Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53501
Title: การติดตามการเปลี่ยนแปลงธรณีสัณฐานและความสมดุลของตะกอนชายฝั่งบริเวณหาดเจ้าสำราญ จังหวัดเพชรบุรี
Other Titles: Monitoring beach morphological changes and coastal sediments balance in Chao Sam Ran beach , Changwat Phetchaburi
Authors: ชนกานต์ เกตุทอง
Advisors: มนตรี ชูวงษ์
สุเมธ พันธุวงค์ราช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: monkeng@hotmail.com
phantuwongraj.s@gmail.com
Subjects: ตะกอนชายฝั่ง
ตะกอนชายฝั่ง -- ไทย
ตะกอนชายฝั่ง -- ไทย -- เพชรบุรี
ตะกอนชายฝั่ง -- ไทย -- หากเจ้าสำราญ (เพชรบุรี)
ธรณีสัณฐานวิทยา
ธรณีสัณฐานวิทยา -- ไทย
ธรณีสัณฐานวิทยา -- ไทย -- เพชรบุรี
ธรณีสัณฐานวิทยา -- ไทย -- หากเจ้าสำราญ (เพชรบุรี)
การสำรวจทางธรณีวิทยา
การสำรวจทางธรณีวิทยา -- ไทย
การสำรวจทางธรณีวิทยา -- ไทย -- เพชรบุรี
การสำรวจทางธรณีวิทยา -- ไทย -- หากเจ้าสำราญ (เพชรบุรี)
Coastal sediments
Coastal sediments -- Thailand
Coastal sediments -- Thailand -- Phetchaburi
Coastal sediments -- Thailand -- Chao Samran Beach (Phetchaburi)
Geomorphology
Geomorphology -- Thailand
Geomorphology -- Thailand -- Phetchaburi
Geomorphology -- Thailand -- Chao Samran Beach (Phetchaburi)
Geological surveys
Geological surveys -- Thailand
Geological surveys -- Thailand -- Phetchaburi
Geological surveys -- Thailand -- Chao Samran Beach (Phetchaburi)
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: หาดเจ้าสำราญ จังหวัดเพชรบุรี ประสบกับปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอันนามาซึ่งผลกระทบทาง เศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ในปี พ.ศ. 2550-2552 กรมเจ้าท่าจึงได้ก่อสร้างเขื่อนกันคลื่น (Breakwater) ตลอดแนวชายฝั่งเพื่อแก้ปัญหาการกัดเซาะดังกล่าว อย่างไรก็ดี การสร้างโครงสร้างหนักลงใน ทะเลยังคงเป็นที่ถกเถียงกันว่าสามารถแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งได้จริงหรือไม่ การศึกษาครั้งนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงธรณีสัณฐานและความสมดุลของตะกอนชายฝั่งในระยะยาวและ ระยะสั้น โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 วิธี คือ การวิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียมและภาพถ่ายทางอากาศโดย การวัดอัตราการเคลื่อนที่ของเส้นแนวชายฝั่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2537 ถึง 2557 รวมระยะเวลา 20 ปี และการวัด ระดับชายหาด (Beach Profiling) 2 ช่วงเวลา คือ ต้นมรสุมและระหว่างฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ใน การศึกษาครั้งนี้ได้ศึกษาเพิ่มเติมอีกหนึ่งช่วงเวลาคือ หลังฤดูมรสุม และได้แบ่งพื้นที่ศึกษาเป็น 3 พื้นที่ย่อย ได้แก่ ตอนเหนือ ตอนกลางและตอนใต้ ผลการวิเคราะห์ภาพถ่ายทางอากาศและภาพถ่ายดาวเทียมก่อนสร้างเขื่อนกันคลื่น (ปี พ.ศ. 2537-2549) พบว่า เส้นแนวชายฝั่งทางตอนเหนือมีระยะทางเพิ่มขึ้นจากเส้นแนวชายฝั่งอ้างอิง (เส้นแนว ชายฝั่งปี พ.ศ.2537) ด้วยอัตรา 1.00 เมตรต่อปี ในขณะที่ทางตอนกลางเพิ่มขึ้น 1.28 เมตรต่อปี และทาง ตอนใต้ลดลง 0.71 เมตรต่อปี ระหว่างสร้าง (ปี พ.ศ. 2549-2553) พบว่า เส้นแนวชายฝั่งทางตอนเหนือ ตอนกลางและตอนใต้มีระยะทางเพิ่มขึ้นด้วยอัตรา 3.76, 2.10 และ 1.57 เมตรต่อปี ตามลำดับ และหลังสร้าง เขื่อนกันคลื่น (ปี พ.ศ. 2553-2557) เส้นแนวชายฝั่งทางตอนเหนือมีระยะทางลดลง 0.37 เมตรต่อปี ขณะที่ ตอนกลางและตอนใต้เพิ่มขึ้น 0.007 และ 1.45 เมตรต่อปี ตามลำดับ ผลการวัดระดับชายหาด พบว่า ระหว่างฤดูมรสุม ตะกอนนอกชายฝั่งจะถูกพัดพามาสะสมตัวใกล้ชายฝั่งและหลังฤดูมรสุม ระดับชายหาดทาง ตอนเหนือจะกลับเข้าสู่ระดับเดียวกับช่วงต้นฤดูมรสุม นอกจากนี้ ตะกอนบริเวณฐานของเขื่อนกันคลื่นจะถูก กัดเซาะ อาจทาให้เกิดกระแสย้อนกลับสู่ทะเล (Rip current)
Other Abstract: Chao Sam Ran beach, Phetchaburi is facing with coastal erosion problem leading to loss of local economy and some infrastructures. In 2007-2009, 15 breakwater seawalls were constructed along the coast to mitigate erosion problem. However, the construction of heavy structures into the sea remains controversial that whether or not it can be solved the erosion problem. This study aims to monitor long- and short-terms morphological changes and coastal sediments balance by two approaches. First, analysis in satellite images and aerial photos was carried out in order to monitor horizontal spatial changes by measurement of shoreline moving rates from year 1994 to 2014. This long-term monitoring for 20 years. Second, short-term beach profiling was set up to monitor sediments balance early and during Northeast monsoon. In this study, after-monsoon beach profile was collected and the study area was divided into 3 coastal sectors: north, middle and south. As a result, satellite image and aerial photos interpretation before breakwater construction (year 1994-2006) reveals that the distance of shorelines in the northern part has increased from the reference line (1994 shoreline) with the rates of 1.00 m/year; whereas in the middle part has increased 1.28 m/year and in the south part has decreased 0.71 m/year. During breakwater construction (year 2006-2010), the distance of shorelines in the northern, middle and southern parts has increased with the rates of 3.76, 2.10 and 1.57 m/year, respectively. After breakwater construction (year 2010-2014), shorelines in the northern part has decreased with the rates of 0.37 m/year, whereas in the middle and southern parts has increased with the rates of 0.007 and 1.45 m/year, respectively. Results of beach profiling during monsoon period showed that offshore sediments have transported into nearshore zone and after monsoon period, the beach in northern part was changed to the same as in early monsoon period. Furthermore, there is the scour of sediments at the breakwater base which rip currents may occur.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธรณีวิทยา . คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2559
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53501
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chanakan Ketthong.pdf4.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.