยผู้ป่วยกลุ่มศึกษา 66.3+-10.0 ปี กลุ่มควบคุม 67.3+-11.0 ปี ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยกลุ่มศึกษาควบคุมความดันโลหิตได้ดีขึ้น โดยเปรียบเทียบค่าความดันโลหิตค่าบนจากก่อนให้ความรู้และหลังให้ความรู้ ซึ่งลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) จาก 145.0+-15.5 มม.ปรอท เป็น 138.5+-13.9 มม.ปรอท แต่ลดลงเพียงเล็กน้อยและไม่มีนัยสำคัญทางสถิติในกลุ่มควบคุมจาก 145.4+-15.6 มม.ปรอท 144.9+-21.3 มม.ปรอท ผู้ป่วยกลุ่มศึกษาใช้ยาตามสั่งได้มากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) จากร้อยละ 52 ในกลุ่มควบคุมไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิตด้านการบริโภคอาหารรสเค็มและอาหารที่มีไขมมันสูงในกลุ่มศึกษาก็มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.028 และ p=0.034) เช่นเดียวกัน โดยลดลงจากร้อยละ 91.7 และ 81.7 เป็น 50.0 และ 66.0 ตามลำดับ การประเมินผลคุณภาพชีวิตโดยแบบสอบถาม SF-36 พบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของคะแนนเฉลี่ยที่วัดได้ (p>0.05) ในทั้ง 2 กลุ่ม อย่างไรก็ตามคะแนนเฉลี่ยที่วัดได้จากกลุ่มศึกษามีแนวโน้มสูงขึ้นหลังจากได้รับความรู้จากเภสัชกร ในด้านการหยุดยาเองที่เกิดจากอาการอันไม่พึ่งประสงค์จำนวนผู้ป่วยในกลุ่มศึกษาลดลงจากร้อยละ 6.7 เป็น 0.0 ดังนั้นการให้ความรู้แก่ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงของเภสัชกรของเภสัชกรจะส่งผลต่อการรักษาและคุณภาพชีวิต อย่างไรก็ตามการศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการศึกษา Humanistic outcomes เท่านั้น ควรวัดความพึงพอใจและความรู้เกี่ยวกับโรคและการควบคุมโรคในผู้ป่วยด้วย จึงน่าที่จะได้พัฒนาแบบสอบถามที่เหมาะสมกับคนไทยและศึกษาต่อไปเพื่อให้ได้ผลที่สมบูรณ์
Other Abstract: The experimental design study was conducted in hypertensive outpatients of Vachira Phuket Hospital for the purpose of evaluating the outcomes of patient education by pharmacist on clinical and quality of life aspects. Total of 120 patients were divided into study group (with patient education provided) and control group (without patient education provided) each of 60 patients randomly assigned, with six month period of studies. Average age of study group and control group were 66.3+-10.0 and 67.3+-11.0, respectively. It was found that systolic blood pressure in study group compared before and after patient education was significantly decreased (p<0.05) from 145.0+-15.5 to 138.5+-13.9 mm.Hg while was not significantly decreased in control group (from 145.4+-15.6 to 144.9+-21.3 mm.Hg). Drug use compliance was also significantly increased (p<0.05) in study group from 25 to 52 percent but not significantly different in control group. According to life-style modification in high sodium and cholesterol intake, itwas significantly decreased (p=0.028 and p=0.034) from 91.7% and 81.7% to 50.0% and 66.0% respectively in study group. The quality of life assessment by using SF-36 Questionnaire was not significantly different (p>0.05) in both groups related to mean score calculated. However, trends of higher quality of life after patient education was shown in study group. The percentage of patients with self-stopped treatment in study group due to adverse drug effects was decreased from 6.7% to nil. Therefore, participation of pharmacist in patient education, especially in hypertensive patients, will benefit patient treatment and quality of life. However, quality of life studied in this work is only part of humanistic outcomes study, patient satisfaction and disease and disease management knowledge have not yet been evaluated. Development of questionnaire for humanistic outcomes study suitable for Thais should be performed and further studied to give a complete result
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5341
ISBN: 9743329463
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Yukontorn.pdf5.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.