Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53494
Title: ระบบรอยแตกของหมวดหินเขาขาด บริเวณตำบลหน้าพระลาน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี
Other Titles: Fracture system of the Khao Khad formation at Tambon Na Phra Lan, Amphoe Chaloem Phra Kiat, Changwat Saraburi
Authors: ธนพันธ์ ผาทอง
Email: ไม่มีข้อมูล
Advisors: พิษณุพงศ์ กาญจนพยนต์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: pitsanupong.k@hotmail.com
Subjects: ธรณีวิทยาโครงสร้าง
ธรณีวิทยาโครงสร้าง -- ไทย
ธรณีวิทยาโครงสร้าง -- ไทย -- สระบุรี
ธรณีวิทยาโครงสร้าง -- ไทย -- หมวดเขาขาด (สระบุรี)
Geology, Structural
Geology, Structural -- Thailand
Geology, Structural -- Thailand -- Saraburi
Geology, Structural -- Thailand -- Khao Khad Formation (Saraburi)
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: หมวดหินเขาขาดตั้งอยู่ในแนวชั้นหินคดโค้งและรอยเลื่อนย้อนมุมต่ำเขาขวาง ทาง ตอนกลางของประเทศไทย เป็นแนวของชั้นหินที่มีลักษณะทางธรณีวิทยาโครงสร้างที่วางตัวในแนว ตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นผลมาจากการชนกันของแผ่นเปลือกโลกไซบูมาสุกับ แผ่นเปลือกโลกอินไชน่าในยุคไทรแอสสิก-จูแรสสิก การศึกษานี้จะมุ่งเน้นไปทำการศึกษา ลักษณะเฉพาะและวิวัฒนาการทางธรณีวิทยาโครงสร้างของรอยแตกโดยส่วนใหญ่ประกอบด้วย หินปูน ยุคเพอร์เมียน มีสภาพแวดล้อมแบบลานตะกอนคาร์บอเนต จากการสำรวจภาคสนามและ การวิเคราะห์ธรณีวิทยาโครงสร้างระดับจุลภาคพบว่ามีรอยแตกทั้งหมด 4 ระบบคือ รอยแตกที่ ขนานกับชั้นหิน รอยแตกบริเวณเขตพับการคดโค้ง รอยแตกในแนวระดับ วางตัวในแนว ตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ และรอยแตกในแนวดิ่ง วางตัวในแนวเหนือ-ใต้และ ตะวันออก-ตะวันตก โดยรอยแตกที่ขนานกับชั้นหินเกิดขึ้นเป็นลำดับแรก รอยแตกบริเวณเขตพับ การคดโค้งเกิดขึ้นเป็นลำดับที่สอง รอยแตกในแนวดิ่งเกิดขึ้นเป็นลำดับที่สาม และรอยแตกในแนว ระดับเกิดขึ้นเป็นลำดับที่สี่ และระบบรอยแตกทั้ง 4 ระบบมีทิศทางการวางตัวที่สัมพันธ์กับรอย เลื่อนย้อนมุมต่ำและชั้นหินคดโค้ง จากลักษณะทางธรณีวิทยาโครงสร้างของรอยแตกและ วิวัฒนาการโครงสร้างระบบรอยแตกของหมวดหินเขาขาด บริเวณตำบลหน้าพระลาน อำเภอเฉลิม พระเกียรติ จังหวัดสระบุรีคาดว่าน่าจะมีความสัมพันธ์กับการเกิดแนวชั้นหินคดโค้งและรอยเลื่อน ย้อนมุมต่ำเขาขวางในยุคไทรแอสสิก-จูแรสสิกหรือการก่อเทือกเขาอินโดไชเนียน
Other Abstract: Khao Khad Formation is a part of Khao Khwang fold and thrust belt of central Thailand, which today structural trend approximately NW–SE by the collision of Sibumasu and Indochina terranes in Triassic-Jurassic. The study aims to find out the structural style and evolution of fracture system consists of Permian limestone in carbonate platform environment. Based on evidences in mesoscopic structure from field observation and microstructure of study area, fractures in the area consist of 4 systems: the NE-SW trending (1) Bed-parallel fracture, (2) Radial fracture, (3) Sub-horizontal fracture and the N-S, E-W trending (4) Vertical fracture and the orientation of fracture system relate to fold and thrust fault. Bed-parallel fracture occurs in the first place, second and third comes Radial fracture and Vertical fracture respectively, and the final is Sub-horizontal fracture. Structural style and evolution of fracture system of the Khao Khad Formation at Tambon Na Phra Lan, Amphoe Chaloem Phra Kiat, Changwat Saraburi relate to Khao Khwang fold and thrust belt or Indosinian orogeny in Triassic-Jurassic.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2557
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53494
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1412
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.1412
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5432717423_Thanaphan Phatong.pdf5.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.