Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54916
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจิตรา รู้กิจการพานิช-
dc.contributor.authorวิศรุต พลหงษ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-10-30T04:21:00Z-
dc.date.available2017-10-30T04:21:00Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54916-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559-
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการบำรุงรักษาปั๊มประเภทหอยโข่งและประเภทสกรูในอุตสาหกรรมผลิตเยื่อกระดาษ โดยได้นำหลักการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์มาประยุกต์ใช้ จากการศึกษาปัญหาพบการขัดข้องของปั๊มรวม 55 ครั้ง รวมเป็น 61.81 ชั่วโมง ในระยะเวลา 6 เดือน ซึ่งส่งผลกระทบต่อกระบวนการผลิต ดังนั้นในงานวิจัยนี้จึงได้นำการวัดค่าความสั่นสะเทือนและการวิเคราะห์คุณภาพของสารหล่อลื่นในลูกปืนของปั๊มเพื่อนำมาพยากรณ์หาระยะเวลาที่เหมาะสมในการตรวจเช็ค โดยมีขั้นตอนในการดำเนินงานดังนี้ 1) จัดกลุ่มของปั๊มเพื่อให้ง่ายต่อการวิเคราะห์ด้วยปัจจัย 3 ตัว ได้แก่ ระดับความสำคัญ อายุการใช้งาน และภาระงาน 2) ทำการวัดค่าความสั่นสะเทือนของลูกปืนและสารหล่อลื่นตามระยะเวลาที่กำหนด แล้วสังเกตการเปลี่ยนแปลงของค่าความสั่นสะเทือนและค่าคุณภาพของสารหล่อลื่นเพื่อพยากรณ์หาระยะเวลาที่เหมาะสมในการตรวจเช็คปั๊ม 3) นำระยะเวลาที่เหมาะสมที่พยากรณ์ได้มาผนวกเข้ากับแผนการปรับปรุงการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน 4) จัดทำต้นไม้แห่งความล้มเหลว ซึ่งเป็นการวินิจฉัยความผิดปกติของปั๊มพร้อมกับแสดงแนวทางแก้ไข เพื่อสนับสนุนแผนการบำรุงรักษาที่ได้จัดทำขึ้น 5) ดำเนินการกิจกรรมของการบำรุงรักษาต่างๆตามแผนและทำการประเมินผล ผลการดำเนินงานพบว่าจำนวนครั้งและจำนวนชั่วโมงที่เกิดการขัดข้องลดลงเหลือ 15 ครั้ง คิดเป็น 9.30 ชั่วโมง ในระยะเวลา 6 เดือน ส่วนค่า MTBF ของหน่วยการผลิตมีค่าเพิ่มขึ้นสูงสุด 797.30 ชั่วโมง และค่า MTTR ของหน่วยการผลิตมีค่าลดลงสูงสุด 12.02นาที-
dc.description.abstractalternativeThe objective of this study was to develop a maintenance system for centrifugal and screw pumps in pulp industry by using of the predictive maintenance principle. From studying problems, it was found that the failures of pump were high to 55 times or 61.81 hours in 6 months. These failures affected to pulp production. Therefore, this research was interested in a measurement of bearing vibration and an analysis of bearing lubricant to forecast the right time for pump checking. The procedures were as follows 1) grouping the pumps by the three factors; priority, lifetime and workload of pumps. 2) data collecting periodically by measuring the vibration and quality of lubrication of bearings and after that observing the changes of these collected data to forecast the recommended periods of time for pump checking. 3) leading the recommended time to improve the preventive maintenance plan. 4) Analyzing of pump failures using Fault Tree Analysis (FTA) to support the maintenance plan. 5) Implementing the maintenance activities and maintenance plan, and evaluating the research. The results showed that the number of pump failure decreased to 15 times or 9.30 hours. The MTBF increased to a maximum up to 797.30 hours and MTTR reduced to a minimum up to 12.02 minutes.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1068-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleการพัฒนาระบบการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์สำหรับปั๊มประเภทหอยโข่งและสกรูในอุตสาหกรรมผลิตเยื่อกระดาษ-
dc.title.alternativeDEVELOPMENT OF PREDICTIVE MAINTENANCE SYSTEM FOR CENTRIFUGAL AND SCREW PUMPS IN PULP INDUSTRY-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineวิศวกรรมอุตสาหการ-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorJittra.R@Chula.ac.th,Jittra.R@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.1068-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5670961521.pdf9.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.