Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54842
Title: | สารออกฤทธิ์จาก Bacillus subtilis N3 และ Pseudomonas aeruginosa RS1 ในการยับยั้งราก่อโรคในกล้วยไม้ |
Other Titles: | ACTIVE COMPOUNDS FROM Bacillus subtilis N3 AND Pseudomonas aeruginosa RS1 INHIBITING ORCHID-PATHOGENIC FUNGI |
Authors: | รพีวรรณ โสวรรณปรีชา |
Advisors: | ปาหนัน เริงสำราญ พลกฤษณ์ แสงวณิช |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | Panan.R@Chula.ac.th,pananr@yahoo.com,pananr@yahoo.com Polkit.S@Chula.ac.th,polkit@gmail.com |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีเป้าหมายเพื่อหาแบคทีเรียและผลิตภัณฑ์โปรตีนจากแบคทีเรียที่สามารถยับยั้งการเจริญของ Curvularia lunata และ Phytophthora palmivora ซึ่งเป็นราและราน้ำที่ก่อให้เกิดโรคในกล้วยไม้ ตามลำดับ งานวิจัยส่วนแรกศึกษาโดยใช้ Pseudomonas aeruginosa RS1 ซึ่งมีความสามารถในการยับยั้งการเจริญของ P. palmivora ซึ่งเป็นราน้ำที่ก่อให้เกิดโรคเน่าดำหรือโรคเน่าเข้าไส้ในกล้วยไม้ ผลการหาภาวะที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงแบคทีเรียเพื่อให้สร้างสารออกฤทธิ์ยับยั้ง P. palmivora พบว่า ให้ประสิทธิภาพดีที่สุดเมื่อเลี้ยงแบคทีเรียในอาหารเลี้ยงเชื้อเหลว LB pH7 ที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 21 ชั่วโมง การตกตะกอนโปรตีนจากน้ำเลี้ยงเชื้อส่วนใสด้วยแอมโมเนียมซัลเฟตที่ความเข้มข้นในช่วง 40-80% แล้วนำไปทำบริสุทธิ์โปรตีนด้วยวิธีคอลัมน์โครมาโทกราฟีบน DEAE Bio-gel A พบว่า โปรตีนในช่วงลำดับส่วนที่ 9-10 และ 33-34 มีเปอร์เซ็นต์การยับยั้งการเจริญของ P. palmivora เท่ากับ 75.00% และ 82.35% ตามลำดับ โดยเมื่อนำไปวิเคราะห์ต่อด้วยวิธี SDS-PAGE และวิเคราะห์ด้วย Q exactive plus hybrid quadrupole orbitrap mass spectrometry ที่ต่อกับ liquid chromatography พบว่าช่วงลำดับส่วนที่ 9-10 มีมวลโมเลกุลของโปรตีนหลายขนาด ได้แก่ 54 kDa, 32 kDa และ 20 kDa โดยโปรตีนเหล่านี้มีความคล้ายคลึงกับคะตะเลส, โปรตีเอส และโปรตีเอส IV ตามลำดับ โปรตีนที่อยู่ในช่วงลำดับส่วนที่ 33-34 มีมวลโมเลกุลของโปรตีนเท่ากับ 40 kDa, 32 kDa และ 29 kDa และมีความคล้ายคลึงกับโปรตีนซึ่งยึดเกาะไคติน, โปรตีเอส และโปรตีเอส ตามลำดับ เมื่อศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาภายใต้กล้องจุลทรรศน์ พบว่าโปรตีนบริสุทธิ์ส่งผลให้เส้นใยของ P. palmivora มีการเจริญผิดปกติ งานวิจัยอีกส่วนหนึ่งศึกษาโดยใช้ B. subtilis N3 ที่มีฤทธิ์ต้านการเจริญของ C. lunata ซึ่งเป็นราที่ก่อให้เกิดโรคดอกสนิมในกล้วยไม้ เมื่อเลี้ยงแบคทีเรียในภาวะที่ผลิตสารต้านราได้ดีที่สุด แล้วนำส่วนใสมาตกตะกอนด้วยแอมโมเนียมซัลเฟตที่ช่วงความเข้มข้น 40-80% แล้วทำบริสุทธิ์โปรตีนด้วยวิธีคอลัมน์โครมาโทกราฟีบน DEAE Bio-gel A พบว่า โปรตีนในช่วงลำดับส่วนที่ 51-60 มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของ C. lunata ได้ดีที่สุด เมื่อนำโปรตีนไปวิเคราะห์ด้วยด้วยวิธี SDS-PAGE และ ESI-Q-TOF MS/MS พบว่าโปรตีนกึ่งบริสุทธิ์มีมวลโมเลกุลเท่ากับ 39.88 kDa โปรตีนกึ่งบริสุทธิ์นี้มีความคล้ายคลึงกับโปรตีนคล้ายแฟลกเจลลินของ Bacillus subtilis สูงถึง 69% ของบริเวณที่ครอบคลุมลำดับของโปรตีน จากการศึกษาลำดับกรดอะมิโนที่คาดหมายจากลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีนแฟลกเจลลินของ B. subtilis N3 พบว่ามีความใกล้เคียงกับลำดับกรดอะมิโนของแฟลกเจลลินของ B. subtilis มากถึง100% เมื่อทดสอบความสามารถของ B. subtilis N3 ในการต้านการเจริญของราที่ก่อโรคในพืชบนอาหารเลี้ยงเชื้อ พบว่า B. subtilis N3 มีความสามารถในการยับยั้งราได้หลายชนิด เมื่อทดสอบความสามารถของน้ำเลี้ยงเชื้อส่วนใสจาก B. subtilis N3 กับต้นกล้วยไม้สกุลช้างกระและสกุลหวาย พบว่าน้ำเลี้ยงเชื้อส่วนใสจาก B. subtilis N3 สามารถป้องกันและรักษากล้วยไม้จากการเกิดโรคโดย P. palmivora ได้ดี แบคทีเรียและ/หรือโปรตีนที่ได้จากงานวิจัยนี้ มีสมบัติที่น่าจะสามารถนำไปพัฒนาเชิงพาณิชย์เพื่อใช้ในการเกษตรแบบยั่งยืนได้ต่อไป |
