Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54858
Title: | รูปแบบการเรียนออนไลน์โดยการสะท้อนคิดร่วมกันด้วยกรณีศึกษาเพื่อส่งเสริมความตระหนักรู้การกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ตของนิสิตนักศึกษาครู |
Other Titles: | AN ONLINE COLLABORATIVE REFLECTION LEARNING MODEL WITH CASE STUDY TO ENHANCE CYBER BULLYING AWARENESS OF PRE-SERVICE TEACHERS |
Authors: | ปิยพจน์ ตัณฑะผลิน |
Advisors: | ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ เกียรติศักดิ์ พันธ์ลำเจียก |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Praweenya.S@Chula.ac.th,praweenya@gmail.com,praweenya@gmail.com punlumjeak@hotmail.com |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนออนไลน์โดยการสะท้อนคิดร่วมกันด้วยกรณีศึกษาเพื่อส่งเสริมความตระหนักรู้การกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ตของนิสิตนักศึกษาครูที่มีรูปแบบการระบุตัวตนในการเรียนแตกต่างกัน และเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปรที่มีผลต่อความตระหนักรู้การกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ตของนิสิตนักศึกษาครู ตัวอย่างการวิจัยคือนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2559 จำนวน 83 คน เครื่องมือที่ในการวิจัย ได้แก่ แบบสำรวจข้อมูลเบื้องต้น แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ บทเรียนออนไลน์ แบบประเมินความตระหนักรู้การกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ต คู่มือและแบบประเมินองค์ประกอบและขั้นตอนของรูปแบบ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สถิติ t-test และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยมีข้อค้นพบดังนี้ 1. รูปแบบการเรียนออนไลน์โดยการสะท้อนคิดร่วมกันด้วยกรณีศึกษาเพื่อส่งเสริมความตระหนักรู้การกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ตของนิสิตนักศึกษาครู ประกอบด้วยองค์ประกอบ 5 ด้าน คือ 1) ระบบการจัดการเนื้อหาสำหรับจัดกิจกรรมออนไลน์ 2) กรณีศึกษาเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ต 3) ผู้สอนและผู้ช่วยสอน 4) ทรัพยากรการเรียนรู้ และ 5) การประเมินความตระหนักรู้การกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ต ขั้นตอนการสะท้อนคิดร่วมกันด้วยกรณีศึกษา มีด้วยกัน 4 ขั้นตอนคือ 1) ทบทวนประสบการณ์และแสดงความรู้สึก 2) วิเคราะห์กรณีศึกษา 3) สรุปสิ่งที่ได้จากการศึกษา และ 4) เสนอแนวทางจัดการสถานการณ์ในอนาคต 2. ผลการใช้รูปแบบการเรียนออนไลน์โดยการสะท้อนคิดร่วมกันด้วยกรณีศึกษาพบว่า 1) ผู้เรียนมีทัศนคติต่อพฤติกรรมที่มีแนวโน้มเป็นการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ตหลังการทำกิจกรรมสูงกว่าก่อนทำกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลการเปรียบเทียบความตระหนักรู้การกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ตของนิสิตนักศึกษาครูที่ทำกิจกรรมสะท้อนคิดร่วมกันแบบเปิดเผยตัวตนและไม่เปิดเผยตัวตนพบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ผลการวิเคราะห์ลักษณะการแสดงความคิดเห็นของนักศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงความตระหนักสามารถจำแนกภาพรวมได้ 2 ลักษณะ และความคิดเห็นเกี่ยวกับความพร้อมเมื่อต้องไปเผชิญการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ตสามารถจำแนกภาพรวมได้ 4 ลักษณะ 3. ผลการศึกษาตัวแปรที่ส่งผลต่อความแตกต่างของความตระหนักรู้การกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ตของนิสิตนักศึกษาครูพบว่า 1) ผู้เรียนที่มีระดับการพบเจอพฤติกรรมที่มีแนวโน้มเป็นการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ตแตกต่างกันจะมีระดับทัศนคติต่อพฤติกรรมที่มีแนวโน้มเป็นการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ตทั้งก่อนและหลังทำกิจกรรมความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผู้เรียนที่มีระดับทัศนคติหลังทำกิจกรรมแตกต่างกันจะมีความเชื่อมั่นในตนเองต่อการรับมือการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
Other Abstract: | The purposes of this study were to develop and analyze the use of an online collaborative reflection learning model with case study to enhance cyber bullying awareness of pre-service teachers who have different anonymity in online learning. In addition, this study explores the differently variables on the different pre-service teachers' cyber bullying awareness in online collaborative reflection learning. The samples were 83 pre-service teachers who studies in faculty of education, Silpakorn University, second semester, the academic year 2016. Research Instruments were preliminary survey, interview form, an online course, cyber bullying awareness questionnaire, instructional manual, and model assessment form. Qualitative data were analyzed by descriptive statistics and t-test analysis. Quantitative data were analyzed using content analysis methods. The result of study: 1. An online collaborative reflection learning model with case study to enhance cyber bullying awareness of pre-service teachers consisted of 5 elements: 1) content management system for an online activity, 2) case study about cyber bullying, 3) instructor and supporter, 4) learning resources, and 5) cyber bullying awareness evaluation. This model had 4 main steps in collaborative reflection: 1) reflect experience and feeling, 2) analyze a case study, 3) review and summarize, and 4) purpose a dealing guide. 2. The result of model implementation found: 1) pre-service teachers’ cyber bullying attitude level after studied an online reflection learning model were significantly higher than before activity at .05 level 2) There was no difference in cyber bullying awareness between pre-service teachers who studied in different anonymity at .05 level. 4) The result of the analysis of students' opinions about the change of their awareness can be classified into two categories; the analysis of students' opinions about their readiness for dealing with cyber bullying can be classified into four categories. 3. The result of variables study found: 1) Pre-service teachers who had different past cyber bullying experiences had significantly different cyber bullying attitude level in both before and after online reflection activity at level at .05 level 2) Pre-service teachers who had different cyber bullying attitude level after online reflection activity had significantly different self-confidence in dealing with cyber bullying at .05 level. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54858 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.39 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.39 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5484225527.pdf | 6.02 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.