Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5450
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชวลิต นิตยะ-
dc.contributor.advisorสุปรีชา หิรัญโร-
dc.contributor.authorชาญณรงค์ สุทธิลักษณ์สกุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย (ภาคกลาง)-
dc.coverage.spatialกรุงเทพฯ-
dc.date.accessioned2008-01-14T11:57:37Z-
dc.date.available2008-01-14T11:57:37Z-
dc.date.issued2545-
dc.identifier.isbn9741721374-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5450-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545en
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการใช้พื้นที่ ในห้องชุดราคาประหยัด รวมถึง ปัญหาการใช้พื้นที่ และ ทัศนคติของผู้อยู่อาศัย ซึ่งมักเป็นที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้ปานกลางถึงรายได้น้อย เช่น นักศึกษา ผู้เริ่มครอบครัวใหม่ เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงและออกแบบ และเป็นข้อเสนอแนะ ในการออกแบบห้องพักและอาคารชุดพักอาศัย ต่อไป การศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการสัมภาษณ์ สังเกตการณ์ สเก็ตภาพและถ่ายภาพประกอบ เพื่อรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล หาแนวทางแก้ไข จากการศึกษา ผู้อยู่อาศัย พบว่า การพักอาศัยแบบเช่าช่วงพบมากที่สุด คือร้อยละ 58 และรองลงมาคือ การพักอาศัยแบบแบบการซื้อ มีจำนวนร้อยละ 34 ส่วนการพักอาศัยแบบสวัสดิการ มีจำนวนร้อยละ 5 ผู้พักอาศัยมัก อยู่อาศัยในช่วงระยะเวลา 2-3 ปี มีความสัมพันธ์ของการอยู่อาศัยแบบเพื่อนร่วมห้องร้อยละ 45.50 และมีความสัมพันธ์ของการอยู่อาศัยแบบครอบครัวร้อยละ 22.50 มีจำนวนผู้อยู่อาศัยในห้องพัก 2 คนมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 54.25 ลำดับรองลงมา คือมีจำนวนผู้อยู่อาศัยในห้องพัก 3 คนคิดเป็นร้อยละ 32.50 และมีจำนวนผู้อยู่อาศัยในห้องพัก 4 คนขึ้นไปคิดเป็นร้อยละ 13.25 จากการศึกษา การใช้พื้นที่ภายในห้องและการจัดผังภายในห้องแบบ A ขนาดพื้นที่ 32.00 ตารางเมตร พบว่า ผู้พักอาศัยมักจัดพื้นที่ส่วนอเนกประสงค์ ให้อยู่ส่วนหน้าถึงกลางของห้องพักเป็นพื้นที่ประมาณ 8.50 - 10.00 ตารางเมตร พื้นที่ส่วนนอนมักอยู่บริเวณส่วนกลาง ถึงส่วนหลังของห้องเป็นขนาดพื้นที่ประมาณ 7.00-8.50 ตารางเมตร มักใช้ส่วนระเบียงในการซักล้าง ตากเสื้อผ้าและประกอบอาหาร และพบว่าทางเดินภายในห้องคิดเป็นพื้นที่ประมาณ 5.50 - 7.50 ตารางเมตร มักมีการใช้อุปกรณ์เครื่องเรือนเป็นตัวแบ่งพื้นที่ให้เป็นสัดส่วน และจัดอุปกรณ์เครื่องเรือนให้ชิดผนัง ลักษณะของอุปกรณ์เครื่องเรือน ส่วนใหญ่เป็นแบบสำเร็จรูป สามารถพับเก็บ และง่ายในการขนย้าย จากการศึกษา พบว่า การอยู่อาศัยมีกิจกรรมหลายประเภท เนื่องจากพื้นที่มีอยู่อย่างจำกัด ผู้อยู่จึงต้องใช้พื้นที่แบบซ้อนทับกัน การศึกษาห้องชุดทั้งหมดพบเครื่องเรือนจำนวน 39 ชนิด โดยพบว่าที่นอนและตู้เสื้อผ้าเป็นเครื่องเรือนหลักที่ต้องมีทุกห้อง และ พบว่าผู้อยู่ที่เป็นเจ้าของห้องส่วนใหญ่มักใช้เครื่องเรือนแบบถาวร แต่ผู้อยู่อาศัยแบบเช่าช่วงมักใช้เครื่องเรือนแบบชั่วคราว และผู้อยู่อาศัยแบบครอบครัวจัดพื้นที่ส่วนนอนชิดติดกันและใช้พื้นที่ร่วมกันมากกว่าผู้อยู่อาศัยแบบเพื่อนร่วมห้อง การใช้พื้นที่ภายในห้องพัก มีลักษณะยืดหยุ่น พื้นที่เดียวกันมักใช้หลายกิจกรรม โดยมีพื้นที่ส่วนอเนกประสงค์เป็นพื้นที่ใช้งานหลัก ส่วนพื้นที่ระเบียง มักถูกดัดแปลงและเพิ่มอุปกรณ์ ให้เป็นส่วนซักล้าง ตากเสื้อผ้า และปรุงอาหาร ในการศึกษาครั้งนี้มี ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงผังของห้องพักได้แก่ การจัดบริเวณระเบียงให้มีราวตากเสื้อผ้า อ่างล้างจาน พื้นที่วางเตาแก๊ส และระบบระบายน้ำ บริเวณประตูทางเข้าห้องควรเปิดออกและอยู่ห่างจากผนัง 60 เซนติเมตร เพื่อให้สามารถวางตู้หรือชั้นได้ และมีพื้นที่ใช้สอยมากขึ้น กำหนดตำแหน่งปลั๊กไฟฟ้าและปลั๊กสายอากาศโทรทัศน์ไว้บริเวณผนังฝั่งประตูทางเข้า เนื่องจากผู้อยู่อาศัยส่วนใหญ่มักจัดตู้และชั้นวางโทรทัศน์ ไว้ฝั่งนี้ ซึ่งอยู่ตรงกันข้ามกับบริเวณส่วนนอนen