Other Abstract: | This research aims to obtain bacteria and their protein products that are able to inhibit the growth of Curvularia lunata and Phytophthora palmivora which are classified as true fungus and water mold that caused diseases in orchid, respectively. The first part of the research was studied using Pseudomonas aeruginosa RS1 which was able to inhibit the growth of the water mold P. palmivora that caused black rot diseases in orchid. The optimal conditions for this bacterium to produce bioactive compound against P. palmivora were to grow the mold in LB liquid media, pH7 at 37 degree Celsius for 21 hours. 40-80% saturation of ammonium sulfate precipitation of the protein from the supernatant, and further purification by DEAE Bio-gel A anion exchange column chromatography demonstrated that the proteins from fractions 9-10 and 33-34 had inhibition capability against the growth of P. palmivora at 75.00% and 82.35% inhibition, respectively. SDS-PAGE and liquid chromatography equipped with Q exactive plus hybrid quadrupole orbitrap mass spectrometry analyses revealed that the fractions 9-10 composed of proteins with different molecular weights of about 54 kDa, 32 kDa and 20 kDa with similarity to catalase, protease, and protease IV, respectively. The proteins in fractions 33-34 contained proteins of 40 kDa, 32 kDa and 29 kDa which were similar to chitin binding protein, protease, and protease, respectively. Morphological study under microscope showed that the purified protein resulted in abnormal growth characteristics of P. palmivora’s hyphae. Another part of the research was studied using B. subtilis N3 which was able to inhibit the growth of C. lunata that caused flower rusty spot diseases in orchid. When grew the bacteria at the optimal conditions for producing antifungal substance, followed by performed ammonium sulfate precipitation at 40-80% saturation, and purified by DEAE Bio-gel A column chromatography, it was found that proteins from fraction 51-60 retained antifungal activity against C. lunata. SDS-PAGE and ESI-Q-TOF MS/MS analyses revealed that the semi-purified protein obtained comprised of the protein with molecular weight of about 39.88 kDa. This protein illustrated the close similarity to flagellin-like protein of Bacillus subtilis at the coverage of 69%. Deduced amino acid sequence from the nucleotide sequence of flagellin gene of B. subtilis N3 showed high homology to the amino acid sequence of flagellin protein of B. subtilis up to 100%. In vitro testing on culture medium revealed that B. subtilis N3 were able to inhibit the growth of several phytopathogenic fungi. In vivo testing on orchid of the genus Rhynchostylis and Dendrobium using the culture filtrate from B. subtilis N3 revealed that the culture filtrate from B. subtilis N3 was able to prevent and protect both genus of orchids from diseases development caused by P. palmivora. Bacteria and/or proteins obtained from this research might appropriate for commercial development for using in sustainable agriculture. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | จุลชีววิทยา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54842 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.315 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.315 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5472845623.pdf | 6.63 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.