Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54861
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ปองสิน วิเศษศิริ | - |
dc.contributor.advisor | พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ | - |
dc.contributor.author | มีนมาส พรานป่า | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2017-10-30T04:20:22Z | - |
dc.date.available | 2017-10-30T04:20:22Z | - |
dc.date.issued | 2559 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54861 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดรูปแบบ 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ ของรูปแบบ และ 3) พัฒนารูปแบบ การบริหารหน่วยงานวิจัยเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถด้านการวิจัยของมหาวิทยาลัยเอกชน การวิจัยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน ประชากร คือ มหาวิทยาลัยเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย ผู้อำนวยการหรือหัวหน้าหน่วยงานวิจัย คณบดี และอาจารย์ประจำวิทยาลัย/คณะ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและสูตรคำนวณค่าความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดของรูปแบบการบริหารหน่วยงานวิจัย คือ กรอบรูปแบบการบริหารองค์กรของ Bush (2011) ประกอบด้วย 6 รูปแบบ คือ แบบทางการ แบบผู้ร่วมงาน แบบการเมือง แบบอัตวิสัย แบบกำกวม และแบบวัฒนธรรม โดยแต่ละรูปแบบมี 8 องค์ประกอบย่อย กรอบขีดความสามารถด้านการวิจัยของมหาวิทยาลัยเอกชน ประกอบด้วย ตัวบ่งชี้ที่ใช้ประเมินคุณภาพตามองค์ประกอบด้านการวิจัย จำนวน 4 ด้าน คือ (1) ด้านเงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ (2) ด้านงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ (3) ด้านงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์ และ (4) ด้านผลงานวิชาการที่ได้รับการรับรองคุณภาพ ส่วนกรอบการพัฒนารูปแบบการบริหารหน่วยงานวิจัย ประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ 5 ขั้นตอน 2) สภาพปัจจุบันของรูปแบบการบริหารหน่วยงานวิจัย พบว่าเป็นการบริหารในรูปแบบทางการ ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของรูปแบบการบริหารหน่วยงานวิจัย พบว่าเป็นการบริหารในรูปแบบผู้ร่วมงาน รองลงมาคือรูปแบบทางการ และ 3) รูปแบบการบริหารหน่วยงานวิจัยที่พัฒนาได้ คือ รูปแบบการบริหารหน่วยงานวิจัยแบบ ICFP หรือ รูปแบบการบริหารหน่วยงานวิจัยแบบบูรณาการระหว่างรูปแบบผู้ร่วมงาน แบบทางการ และแบบการเมือง [Integrated Collegial Formal and Political (ICFP) of Research Unit Management Model]” | - |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this research focused on 1) to study research framework of research unit management model, 2) to study the current and desirable states of the research unit management model, and 3) to develop a management model for research unit to enhance the research capacity of private universities. This research was conducted by using mixed methods approach. The populations were private universities under the Office of the Higher Education Commission. The vice president of the department of research affairs, the director or head of the research unit, the faculty dean and the lecturer were respondents. The research tools to collect data consisted of questionnaire and model evaluation form of feasibility and appropriateness. The data were analyzed by descriptive statistics and PNImodified formula that used to find the priority need index level. The research results revealed that 1) conceptual framework of research unit management model was Tony Bush’s six management models (2011) as Formal, Collegial, Political, Subjective, Ambiguity, and Cultural model by the way, in each model there are eight features used in the classification scheme; next, the conceptual framework of the research capacity of private universities was four elements and indicators on conducting and producing researches and related works at higher education institutions as (1) Funding derived from internal and external sources for research or creative works, (2) Publication or dissemination of research or creative works, (3) Implementation of research or creative works, and (4) Quality-accredited academic works; last, the conceptual framework for development of research unit management model consisted of five procedures. 2) The current state of research unit management model was Formal management model and the desirable state of research unit management model was Collegial and following by Formal management model. 3) The most appropriate research unit management model to enhance the research capacity of private universities was developed as “Integrated Collegial Formal and Political (ICFP) of Research Unit Management Model”. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.525 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.title | การพัฒนารูปแบบการบริหารหน่วยงานวิจัยเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถด้านการวิจัยของมหาวิทยาลัยเอกชน | - |
dc.title.alternative | THE DEVELOPMENT OF A RESEARCH UNIT MANAGEMENT MODEL TO ENHANCE THE RESEARCH CAPACITY OF PRIVATE UNIVERSITIES | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | - |
dc.degree.discipline | บริหารการศึกษา | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.email.advisor | Pongsin.V@Chula.ac.th,v.pongsin@gmail.com | - |
dc.email.advisor | Pruet.S@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2016.525 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5484471527.pdf | 6.76 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.