Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53447
Title: | การศึกษาการจัดการเรียนการสอนศิลปศึกษาโดยบูรณาการพุทธธรรมในโรงเรียนวิถีพุทธ ระดับประถมศึกษา จังหวัดสงขลา |
Other Titles: | The study of art education instruction integrating Buddha Dhamma in Buddhist wisdom elementary schools in Songkla Province |
Authors: | ชัยวัฒนภัทร เลาสัตย์ |
Advisors: | สุลักษณ์ ศรีบุรี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Sulak.S@Chula.ac.th |
Subjects: | โรงเรียนวิถีพุทธ -- ไทย -- สงขลา กิจกรรมการเรียนการสอน ศิลปกรรม -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา) Buddhist oriented schools -- Thailand -- Songkhla Activity programs in education Arts -- Study and teaching (Elementary) |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนการสอนศิลปศึกษาโดยบูรณาการพุทธธรรม ในโรงเรียนวิถีพุทธ ระดับประถมศึกษา ในจังหวัดสงขลา ในด้านวัตถุประสงค์ ด้านสาระการเรียนรู้ ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านสิ่งแวดล้อม ทางการเรียน และด้านการประเมินผลการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ครูผู้สอนซึ่งทำหน้าที่สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะของกลุ่มโรงเรียนวิถีพุทธ ระดับประถมศึกษา ช่วงชั้นที่ 2 ในจังหวัดสงขลา 174 คน และนักวิชาการศึกษา ศึกษานิเทศก์ผู้รับผิดชอบโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ ครูผู้สอนศิลปศึกษาในโรงเรียนวิถีพุทธ จังหวัดสงขลา จังหวัด จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การคำนวณ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่า 1. ครูศิลปศึกษามีความคิดเห็นในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง ในองค์ประกอบการจัดการเรียนการสอน ด้านวัตถุประสงค์การสอน ด้านสิ่งแวดล้อมทางการเรียน และด้านการวัดและประเมินผล และมีความคิดเห็นในระดับเห็นด้วยในด้านวัตถุประสงค์การสอนและ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 2. นักวิชาการศึกษา ศึกษานิเทศก์ผู้รับผิดชอบโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ จังหวัดสงขลา และครูผู้สอนศิลปศึกษาในโรงเรียนวิถีพุทธ มีความคิดเห็น สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้ วัตถุประสงค์ของหลักการศึกษาแนวพุทธมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดการเรียนการสอนวิชาศิลปศึกษา โดยควรกำหนดวัตถุประสงค์ โดยใช้หลักไตรสิกขาในการบูรณาการเพื่อพัฒนาผู้เรียนแบบองค์รวม ควรมีเนื้อหาสาระที่หลากหลาย เน้นให้ผู้เรียนได้สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ตามความคิด จินตนาการ อย่างอิสระ สอดคล้องกับความสนใจ สภาพแวดล้อมและวิถีชีวิตของผู้เรียน และสอดแทรกหลักพุทธธรรมที่สามารถใช้เป็นหลักในการทำงานศิลปะ และการประพฤติตนเป็นคนดี เช่น อิทธิบาท 4, เบญจศีล เบญจธรรม เป็นต้น ครูผู้สอนควรเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ผู้เรียน ทั้งในด้านการทำงานศิลปะและในด้านความประพฤติ และควรจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมศิลปะร่วมกับผู้อื่น ควรมีบรรยากาศการเรียนการสอนที่เน้นความร่วมมือ การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน มีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ในการทำกิจกรรมศิลปะ ห้องเรียนศิลปะ ควรมีบรรยากาศสงบ ใกล้ชิดธรรมชาติเพื่อให้ผู้เรียนได้ทำงานศิลปะ อย่างมีสมาธิและมีความสุข และ ควรมีการวัดและประเมินผล ตามสภาพจริง ด้วยวิธีการที่หลากหลายให้ครบรอบด้านตามหลักภาวนา 4 3. นักวิชาการศึกษา ศึกษานิเทศก์ผู้รับผิดชอบโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ จังหวัดสงขลา และครูผู้สอนศิลปศึกษาในโรงเรียนวิถีพุทธมีข้อเสนอแนะว่าต้องการงบประมาณ ในด้านวัสดุอุปกรณ์ทางศิลปะ รวมถึงยังขาดห้อง ปฏิบัติการทางทางศิลปะ และ ต้องการให้มีการอบรมพัฒนาครูศิลปศึกษา และพาครูศิลปศึกษาไปศึกษาดูงาน เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนศิลปศึกษา โดยบูรณาการพุทธธรรม อย่างสม่ำเสมอ |
Other Abstract: | The purpose of this research was to study on guidelines of art education instruction integrating Buddha Dhamma in Buddhist wisdom elementary schools in Songkhla province involving 1) Instruction objective 2) Subject contents 3) Teaching and learning activity 4) Learning environment 5) Measurement and evaluation. The research samplings were 174 art teachers in Buddhist wisdom elementary schools in Songkhla province and 10 of educator, education supervisors who are responsible for Buddhist wisdom school project and art teachers in Buddhist wisdom elementary schools in Songkhla province. The research instruments were the questionnaire and interview form. The collected data were analyzed by means of percentage, arithmetic mean, standard deviation and content analysis technique. The result of the research were revealed that 1.Most art teachers agreed at the highest level of three elements; instruction objective, learning environment, measurement and evaluation. Beside, they agreed at the high level of two elements; subject contents and teaching and learning activity. 2.The educator, education supervisors, and art teachers had opinions which can be concluded that objectives of Buddhist Education and objectives of art education instruction are related. The objectives of art education instruction should be set and integrated using the three studies, morality, concentration, and wisdom in order to develop learners as a whole. In addition, the subject contents should be various and emphasized on the learners to create artworks based on their imagination, interests, environment, and the ways of life. Moreover, art teachers should insert the principles of Buddhist Dhamma that can be used for creating artworks and behaving well; for example, the four effective means to attain successes or miraculous power, the five basic Buddhist precepts of moral practices etc. The teacher should be the model for learners in both art skills and good behaviors. The teacher should also manage teaching and learning activity that emphasizes on the learners to create artworks with others. The learning atmosphere should be cooperative, helping each other, kind, and generous. Art studio should have calm atmosphere, close to nature for the learners to concentrate their works happily, and use authentic assessment with the variety methods including every side of physical, social, mental and intellectual development. 3.The educator, education supervisors and art teachers suggested that they wanted some educational budget for materials, art applicants including art studio, the frequent training for art teachers, and the field trip to observe art education instruction integrating Buddha Dhamma. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ศิลปศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53447 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.471 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2008.471 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
chaiwattanapat_la_front.pdf | 1.32 MB | Adobe PDF | View/Open | |
chaiwattanapat_la_ch1.pdf | 1.45 MB | Adobe PDF | View/Open | |
chaiwattanapat_la_ch2.pdf | 11.42 MB | Adobe PDF | View/Open | |
chaiwattanapat_la_ch3.pdf | 822.48 kB | Adobe PDF | View/Open | |
chaiwattanapat_la_ch4.pdf | 4.45 MB | Adobe PDF | View/Open | |
chaiwattanapat_la_ch5.pdf | 3.86 MB | Adobe PDF | View/Open | |
chaiwattanapat_la_back.pdf | 4.01 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.