Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53482
Title: ลักษณะเฉพาะการสะสมตัวของตะกอนชายฝั่งที่ผิดปกติ บริเวณอำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
Other Titles: Characteristics of unusual coastal deposits in Amphoe Kui Buri, Changwat Prachuap Khiri Khan
Authors: อารยา ตันติธีรกุล
Advisors: มนตรี ชูวงษ์
สุเมธ พันธุวงค์ราช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: monkeng@hotmail.com
phantuwongraj.s@gmail.com
Subjects: ตะกอนชายฝั่ง
ตะกอนชายฝั่ง -- ไทย -- ประจวบคีรีขันธ์
ตะกอนชายฝั่ง -- ไทย -- กุยบุรี (ประจวบคีรีขันธ์)
ตะกอน (ธรณีวิทยา)
ตะกอน (ธรณีวิทยา) -- ไทย -- ประจวบคีรีขันธ์
ตะกอน (ธรณีวิทยา) -- ไทย -- กุยบุรี (ประจวบคีรีขันธ์)
ธรณีวิทยาโครงสร้าง
ธรณีวิทยาโครงสร้าง -- ไทย -- ประจวบคีรีขันธ์
ธรณีวิทยาโครงสร้าง -- ไทย -- กุยบุรี (ประจวบคีรีขันธ์)
Coastal sediments
Coastal sediments -- Thailand -- Prachuap Khiri Khan
Coastal sediments -- Thailand -- Kui Buri (Prachuap Khiri Khan)
Sediments (Geology)
Sediments (Geology) -- Thailand -- Prachuap Khiri Khan
Sediments (Geology) -- Thailand -- Kui Buri (Prachuap Khiri Khan)
Geology, Structural
Geology, Structural -- Thailand -- Prachuap Khiri Khan
Geology, Structural -- Thailand -- Kui Buri (Prachuap Khiri Khan)
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ตะกอนชายฝั่งที่ผิดปกติเกิดจากกระบวนการสะสมตัวที่ได้รับอิทธิพลจากพายุหรือช่วงเวลาที่ เกิดคลื่นลมแรงมากกว่าปกติ เมื่อมีคลื่นลมแรงจะเกิดคลื่นซัดล้นฝั่งข้ามสันทราย (beach ridge ) และกร่อนตะกอนจากสันทรายไปสะสมตัวอยู่บริเวณหลังสันทราย ซึ่งอาจสร้างความเสียหายต่อทรัพย์สิน หรือสิ่งก่อสร้างที่ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ชายฝั่งได้ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะโครงสร้าง และวิเคราะห์สมบัติทางกายภาพของตะกอนชายฝั่งที่ผิดปกติ บริเวณชายฝั่งบ้านเขาแดง อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จากการสำรวจและเก็บข้อมูลภาคสนาม ได้แก่ การวัดระดับความลาดชันของ ชายหาด การเก็บตัวอย่างตะกอนในแนวดิ่ง และตัวอย่างตะกอนพื้นผิว พบว่า พื้นที่ที่พบการสะสมตัว ของตะกอนชายฝั่งที่ผิดปกติมีธรณีสัณฐานเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของสันทราย มีการสะสมตัวของตะกอนในลักษณะผืนทราย (sand sheet) หลายชั้นในส่วนบน มีความหนาตั้งแต่ 50-70 เซนติเมตร ปิดทับโคลนทะเล (marine mud) ค่าการกระจายตัวของขนาดตะกอนชายฝั่งที่ผิดปกติใน พื้นที่ศึกษาประกอบด้วย ตะกอนทรายขนาดละเอียดถึงละเอียดมาก ( fine to very fine sand) เมื่อเข้าใกล้แผ่นดินขนาดตะกอนมีแนวโน้มเล็กลง พบลักษณะโครงสร้าง ได้แก่ โครงสร้างชั้นบาง (lamination) ที่มีการเรียงตัวของขนาดตะกอนในแนวดิ่งแบบผกผัน (reverse grading) ในช่วงต้นของการสะสมตัว ในขณะที่พบโครงสร้าง climbing ripple เมื่อมีการสะสมตัวไกลออกไป นอกจากนี้ ยังพบชั้นทรายขนาดปานกลางหลายชั้นที่มีการเรียงตัวของขนาดตะกอนในแนวดิ่งแบบปกติ (normal grading) ความหนาของชั้นที่พบโครงสร้างตะกอนตั้งแต่ 4-15 เซนติเมตร องค์ประกอบตะกอนส่วน ใหญ่เป็นแร่ควอตซ์และเศษเปลือกหอยในบางชั้น โครงสร้างที่พบบ่งบอกถึงการตกสะสมตัวจาก กระบวนการคลื่นซัดล้นฝั่ง ( overwash process ) ที่ได้รับอิทธิพลจากพายุ
Other Abstract: Unusual coastal deposit is the produce of overwash process during storm event or situation with high water. The flow commonly erodes sediment on beach ridge and transports sediment to deposit on top or behind beach ridge. This process can damage to asset and building around the coastal zone. The objectives of this study are to characterize sedimentary structures and to analyze physical properties of unusual coastal deposit. The study area is located at Ban Khaodang, Amphoe Kui Buri, Changwat Prachuap Khiri Khan. Field survey including; beach profiling, column sediment sampling and surface sediment sampling were carried out. As a result, unusual coastal deposit was found in swale locating in the west of modern beach ridge in form of sand sheet with multiple layers in upper part. Thickness of sand sheet ranges from 5 0 - 7 0 cm. Marine mud deposit was found underneath sand sheet. Grain size distribution of unusual coastal deposit consists of fine to very fine sand and tends to finer landward. Sedimentary structures including lamination with reverse grading in proximal part of deposit while distal part of deposit shows climbing ripple with reverse grading, a medium-bedded sand of multiple normal grading layers. The thickness of layers with sedimentary structure ranges from 4-15 cm. Unusual coastal sediment includes quartz and shell fragments in some layers. Those sedimentary structures define the deposition occurred by overwash process during storm.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2559
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53482
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Araya Tantiteerakul.pdf5.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.