dc.description.abstractalternativeModestly cost flats are generally found in Bangkok, they are very popular to low income people. However, the limited space in such modest cost units has caused problems in terms of space utilization including the division of the available space for various functions. This research aims to study the problems in utilizing the space in the units, the patterns of unit planning, and the changes in the pattern of space utilization in the unit. The research provides data and recommendations for the benefit of future design of flats and condominiums. The study found that , 58% of the units have been sub-let and 34% are occupied by the original owners. Another five percent of the units go to those people who are accommodated in the units as part of the welfare benefits they are entitled to. The average length of accommodation is about two to three years. Regarding to the relationship of the people in a unit, 45.5% roommates, and 22.5% are families. Most of the units accommodate two people in each (54.25%), followed by those with three people (32.5%) and with four people (13.25%). As for space utilization in the units and the floor plan, the research reveals that out of the total functional area of 32 square meters, the space has been divided into parts for various uses as follows: a multi-purpose area in the front part and central part of the unit about 8.50-10.00 sq.m., a living area in the central and the back part of the unit about 7.00-8.50 sq.m., a laundry and kitchen area in the balcony area about 3.00 sq.m. and circulation area in the unit about 5.50-7.50 sq.m. It found that furniture is need to divide the space. Most furniture is set up against the wall, and knock-down type, which can be easily and conveniently packed up. The study of space utilization behavior reveals that the limited space has prompted modifications in people{174}s behavior in using the different areas. To maximize the use of space, they may change or add to the tools and equipment required. Sometimes a certain area may have to serve double purposes. In addition, some space may not fit the purpose. For example, the balcony may not have the eaves or much space to hang clothes to dry, or the water system may not reach the balcony. In this way, it is difficult to do laundry or hang dry clothes on the balcony. As a result, modifications have been made to the area with the purpose of making the particular area usable as needed and to make use of the space to the maximum.en
dc.format.extent3803799 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2002.336-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectห้องชุด -- ไทย -- กรุงเทพฯen
dc.subjectห้องชุด -- การใช้พื้นที่en
dc.titleการใช้พื้นที่ภายในห้องพัก ประเภทอาคารชุดราคาถูก : กรณีศึกษา โครงการสินธนาแมนชั่น (ถนนนวมินทร์), กรุงเทพมหานครen
dc.title.alternativeSpace utilization in the unit of modest cost flat : a case study of Sinthana Mansion, Nawamin, Bangkoken
dc.typeThesises
dc.degree.nameเคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineเคหการes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorChawalit.N@Chula.ac.th-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2002.336-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Channarong.pdf3.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.