Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54891
Title: การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้การคิดเชิงออกแบบเป็นฐานเพื่อสร้างสรรค์ผลงานที่ปรากฏอัตลักษณ์ไทยสำหรับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต
Other Titles: DEVELOPMENT OF AN INSTRUCTIONAL MODEL USING DESIGN THINKING TO CREATE THAI PRODUCTS IDENTITY FOR UNDERGRADUATE STUDENTS
Authors: ภุชงค์ โรจน์แสงรัตน์
Advisors: ปุณณรัตน์ พิชญไพบูลย์
ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Poonarat.P@Chula.ac.th,ppoonarat@gmail.com,ppoonara@chula.ac.th
Praweenya.S@Chula.ac.th,praweenya@gmail.com
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านสอนออกแบบและนักออกแบบที่มีต่อปัจจัยการออกแบบสร้างสรรค์อัตลักษณ์ไทย 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้การคิดเชิงออกแบบเป็นฐาน 3) เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการสอน งานวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านสอนออกแบบและนักออกแบบจำนวน 10 ท่าน ระยะที่ 2 เป็นการพัฒนารูปแบบการสอน และระยะที่ 3 ศึกษาผลของการใช้รูปแบบการสอน ตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยคือ นักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต สาขาออกแบบ ชั้นปีที่ 2 จำนวน 36 คน เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย รูปแบบการสอน แบบประเมินผลงานผู้เรียน แบบสอบถามความคิดเห็น ดำเนินการทดลองตามแบบแผนการทดลองกลุ่มเดียวสอบก่อนสอบหลัง (One group pretest – posttest design) โดยทดลองใช้รูปแบบด้วยแบบฝึกหัดที่แตกต่างกัน ได้แก่ หนุมาน ทศกัณฐ์ และครุฑยุดนาค นำคะแนนผลงานของผู้เรียนทั้งหมดมาเปรียบเทียบด้วย t-test ผลการวิจัยสรุปได้ว่า หลักการของรูปแบบการสอนโดยใช้การคิดเชิงออกแบบเป็นฐานเพื่อสร้างสรรค์ผลงานที่ปรากฏอัตลักษณ์ไทย ประกอบด้วย 1) การสร้างประสบการณ์เกี่ยวกับอัตลักษณ์ไทย 2) การวิเคราะห์รูปทรงนัยยะไทย 3) การสังเคราะห์และออกแบบ และองค์ประกอบของรูปแบบการสอนได้แก่ 1) โจทย์ในงานออกแบบ 2) เนื้อหา 3) ผู้สอน 4) ผู้เรียน 5) สื่อการสอน 6) กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 7) การประเมินผล ผลการใช้รูปแบบการสอนพบว่า คะแนนผลงานออกแบบที่ปรากฏอัตลักษณ์ไทยหลังเรียนสูงขึ้นกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยยะสำคัญที่ระดับ .05 ข้อเสนอแนะการทำวิจัยในครั้งต่อไป คือ การศึกษาผลงานออกแบบอัตลักษณ์ไทยในบริบทอื่นนอกเหนือจากผลงานสร้างสรรค์ เช่นการศึกษาผลงานออกแบบด้านสุนทรียศาสตร์
Other Abstract: The purposes of this research were to develop and to explore the effectiveness of an instructional model by using design thinking theory approach to create Thai products identity of undergraduate students. The research consisted of three phases as follows: 1) To study the opinions of instructors and designers. 2) To develop an instructional model. 3) To study the effectiveness of the model with a sample group. The samples were 36 undergraduate students 2nd years studied in product design class. Research tools consisted of 3 weeks lesson plan, mind mapping, metric analysis of Thai identity, scoring rubrics and questionnaire. The data were analyzed by using means, standard deviation, and paired sample t-test. The research results as follow: 1. The instructional model using design thinking to create Thai products identity for undergraduate students has three principles: (1) Creating an experience of Thai identity, (2) Thai significant forms analysis (3) Synthetic and design Thai identity products. Instructional model consisted of seven components: 1) the design problem solving 2) contents of Thai identity 3) the instructors 4) the learners 5) the instructional medias 6) the collaborative activities and 7) the evaluations. 2. The student scores of the posttest had significant higher than the pretest scores at a level of .05. It was clearly show that the instructional model was effective. The research suggestion was the further study of aesthetic in Thai identity product design.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ศิลปศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54891
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1118
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.1118
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5584253127.pdf9.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.