Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53621
Title: คุณลักษณะทางคลื่นไหวสะเทือนของแก๊สไฮเดรตในฮิคุรางกิ ประเทศนิวซีแลนด์
Other Titles: Seismic Characteristics of Gas Hydrates at Hikurangi Margin, New Zealand
Authors: วฤธ สิริวิภาส
Advisors: ปิยะพงษ์ เชนร้าย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: piyaphong_c@hotmail.com
Subjects: ไฮเดรต
สารประกอบเชิงซ้อน
คลื่นไหวสะเทือน
การสำรวจด้วยวิธีคลื่นไหวสะเทือน -- นิวซีแลนด์
Hydrates
Complex compounds
Seismic waves
Seismic prospecting -- New Zealand
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ขอบทวีปฮิคุรางิ ประเทศนิวซีแลนด์ เป็นพื้นที่หนึ่งที่มีแก๊สไฮเดรตสะสมตัวอยู่มากของโลก โดยแก๊สไฮเดรตคือของแข็งผลึกที่ประกอบด้วยโมเลกุลของน้ำและแก๊สอื่น ๆ ซึ่งในปัจจุบันได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อย ๆ ในสถานะที่มีประสิทธิภาพในการเป็นพลังงานเชื้อเพลิงในอนาคตได้ โดยการผลิตเชื้อเพลิงจากแก๊สไฮเดรตเพื่อน้ำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันนั้นสามารถเป็นไปได้อย่างมากในไม่กี่ทศวรรษข้างหน้า ซึ่งการศึกษาคุณลักษณะของแก๊สไฮเดรตนี้จึงเป็นประโยชน์สำหรับพลังงานที่สามารถมาทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิลชนิดอื่น ๆ ที่กำลังจะหมดไปได้ แก๊สไฮเดรตสามารถเกิดได้ในสภาวะแวดล้อมที่เฉพาะเจาะจง จะพบได้ที่ที่มีอุณหภูมิต่ำและความดันสูง แตกต่างกันไปแต่ละพื้นที่ทั่วโลก แต่โดยส่วนใหญ่มักจะพบที่ทะเลลึก ใต้พื้นมหาสมุทร รวมถึงน้ำแข็งผิวดิน (permafrost) โดยการจะศึกษาหาแก๊สไฮเดรตได้ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้จากข้อมูลคลื่นไหวสะเทือน ซึ่งจะสะท้อนลักษณะของโครงสร้างทางธรณีวิทยาที่อยู่ใต้พื้นมหาสมุทรขึ้นมาได้ ได้นำข้อมูลคลื่นไหวสะเทือนของขอบทวีปฮิคุรางิ ในโครงงาน ที่แสดงลักษณะของ Bottom Simulating Reflections (BSRs) ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญที่บ่งชี้ถึงแก๊สไฮเดรตมาเป็นตัวบอกคุณลักษณะ วัตถุประสงค์เพื่อหาลักษณะการเกิด สภาวะแวดล้อมของระบบแก๊สไฮเดรตในพื้นที่ศึกษานี้ การปรากฏของแก๊สไฮเดรตนี้สัมพันธ์กับความเร็วคลื่นไหวสะเทือนที่เคลื่อนที่ผ่านลักษณะผิดปกติ (anomaly) และความลึกของ BSRs ซึ่งเป็นตัวบอกแก๊สไฮเดรตในการศึกษาครั้งนี้ และเป็นประโยชน์ในการค้นหาพื้นที่ทั้งแก๊สอิสระและแก๊สไฮเดรต รวมทั้งคลื่นไหวสะเทือนยังบอกลักษณะทางธรณีวิทยาใต้พื้นมหาสมุทร จากภาพคลื่นไหวสะเทือนที่มีคุณภาพสูง สามารถทำให้หาการกระจายตัวของแก๊สไฮเดรตในพื้นที่ศึกษา ซึ่งผลการศึกษาปรากฏทั้งแก๊สอิสระและแก๊สไฮเดรตอยู่อย่างหนาแน่น ขนานกับพื้นมหาสมุทร แก๊สเหล่านี้ถูกกักเก็บไว้ในหินกักเก็บที่มีประสิทธิภาพคือ หินทรายกระแสน้ำขุ่นยุคไมโอซีน นอกจากนี้จากการแปลความหมายข้อมูลคลื่นไหวสะเทือน ยังสามารถหาสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมในการเกิดแก๊สไฮเดรต ทั้งความดันและอุณหภูมิของขอบทวีปฮิคุรางิ
Other Abstract: Hikurangi Margin of New Zealand, is one of the areas where hydrates are found in relatively high concentration. Gas hydrate is an ice-like substance that contains low molecular weight gases in a lattice of water molecules. Nowadays, gas hydrates are significant material because they are increasingly being viewed as a potential future source of natural gas. How-ever, economic production of gas from hydrates is a realistic possibility within the next decade. Gas hydrates are stable at relatively low temperature and high pressure conditions. Thus, they are often widely appeared in permafrost and deep oceanic environments below seafloor around the world. Small amounts of free gas are often present below the gas-hydrate stability zone (GHSZ). The hydrate-to-free-gas contact has been indicated by high amplitude Bottom Simulating Reflection (BSR) which gives a strong acoustic impedance contrast, exists at the lower boundary of the region of gas hydrate stability. This project focused on a detail of hydrate seismic profiles analysis in terms of re-flection character by using BSRs to indicate the distribution of free gas, underlying BSRs. This study also informed that continuous-looking BSRs in seismic profiles are highly segmented in detail. Other influences for example change in reflection characteristics in sediments and amplitude blanking, which have not been investigated in detail, are also related with hy-drated sediments and potentially revealed more information about the nature of hydrate sediments and the amount of hydrate present.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2559
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53621
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Warit Sirivipas.pdf1.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.