Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53565
Title: ศิลาวรรณนาและธรณีเคมีของหินเมฟิก-อัลตราเมฟิก บริเวณพื้นที่น่าน บริเวณพื้นที่น่านและอุตรดิตถ์
Other Titles: Petrography and geochemistry of mafic-ultramafic rocks in Nan and Uttaradit areas
Authors: ชุตินันท์ สิงห์โตทอง
Email: ไม่มีข้อมูล
Advisors: ฐาสิณีย์ เจริญฐิติรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: thasineec@gmail.com
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ตะเข็บธรณีน่านตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศไทยบริเวณจังหวัดน่านและอุตรดิตถ์ ซึ่งเป็นบริเวณที่มีความซับซ้อนทั้งทางด้านธรณีวิทยาและโครงสร้าง นอกจากนั้นยังพบแนวของหินเมฟิก-อัลตราเมฟิกแผ่กระจายในพื้นที่ดังกล่าว ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทางศิลาวรรณนา และธรณีเคมี รวมถึงวิเคราะห์ธรณีแปรสัณฐานในบริเวณพื้นที่ศึกษา จากการสารวจระยะทางไกลจากภาพถ่ายดาวเทียม พบโครงสร้างส่วนใหญ่วางตัวในแนวตะวันออกเฉียงเหนือ จากการสารวจภาคสนามและศิลาวรรณนา พบว่าหินกลุ่มอัลตราเมฟิกในพื้นที่ศึกษาประกอบด้วย หินเซอร์เพนทีนดันไนต์ หินเซอร์เพนทีนเวอไลต์ หินเซอร์เพนทีนฮารส์เบอร์ไกท์ หินโอลิวีนไคลโนไพรอกซีนไนท์ และหินเซอร์เพนทีนเพอริโดไทต์ที่ถูกแปรสภาพ ซึ่งส่วนใหญ่ถูกแปรเปลี่ยนเป็นแร่เซอร์เพนทีน ดังนั้นหินกลุ่มนี้จึงไม่เหมาะสาหรับการทาธรณีเคมี เพื่อวิเคราะห์ธรณีแปรสัณฐาน ส่วนหินกลุ่มเมฟิกประกอบด้วย หินแกบโบร หินโอลิวีนแกบโบร หินฮอร์นเบลนด์แกบโบร และหินบะซอลต์ ซึ่งหินกลุ่มนี้ถูกแปรเปลี่ยนน้อยกว่ากลุ่มอัลตราเมฟิก ดังนั้นหินกลุ่มนี้จึงมีเหมาะสมสาหรับการทาธรณีเคมี เพื่อที่จะวิเคราะห์ธรณีแปรสัณฐานต่อไป ผลการวิเคราะห์ธรณีเคมีของหินแกบโบรในพื้นที่ศึกษา บ่งชี้ว่าเกิดจากลาดับชุดแม็กมา (magma series) ประเภท tholeiitite และจากการวิเคราะห์ด้วย REE pattern plot พบว่าหินแกบโบร โดยเริ่มแรกนั้นเกิดขึ้นในบริเวณภาคพื้นมหาสมุทรซึ่งมีธรณีแปรสัณฐานเป็นแบบเทือกเขากลางสมุทร (N-MORB) โดยเป็นส่วนหนึ่งของชุดหินโอฟิโอไลต์ หลังจากนั้นเกิดการมุดตัวของแผ่นเปลือกโลกทาให้เกิดเป็นแนวหินพอกพูนซับซ้อน
Other Abstract: Nan suture is located in the northern part of Thailand, Nan and Uttaradit province. This area has complex geological features and structures. Moreover, it consists of the belt of mafic - ultramafic rocks. This study thus aims to establish petrography and geochemistry of mafic - ultramafic rocks and to understand tectonic settings of the area. Based on remote sensing surveys along with the previous studies, found that most of structures in the area are oriented in northeast-southwest trend. Field geological and petrographical investigation indicates that ultramafic rocks in this area consist of serpentine dunite, serpentine wehrlite, serpentine harzburgite, olivine clinopyroxenite and serpentine metamorphosed peridotite. Most of those rocks are highly altered into serpentine which are not appropriated for geochemistry analysis in order to interpret geotectonic setting. Moreover, mafic rocks consist of gabbro, olivine gabbro, hornblende gabbro and basalt which are good samples for geochemistry analysis in order interpret geotectonic setting. Geochemical results imply that these mafic plutonic rocks are basaltic composition that equivalent to gabbro, deriving from tholeiitic magma series. REE pattern plots display the N-MORB type magma of ocean floor basalts. They have been interpreted as parts of ophiolite suite of oceanic crust, then subduction occurred and the accretionary complex have been presented.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2557
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53565
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5432708823_ชุตินันท์ สิงห์โตทอง.pdf6.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.