Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54983
Title: | สิ่งจูงใจเชิงอัตนิยม สิ่งจูงใจเชิงปรัตถนิยม และสิ่งจูงใจเชิงกลุ่มนิยมในการบอกต่อออนไลน์ของผู้บริโภคกลุ่มดิจิทัลเนทีฟไทย |
Other Titles: | EGOISTIC, ALTRUISTIC AND COLLECTIVE MOTIVES OF THAI DIGITAL-NATIVE CONSUMERS TO GENERATE ELECTRONIC WORD-OF-MOUTH |
Authors: | กฤษดา นวลมี |
Advisors: | ธาตรี ใต้ฟ้าพูล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | Tatri.T@Chula.ac.th,tatri13@gmail.com |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ของสิ่งจูงใจเชิงอัตนิยม ปรัตถนิยม และกลุ่มนิยมในการบอกต่อออนไลน์ กับตัวแปรในทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนของ Icek Ajzen ได้แก่ เจตคติที่มีต่อการบอกต่อออนไลน์ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และการรับรู้ความสามารถของตนเองในการบอกต่อออนไลน์ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรข้างต้นกับความตั้งใจในการบอกต่อออนไลน์ ระดับความเข้มข้นของช่องทาง และระดับความเข้มข้นของรูปแบบในการบอกต่อออนไลน์ และ 3) สร้างโมเดลทำนายความตั้งใจในการบอกต่อออนไลน์ของผู้บริโภคกลุ่มดิจิทัลเนทีฟไทย กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงชายอายุ 18-25 ปี จำนวน 410 คน ในกรุงเทพฯและปริมณฑล เครื่องมือที่ใช้คือแบบประเมินตัวแปรต่างๆ (alpha=.779-.898) ที่พัฒนาขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรมและข้อมูลที่ได้ในการสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์สหสัมพันธ์และการวิเคราะห์ถดถอยพหุ ผลการศึกษาพบว่า ตัวแปรทั้งหมด คือ สิ่งจูงใจเชิงอัตนิยม สิ่งจูงใจเชิงปรัตถนิยม สิ่งจูงใจเชิงกลุ่มนิยม เจตคติที่มีต่อการบอกต่อออนไลน์ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และการรับรู้ความสามารถในการบอกต่อออนไลน์ของตนเอง มีความสัมพันธ์ต่อกันและสัมพันธ์กับความตั้งใจในการบอกต่อออนไลน์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) โดยทุกตัวแปรร่วมกันอธิบายความตั้งใจในการบอกต่อออนไลน์ได้ร้อยละ 60.6 (F(6, 409)=104.791,p<.001) อธิบายความเข้มข้นของรูปแบบในการบอกต่อออนไลน์ได้ร้อยละ 86.2 (F(6, 409)=418.064,p<.001) แต่มีเฉพาะตัวแปรสิ่งจูงใจ 3 ตัวเท่านั้น ที่สามารถอธิบายความเข้มข้นของช่องทางในการบอกต่อออนไลน์ได้ร้อยละ 40.5 (F(3, 409) = 92.011,p<.001) งานวิจัยนี้ แสดงให้เห็นว่าสิ่งจูงใจที่มีอิทธิพลมากที่สุดต่อความตั้งใจในการบอกต่อออนไลน์ของผู้บริโภคกลุ่มดิจิทัลเนทีฟไทย ได้แก่ สิ่งจูงใจเชิงอัตนิยม (ᵦ=0.193,p<.001) ซึ่งต่างจากงานวิจัยในผู้บริโภคส่วนใหญ่ ที่รายงานว่าสิ่งจูงใจที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการบอกต่อออนไลน์มากที่สุด คือ สิ่งจูงใจเชิงปรัตถนิยม |
Other Abstract: | The purposes of this research were 1) to investigate the relationships among motives (egoistic, altruistic, and collective motives) in generating electronic word-of-mouth (eWOM) and variables from Ajzen’s Theory of Planned Behavior (attitudes, subjective norms, and perceived self-efficacy) of Thai digital-native consumers. 2) To study the associations of those mentioned variables with eWOM intention, eWOM platform valence, and eWOM pattern valence. 3) To establish a model explaining the intention to generate eWOM of Thai digital-native consumers. Participants were 410 males and females, aged 18-25 years, living in Bangkok and its vicinity. The research instruments were questionnaires (alpha=.779-.898) developed from literature research and qualitative study by focus group and in-depth interview. Data was analyzed by correlation and multiple regression. Results showed that all the study variables significantly correlated with each other and correlated to eWOM intention (p<.001). All variables significantly explained 60.6 percent variance of eWOM intention (F(6, 409)=104.791,p<.001) and 86.2 percent variance of eWOM pattern valence (F(6, 409)=418.064, p<.001). However, only 3 motives could significantly explain 40.5 percent variance of eWOM platform valence (F(3, 409)=92.011,p<.001). Research finding clearly suggests that the egoistic motives (ᵦ=0.193,p<.001) are the most influential motives to generate eWOM among Thai digital-native consumers which contradicts with results reported of the altruistic motives among non-specific age group studies. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | นิเทศศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54983 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.407 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.407 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5685101728.pdf | 8.9 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.