Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53597
Title: ธรณีสัณฐานชายฝั่งทะเลโดยคลื่นซัดฝั่งช่วงฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ บริเวณอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา
Other Titles: Coastal geomorphology by extreme surge during southwest monsoon season in Amphoe Takua Pa, Changwat Phang Nga
Authors: ปานระวี พรหมวิจิต
Advisors: สุเมธ พันธุวงค์ราช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: phantuwongraj.s@gmail.com
Subjects: ธรณีสัณฐานวิทยาชายฝั่ง
ธรณีสัณฐาน -- ไทย -- พังงา
การเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง -- ไทย -- พังงา
Coastal geomorphology
Landforms -- Thailand -- Phang Nga
Coast changes -- Thailand -- Phang Nga
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เหตุการณ์คลื่นซัดถล่มชายฝั่งทะเลภาคใต้ฝั่งอันดามันเมื่อวันที่ 15-19 มิถุนายน พ.ศ.2557 บริเวณตั้งแต่จังหวัดระนองจนถึงจังหวัดกระบี่ อันเนื่องมาจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ กอปรกับนํ้าทะเลหนุนสูงในช่วงเวลานั้น ทำให้เกิดพายุฝนและคลื่นซัดฝั่งที่มีความรุนแรงเข้าปะทะตลอดแนวชายฝั่งส่งผลให้พื้นที่ชายฝั่งทะเลและสิ่งปลูกสร้างริมชายหาดตั้งแต่จังหวัดระนองจนถึงจังหวัดกระบี่ได้รับความเสียหายอย่างหนัก การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะธรณีสัณฐานที่เกิดจากคลื่นซัดฝั่งจากอิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้บริเวณชายฝั่งอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา การสำรวจและเก็บข้อมูลภาคสนามประกอบด้วย การวัดระดับชายหาด เพื่อศึกษารูปร่างของชายหาด และการเก็บตัวอย่างตะกอนเพื่อวิเคราะห์สมบัติทางกายภาพของตะกอน โดยจะนำมาวิเคราะห์ลักษณะตะกอนที่เกิดจากคลื่นซัดฝั่ง และหาความสัมพันธ์ของภูมิประเทศชายฝั่งทะเลกับลักษณะทางธรณีสัณฐานที่เกิดจากคลื่นซัดฝั่งในฤดูมรสุม ลักษณะธรณีสัณฐานที่เกิดจากคลื่นซัดฝั่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ลักษณะที่เกิดจากการกัดเซาะ และลักษณะที่เกิดจากการสะสมตัว โดยลักษณะธรณีสัณฐานที่พบคือ ชายหาดถูกกัดเซาะในแนวดิ่งและแนวราบ และตะกอนรูปพัดที่เกิดจากคลื่นซัดฝั่งตามลำดับ โดยชั้นสะสมตัวของตะกอนคลื่นซัดฝั่งมีความหนาตั้งแต่ 1-40 เซนติเมตรลักษณะตะกอนคลื่นซัดฝั่งมีขนาดตะกอนใหญ่ในช่วงของต้นของการสะสมตัว และจะมีขนาดเล็กลงในช่วงปลายของการสะสมตัว การคัดขนาดตะกอนจะมีการคัดขนาดที่ดีในช่วงปลายของการสะสมตัว และลักษณะโครงทางสร้างตะกอนที่เกิดจากคลื่นซัดฝั่งที่เด่นชัด ได้แก่ ชั้นบาง(lamination) การคัดขนาดแบบปกติ(normal grading) และการคัดขนาดแบบย้อนกลับ(reverse grading) องค์ประกอบตะกอนส่วนใหญ่เป็นชิ้นส่วนของปะการังและเปลือกหอยส่วนที่เหลือจะเป็นแร่หนักและแร่ควอตซ์
Other Abstract: The extreme surge event during the 15th -19th June 2014 at the coast of Southern Thailand from Ranong to Krabi was influenced by the strong wind during Southwest monsoon accompanied with high water level in spring tide period. As a result, sea water was penetrated inland and coastal sediments were eroded which causing the damage to building and infrastructure along the coastline. Coastal erosion also found along the beach from Ranong to Krabi. The objectives of this study are including; the coastal response morphology from extreme surges, sedimentary characteristics of washover deposits and controlling factor of coastal morphology change . The study area is located in Amphoe Thakua Pa, Changwat Phang Nga. Field study including; beach profiling and sediment sampling were performed aiming to analyze the horizontal and vertical beach topography and sedimentary characteristics of washover deposits, respectively. As a result of study, coastal response morphology from extreme surges can divided into two features; (1) erosional feature, represent by beach scarp and scour (2) depositional feature, represent by washover deposits. Thickness of washover deposits is ranging from 1-40 centimeter. Grain size distribution of washover deposits presented as fining in landward direction. Sorting show well sorted at the proximal part of washover fan as well. Dominant sedimentary structure are lamination, normal grading and reverse grading. Major composition of beach sediment after the extreme surge event is bioclast (shell fragments and coral); others are heavy mineral and quartz.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2557
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53597
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1424
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.1424
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5432720223_PANRAWEE_PROMVIJIT.pdf5.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.