Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54852
Title: | GOVERNANCE MODEL DEVELOPMENT FOR HEALTH DATA STANDARD IN THAILAND: A CASE STUDY IN MEDICINES TERMINOLOGY |
Other Titles: | การพัฒนาต้นแบบการอภิบาลมาตรฐานข้อมูลสุขภาพในประเทศไทย กรณีศึกษาบัญชีข้อมูลยาและรหัสยามาตรฐาน |
Authors: | Ratsapan Phuksaritanon |
Advisors: | Anuchai Theeraroungchaisri Boonchai Kijsanayothin |
Other author: | Chulalongkorn University. Faculty of Pharmaceutical Sciences |
Advisor's Email: | Anuchai.T@Chula.ac.th,anuchai.t@pharm.chula.ac.th,anuchai.t@pharm.chula.ac.th kijs0001@gmail.com |
Issue Date: | 2016 |
Publisher: | Chulalongkorn University |
Abstract: | Thailand does not have a well-designed governance system for health data standard and coding system. In this study, the governance of medicine terminology was selected as a case study. There is no single responsible organization to govern drug code and medicines terminology and also no mechanism for cooperation among stakeholders to develop and maintain medicines terminology. This leads to difficulties of drug information exchange between health service units and drug utilization monitoring and evaluation at the national level. This study aims to study and develop the governance model for health data standard in Thailand by using the medicines terminology as a case study This study proposed a medicines terminology governance model for Thailand by applying a participatory research design concept for the research methodology. The methodology was divided into three main steps. 1) Review the experience of advanced countries focus on the governance of health data standards and medicines terminology. 2) Review the current situation of Thailand by using multi-techniques of qualitative research. 3) Develop the governance model for medicines terminology, consult with the stakeholders, and evaluate by the experts with heuristics evaluation technique. This research proposed the governance model in three main areas, such as foundations, processes, tools and services. For the foundations, Thailand should set up the clear policy and set up the explicit plan for developing and using medicines terminology according to the health information technology development policy. The main organization should be legally established to be responsible for the governance of medicines terminology. The collaborative structure which comprises all stakeholders should be set up as both formal and informal structures. The processes including development, implementation, and maintenance, organization, roles and responsibility of all stakeholders for all processes are proposed in each process detail. Tools and services to support the user adoption are also proposed as supportive tools, knowledge services, and public services. |
Other Abstract: | ในปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีระบบการอภิบาลมาตรฐานข้อมูลสุขภาพและบัญชีข้อมูลยาและรหัสยามาตรฐานที่ได้รับการออกแบบอย่างดี โดยในการศึกษานี้ได้ศึกษาระบบการอภิบาลบัญชีข้อมูลยาและรหัสยามาตรฐานเป็นกรณีศึกษา ในการอภิบาลบัญชีข้อมูลยาและรหัสยามาตรฐานพบว่ายังไม่มีหน่วยงานรับผิดชอบหลักที่เป็นหน่วยงานเพียงหน่วยงานเดียวที่ทำหน้าที่อภิบาลบัญชีข้อมูลยาและรหัสยามาตรฐานทั้งหมด รวมถึงยังขาดกลไกในการประสานงานระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาและดูแลบัญชีข้อมูลยาและรหัสยามาตรฐาน ซึ่งทำให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลยาระหว่างหน่วยบริการสุขภาพและการติดตามและประเมินผลการใช้ยาในระดับประเทศเป็นไปด้วยความยากลำบาก การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาตัวแบบอภิบาลมาตรฐานข้อมูลสุขภาพสำหรับประเทศไทยโดยใช้บัญชีข้อมูลยาและรหัสยามาตรฐานเป็นกรณีศึกษา การศึกษานี้นำเสนอตัวแบบการอภิบาลโดยประยุกต์หลักการการออกแบบอย่างมีส่วนร่วมของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยแบ่งขั้นตอนการวิจัยเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) ผู้วิจัยศึกษาระบบการอภิบาลมาตรฐานข้อมูลสุขภาพและมาตรฐานข้อมูลยาของประเทศที่มีความก้าวหน้าด้านเวชสารสนเทศ 2) ศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันของประเทศไทยในการอภิบาลบัญชีข้อมูลยาและรหัสยามาตรฐานโดยการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 3) พัฒนาตัวแบบการอภิบาลแล้วนำไปปรึกษาหารือกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จากนั้นนำตัวแบบอภิบาลไปให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินความสามารถในการใช้งานโดยใช้เทคนิคฮิวริสติกในการประเมิน ตัวแบบการอภิบาลบัญชีข้อมูลยาและรหัสยามาตรฐานนำเสนอใน 3 ด้าน ได้แก่ องค์ประกอบพื้นฐาน กระบวนการ และเครื่องมือและบริการ ในด้านองค์ประกอบพื้นฐานประเทศไทยควรกำหนดนโยบายและแผนที่ชัดเจนในการพัฒนาและการใช้บัญชีข้อมูลยาและรหัสยามาตรฐานให้สอดคล้องกับนโยบายในการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อสุขภาพ ควรมีการจัดตั้งหน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักในการอภิบาลบัญชีข้อมูลยาและรหัสยามาตรฐานโดยเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจทางกฎหมาย โครงสร้างการประสานงานประกอบด้วยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนโดยมีทั้งโครงสร้างความร่วมมือที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ กระบวนการซึ่งประกอบด้วยกระบวนการพัฒนา กระบวนการนำไปใช้ กระบวนการบำรุงรักษา พร้อมทั้งบทบาทของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในแต่ละกระบวนการ เครื่องมือและบริการสนับสนุนการใช้งานของผู้ใช้ได้นำเสนอทั้งเครื่องมือสนับสนุนการใช้งาน การบริการความรู้แก่ผู้ใช้ และการบริการสาธารณะอื่นๆ |
Description: | Thesis (Ph.D.)--Chulalongkorn University, 2016 |
Degree Name: | Doctor of Philosophy |
Degree Level: | Doctoral Degree |
Degree Discipline: | Social and Administrative Pharmacy |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54852 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1870 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.1870 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Pharm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5476552433.pdf | 4.01 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.