Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54992
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ชยันติ ไกรกาญจน์ | - |
dc.contributor.author | สัณฐิติ ธนสถิรชัย | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2017-10-30T04:22:29Z | - |
dc.date.available | 2017-10-30T04:22:29Z | - |
dc.date.issued | 2559 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54992 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 | - |
dc.description.abstract | การให้บริการเกมออนไลน์ในประเทศไทยเป็นธุรกิจที่มีมูลค่าสูงเป็นอย่างมาก แต่ในประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายเพื่อปรับใช้กับเกมออนไลน์โดยเฉพาะ จึงเกิดปัญหากฎหมาย การเกิดสัญญาเกมออนไลน์ สถานะและสิทธิความเป็นเจ้าของทรัพย์สินเสมือน การใช้ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม และความรับผิดของบุคคลฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเกมออนไลน์ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงศึกษาวิเคราะห์เพื่อหามาตรการทางกฎหมายที่จะนำมาปรับใช้กับการให้บริการเกมออนไลน์ โดยศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายในประเทศสหรัฐอเมริกาและสาธารณรัฐเกาหลี ประเด็นการเกิดสัญญาเกมออนไลน์ซึ่งเป็นสัญญาสำเร็จรูปทางอิเล็กทรอนิกส์ กฎหมายไทยไม่ได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์การแสดงเจตนาที่จะมีผลเป็นคำเสนอและก่อให้เกิดสัญญา แต่ในกฎหมายสหรัฐอเมริกาและกฎหมายเกาหลีนั้นการแสดงเจตนาในสัญญาผู้บริโภคหรือในสัญญาสำเร็จรูปนั้นจะมีผลเป็นคำเสนอได้ จะต้องเปิดโอกาสให้ผู้รับการแสดงเจตนาตรวจสอบข้อสัญญาเสียก่อน สำหรับสถานะและสิทธิความเป็นเจ้าของทรัพย์สินเสมือนในเกมออนไลน์นั้น ทรัพย์สินเสมือนมีลักษณะเป็นสิทธิที่เกิดขึ้นตามสัญญาการให้บริการเกมออนไลน์ โดยเป็นสิ่งที่มีราคาและผู้เล่นเกมออนไลน์สามารถถือเอาและแสดงความเป็นเจ้าของได้ จึงมีสถานะเป็นทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การซื้อขายทรัพย์สินเสมือนนั้น สามารถกระทำได้ตามหลักเสรีภาพในการทำสัญญาโดยเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องในทรัพย์สินเสมือนที่มีค่าตอบแทน สำหรับข้อสัญญาไม่เป็นธรรมพบว่าในประเทศไทยนั้นยังมีความไม่ชัดเจนว่าสัญญาลักษณะใดมีความเป็นธรรมและพอสมควรที่จะสามารถให้ใช้บังคับแก่คู่สัญญาได้โดยให้ศาลเป็นผู้ใช้ดุลพินิจตัดสินให้ความเป็นธรรมในสัญญา แต่ในประเทศเกาหลีมีการกำหนดลักษณะของข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมไว้โดยเฉพาะ ซึ่งทำให้เกิดความแน่นอนว่าสัญญาลักษณะใดมีผลบังคับใช้ได้หรือไม่ สำหรับความรับผิดทางแพ่งจากพฤติกรรมของบุคคลฝ่ายต่างๆ เช่นการเล่นเกมออนไลน์โดยใช้โปรแกรมช่วยเล่นเกมอัตโนมัติ การยกเลิกการให้บริการเกมออนไลน์โดนมิชอบ เป็นต้น สำหรับความรับผิดทางละเมิดของไทยกฎหมายได้ให้ความคุ้มครองเฉพาะความเสียหายต่อสิทธิที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น ซึ่งต่างกับกฎหมายละเมิดของเกาหลีและสหรัฐอเมริกาที่ให้ความคุ้มครองต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งปวง นอกจากนี้ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายเฉพาะที่กำหนดความรับผิดจากพฤติกรรมต่างๆ ของผู้เล่นเกมออนไลน์เช่นประเทศเกาหลี แต่อย่างไรก็ดีกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดทางแพ่งของประเทศไทยก็ยังคงมีความเพียงพอที่จะนำมาปรับใช้ในเรื่องความรับผิดจากพฤติกรรมของบุคคลฝ่ายต่างๆ ในเกมออนไลน์ได้ ผู้เขียนจึงขอเสนอให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมนำเอาหลักเกณฑ์ในการตรวจสอบข้อสัญญามาบัญญัติไว้ในกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และปรับแก้พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม โดยควรกำหนดประเภทข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมไว้ให้แน่ชัด เพื่อลดความไม่ชัดเจนในการใช้ดุลพินิจของศาล | - |
dc.description.abstractalternative | The services of online games in Thailand are the business that have the high market value. However, there is no specific law applying with online games in Thailand resulting in the law problems such as the contract occurrence of online games, the problems related to the status and ownership of virtual properties, the problems using unfair contract terms, and the problems about liability of individuals party that related to online games. Therefore, this thesis studies and analyses to find legal measures applied to online game services by comparing laws in the United States and Korea. The matter of online game contract occurrence which are standard contracts in electronic form. Thai law does not specify any intention which leads to the contract occurrence. However, in US and Korean laws, the intention of a r standard contract that ready to be applied to the tender offer must allow recipients to review the contracts firstly (Opportunity to review rule). For the status and ownership of virtual properties in online games, virtual properties regard as the right for contracts of online game services which are valuable, and online game players can take their ownerships. Therefore, the virtual property is regarded as properties under the Civil and Commercial Code. The juristic act of trading virtual properties is regards as the transfer of claims. For unfair contractual terms, it is unclear in Thailand whether any contract is fair awith the discretion of court to decide the fairness in the contract. In Korea, there is the identification of the unfair contract nature. This ensures that any contract is enforceable. For civil liability of the individual behaviors from individual’s party that related to online games such as playing online games by using auto-play programs and abolishing online game services, the study shows that Thailand tort liability will cover only damages to legitimate rights which are dissimilar to the Korean and US tort laws providing the protection against all damages. In addition, Thailand has no specific law defining the liability for various behaviors of online game players like Korea. Nevertheless, Thailand civil liability law is still sufficient to address the liability of various parties in online games. The author suggests that the further revision be adopted the principle of Opportunity to review rule for consumer contract or standard contract in the civil and commercial codes and amendment of the unfair contract act by defining the unfair contract type explicitly to reduce the uncertainty of court discretion. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.457 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.title | ปัญหาการปรับใช้กฎหมายทางแพ่งในเกมออนไลน์ | - |
dc.title.alternative | PROBLEMS ON LEGAL APPLICATIONS IN CONTEXT OF ONLINE GAMES | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | นิติศาสตร์ | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.email.advisor | Chayanti.G@Chula.ac.th,Chayanti.G@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2016.457 | - |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5686029434.pdf | 5.1 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.