Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54949
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปรมินท์ จารุวร-
dc.contributor.authorนิชานันท์ นันทศิริศรณ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-10-30T04:21:33Z-
dc.date.available2017-10-30T04:21:33Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54949-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559-
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษานวนิยายและเรื่องสั้นของแดนอรัญ แสงทองในเชิงคติชนวิทยา ทั้งในด้านเรื่องเล่าที่นำมาใช้สร้างสรรค์งานเขียน และวิธีการถ่ายทอดเรื่องเล่าดังกล่าว ซึ่งจะแสดงให้เห็นได้ว่าแดนอรัญ แสงทองเป็นนักเขียนที่เทียบเคียงได้กับนักเล่านิทานในวัฒนธรรมมุขปาฐะ ผลการศึกษาพบว่า แดนอรัญ แสงทองมีคลังเรื่องเล่า (repertoire) ขนาดใหญ่และสามารถนำเรื่องเล่าที่สะสมไว้มาเล่าในสำนวนของตนได้อย่างน่าสนใจ เรื่องเล่าที่แดนอรัญสะสมไว้มักเป็นเรื่องเล่าที่รับรู้ในสังคมไทยและมีเนื้อหาเกี่ยวกับความเชื่อเรื่องสิ่งเหนือธรรมชาติ พุทธศาสนา และบุคคลในประวัติศาสตร์ ตามลำดับ การที่แดนอรัญได้เลือกทั้งอนุภาค (motif) และแบบเรื่อง (tale type) จากคลังเรื่องเล่าของตนมาสร้างสรรค์เป็นงานเขียน ทำให้เทียบเคียงได้กับการที่นักเล่านิทานเลือกเรื่องเล่าจากคลังนิทานที่สะสมไว้มาเล่าเป็นนิทานในสำนวนของตน งานเขียนของแดนอรัญมักประกอบด้วยเรื่องเล่าหลักและเรื่องเล่าย่อยในทำนองนิทานแทรกนิทาน (tales in tales) มีสูตร (formula) และการซ้ำ (repetition) ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของวรรณกรรมมุขปาฐะดังที่ Albert B. Lord ศึกษา มีวิธีการถ่ายทอดเรื่องเล่าที่สอดคล้องกับกฎดึกดำบรรพ์ของนิทาน (Epic of Folk Narrative) ของ Axel Olrik อีกทั้งสามารถเทียบเคียงได้กับวิธีเล่านิทานของนักเล่านิทานในหลายประการ ได้แก่ การผสมผสานเทคนิคการเล่าเรื่องทั้งวิธีการแบบลายลักษณ์และมุขปาฐะไว้ในย่อหน้าขนาดยาวเพื่อเลียนลีลาการเล่าเรื่องของนักเล่านิทาน การซ้ำจำนวน 3 ครั้ง ซึ่งสอดคล้องกับลักษณะของนิทานตามกฎดึกดำบรรพ์ดังกล่าว การร้อยเรียงเรื่องเล่าย่อยทั้งที่มีโครงเรื่องคล้ายกันและตรงข้ามกัน การเปิดเรื่องเพื่อสร้างความสมจริงให้แก่การเล่าเรื่องของตัวละคร รวมถึงการแทรกชุดข้อมูลที่สัมพันธ์กันเพื่อสร้างสีสันให้แก่งานเขียน การใช้ลีลาภาษาเฉพาะตัวเพื่อสนทนากับผู้อ่านซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญของนักเล่านิทานที่จะต้องปฏิสัมพันธ์กับผู้ฟัง ในงานเขียนบางเรื่องยังปรากฏการเล่าเรื่องด้วยสำเนียงท้องถิ่นเพื่อเลียนลีลาการเล่าเรื่องแบบมุขปาฐะอีกด้วย งานเขียนของแดนอรัญจึงแสดงให้เห็นการผสมผสานความเป็นตะวันออกและตะวันตกไว้ด้วยกันอย่างกลมกลืนผ่านเรื่องเล่าและวิธีการเล่าเรื่องดังกล่าว งานวิจัยนี้ จึงเป็นการศึกษาวรรณกรรมร่วมสมัยด้วยมุมมองทางคติชนวิทยาโดยเน้นให้เห็นมิติของวรรณกรรมมุขปาฐะที่นำมาใช้ในการสร้างสรรค์วรรณกรรมลายลักษณ์ ทำให้เห็นคุณค่าของเรื่องเล่าที่เป็นที่รับรู้ในสังคมไทยที่ดำรงอยู่และมีบทบาทในบริบทใหม่ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาคติชนกับวรรณกรรมไทย-
dc.description.abstractalternativeThis thesis aims to study Daen-aran Saengthong’s novels and short stories by using folkloristic approahces. The study investigates the author’s stories and storytelling style, to show that Daen-aran Saengthong is a writer whose traits comparable to a storyteller in an oral tradition. The result of the study shows that Daen-aran Saengthong has a large story repertoire and retells them as his own version in an interesting manner. The content of the stories in his repertoire are mostly about supernatural power, Buddhism, and historical person. He also uses motif and tale type from his repertoire in the same way that storytellers use to tell their version of stories. Daen-aran Saengthong’s works usually have main story and sub story which are similar to tales in tales. Also his works use formula and repetition which are distinct features of oral composition in oral literature studied by Albert B. Lord. He uses many techniques of storytelling that conform to Epic of Folk Narrative which are comparable to those of traditional storytellers–i.e. narrating the story by integrating between oral and written style in a single paragraph without division into chapters or episodes, using the Rule of Three, and telling the story through the perspective of the main characters. He also elaborates his works by using sub stories and details to make the stories more colorful, using a unique writing style to communicate with the reader that is crucial for interaction between a storyteller and the listener. Moreover, some of his works use local dialect to make them more alike to the actual oral storytelling. Therefore his works show the harmonious hybridity of Eastern and Western stories and storytelling styles. In conclude, this study investigates Thai contemporary literary works by the approaches of folklore study to reveal the features of oral literature in written literature. This study also finds the value and function of traditional narrative in Thai contemporary society which could contribute to the study Folklore and Thai literature.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.692-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleแดนอรัญ แสงทอง ในฐานะนักเล่านิทาน-
dc.title.alternativeDAEN-ARAN SAENGTHONG AS A STORYTELLER-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineภาษาไทย-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorPoramin.J@Chula.ac.th,poramin_jaruworn@yahoo.com-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.692-
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5680124222.pdf3.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.