Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/543
Title: การศึกษาแบบการเรียนศิลปะปฏิบัติของนิสิตระดับปริญญาบัณฑิตสาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Other Titles: A study of studio art learning styles of undergraduate students art education major Faculty of Education Chlalongkorn University
Authors: มนชัย พิทยวราภรณ์, 2518-
Advisors: อำไพ ตีรณสาร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Ampai.Ti@Chula.ac.th
Subjects: ศิลปปฏิบัติ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์--นิสิต
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแบบการเรียนศิลปะปฏิบัติของนิสิตปริญญาบัณฑิต สาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศึกษาเปรียบเทียบแบบการเรียนศิลปะปฏิบัติจำแนกตามภูมิหลัง ได้แก่ เพศ ระดับชั้นปี สายวิชาที่เข้ารับทำการศึกษา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การดำเนินการวิจัย เป็นการวิจัยแบบบรรยาย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามชนิดประเมินค่า 5 ช่วงคะแนน และสัมภาษณ์แบบกึงมีโครงสร้างชนิดตรวจสอบรายการเกี่ยวกับแบบการเรียนศิลปะปฏิบัติ 4 แบบ คือ ได้แก่ 1) แบบปฏิบัติเชิงกล 2) แบบปฏิบัติอย่างดั้งเดิม 3) แบบปฏิบัติด้วยปัญญา 4) แบบปฏิบัติตามสัญชาติญาณและอารมณ์ โดยครอบคลุมโครงสร้าง ดังนี้ บุคลิกภาพ ทัศนคติในการทำงาน กระบวนการทำงาน และผลงาน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มประชากรที่เป็นนิสิตระดับปริญญาบัณฑิต สาขาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2546 จำนวนทั้งสิ้น 142 คน วิเคราะห์ข้อมูลแบบการเรียนศิลปะปฏิบัติโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เปรียบเทียบแบบการเรียนจำแนกตามภูมิหลังเกี่ยวกับเพศ สายวิชาที่รับเข้าทำการศึกษาด้วยการทดสอบค่าที (t-test) ระดับชั้นปี และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทดสอบด้วยค่าเอฟ (F-test0 ผลการวิจัย พบว่า 1. จากแบบการเรียนศิลปะปฏิบัติทั้ง 4 แบบ นิสิตส่วนใหญ่มีลักษณะแบบการเรียนศิลปะปฏิบัติแบบเชิงกลมากที่สุด ([Mean] =3.72) รองลงมา ได้แก่ แบบการเรียนปฏิบัติด้วยปัญญา ([Mean] =3.67) และปฏิบัติตามสัญชาติญาณและอารมณ์ ([Mean] =3.60) ตามลำดับ ส่วนแบบการเรียนที่พบน้อยที่สุด คือ แบบปฏิบัติอย่างดั้งเดิม ([Mean] =3.58) 2. เมื่อเปรียบเทียบแบบการเรียนศิลปะปฏิบัติจำแนกตามภูมิหลังเกี่ยวกับ เพศ ระดับชั้นปี สายวิชาที่เข้ารับทำการศึกษา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ไม่มีความสัมพันธ์ตามแบบการเรียนศิลปะปฏิบัติที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05
Other Abstract: The purposes of this study were to study studio art learning styles of undergraduate students art education major Faculty of Education Chulalongkorn University and to compare studio art learning styles by using background such as sex, level, type of University entrance, and academic achievement. The methodology was descriptive research. The instruments were questionnaires with 5 rating scales and semi-structure checklist interview about 4 studio art learning styles as follow: 1) mechanical orientation 2) primitive orientation 3) intellectual orientation and 4) intuition-emotion orientation. The questionnaires covered the following issues: personnal, attitude in work, process of work, and product. The population of this study were undergraduated art education students major Faculty of Education Chulalongkorn University and collected data from 142 students who enrolled in the second semester of academic year 2003. The data were analysis by using percentage, mean, standard deviation. The studio art learning styles were compared by sex and type of University entrance with t-test, and level and academic achievement with F-test. The results showed that: 1. The most student had study studio art learning styles in mechanical orientation ([Mean] =3.72). The later had study studio art learning styles in intellectual orientation ([Mean] =3.67), intuition emotion orientation ([Mean] =3.60). The last had study studio art learning styles in primitive orientation ([Mean] =3.58). 2. Comparing learning styles by sex, level, type of University entrance, and academic achievement. There were no significant difference in learning style at .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ศิลปศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/543
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.1391
ISBN: 9741763522
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2004.1391
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Monchai.pdf2.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.