Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/548
Title: การศึกษาระดับความสามารถด้านการวาดภาพของเด็กอายุ 10-12 ปี ตามเกณฑ์ของคล้าก
Other Titles: A study of drawing ability levels of children ages ten to twelve years old base on Clark criteria
Authors: ปัทมา วรรณสิน, 2521-
Advisors: สุลักษณ์ ศรีบุรี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: การวาดเขียน
ศิลปะกับเด็ก
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความสามารถด้านการวาดภาพของเด็กอายุ 10-12 ปี ตามเกณฑ์ของคล้าก (Clark, 1991) กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ เด็กที่มีอายุระหว่าง 10-12 ปี ที่กำลังศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบทดสอบระดับความสามารถด้านการวาดภาพของเด็ก CDAT (Clark's Drawing Abilities Test) 2) แบบประเมินค่ามาตรฐานตามเกณฑ์ของคล้าก 3) แบบสังเกตพฤติกรรมการแสดงออกขณะวาดภาพ 4) แบบสอบถามสถานสภาพ-ภูมิหลังของนักเรียน และความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมการวาดภาพ CDAT วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และค่าความถี่ ผลการวิจัยได้พบว่า 1) จากภาพวาด CDAT ทั้ง 4 หัวข้อ ได้พบว่า ระดับความสามารถในการวาดภาพบ้านมีคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด (ร้อยละ 57.6) รองลงมาคือระดับความสามารถในการวาดภาพแฟนตาซี/จินตนาการ ภาพกลุ่มคนในสนามเด็กเล่น และภาพคนวิ่ง/เดินด้วยความเร็ว (ร้อยละ 57.2, 51.0 และ 49.8) ตามลำดับ ทั้งนี้เมื่อแบ่งตามเกณฑ์ประเมินค่าภาพวาดทั้ง 4 หัวข้อ ได้พบว่าจากค่าเฉลี่ยของระดับความสามารถด้านการวาดภาพจัดอยู่ในระดับพอใช้ทั้งหมด 2) เมื่อพิจารณาจากรายการประเมินค่าตามคุณสมบัติที่กำหนดตามเกณฑ์มาตรฐานของ CDAT ได้พบว่าคะแนนเฉลี่ยสูงสุด คือ คุณสมบัติด้านเทคนิคในส่วนของทักษะการแก้ปัญหา (ร้อยละ 58.0) ส่วนคะแนนเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ คุณสมบัติด้านประสาทสัมผัสในส่วนของทักษะด้านระดับค่าน้ำหนักแสง-เงา (ร้อยละ 40.2) สรุปได้ว่าระดับความสามารถด้านการวาดภาพของทักษะทั้งหมดอยู่ในเกณฑ์ระดับพอใช้ 3) จากการสังเกตพฤติกรรมการแสดงออกขณะวาดภาพ ได้พบว่า เด็กส่วนใหญ่มีความคล่องแคล่วในการปฏิบัติกิจกรรม (ร้อยละ 66.9) และสามารถปฏิบัติกิจกรรมเสร็จทันเวลาที่กำหนด (ร้อยละ 79.9) มีการสนทนากันระหว่างปฏิบัติกิจกรรม (ร้อยละ 64.2) และเปรียบเทียบผลงานตนเองกับผู้อื่น (ร้อยละ 53.3) 4) จากแบบสอบถามสถานภาพ-ภูมิหลัง ได้พบว่าเด็กชอบกิจกรรมการวาดภาพระบายสีมากที่สุด (ร้อยละ 50) เด็กประเมินระดับความสามารถทางศิลปะของตนเองมากที่สุดอยู่ในระดับดี (ร้อยละ 43.3) ในส่วนความคิดเห็นของเด็กเกี่ยวกับกิจกรรมการวาดภาพ CDAT ได้พบว่า เด็กส่วนใหญ่ชอบวาดภาพหัวข้อ ภาพแฟนตาซี/จินตนาการมากที่สุด (ร้อยละ 50) โดยเด็กมีความคิดเห็นว่า ภาพกลุ่มคนในสนาม วาดยากมากที่สุด (ร้อยละ 36.6) เด็กต้องการให้มีการสอนวาด ภาพคน สัตว์ สิ่งมีชีวิต เพิ่มเติมมากที่สุด (ร้อยละ 43.3)
Other Abstract: The purpose of this research was to study the drawing ability levels of children ages 10-12 years based on Clark criteria. The sampling group included 30 children aged 10-12 years, studying in pratom suksa 5-6. The research instruments were 1) Clark's drawing ability test (CDAT) 2) a set of scoring criteria scale approaching by Clark criteria 3) the behavior observable drawing form 4) a set of questionnaires concerning state and background of children. The data were analyzed by means of arithmetics means, standard deviations, percentages, and frequencies. The research findings were: 1) According to the CDAT drawing, it was found that the means of the drawing ability level of house drawing was the highest (57.6 percent) and later the fantasy/imagination drawing (57.2 percent), the drawing of a group of people in playground (51 percent), and the drawing of running fast person (49.8 percent). According to the evaluation of CDAT drawings, the means of drawing ability was as the average level. 2) According to the consideration of the scoring criteria scale based on CDAT criteria, it was found that means of the technical characteristic of problem solving skill was the highest (58 percent). The least means score was the sensory characteristic of making tone and value skills (40.2 percent). In conclusion, all skills of drawing ability were as the average criteria level. 3) As observation of children's behavior drawing, it was found that the most children had ability to draw fluently (66.9 percent) and had ability to finish their drawing within time (79.9 percent). Most children had discussed during drawing (64.2 percent) and children compared their drawing with the others (53.3 percent). 4) According to the questionnaires concerning state and background of children, it was found that they liked drawing and painting most (50 percent). Most of children (43.3 percentages) evaluated their drawing ability as good level. The children's opinions of CDAT were as following; most children liked drawing a fantasy/imagination item (50 percent). The most difficult drawing was the drawing of a group of people in playground (36.6 percent). Children would like to have more drawing instruction of man, animal and creature (43.3 percent).
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ศิลปศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/548
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.311
ISBN: 9745319651
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2004.311
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pattama.pdf3.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.