Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54999
Title: การสร้างสรรค์บทเพลง ตับวิฬาร์เริงสำราญ
Other Titles: THE CREATION OF THAP WILA ROENGSAMRAN "THE FELINE SUITE"
Authors: ชนะชัย กอผจญ
Advisors: ขำคม พรประสิทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Kumkom.P@Chula.ac.th,pkumkom@yahoo.com,pkumkom@yahoo.com
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา ความเชื่อ ลักษณะนิสัยและพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับแมวทั่วไปและแมวไทยทั้ง 5 ชนิด ที่ยังคงปรากฏให้พบเห็นได้ในปัจจุบันและนำมาสังเคราะห์เพื่อสร้างสรรค์เป็นทำนองเพลง ตับวิฬาร์เริงสำราญ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาข้อมูลเอกสารและสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านแมวไทยและผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านดุริยางคศิลป์ไทย นำเสนอผลการวิจัยด้วยการสร้างสรรค์บทเพลงทางดุริยางคศิลป์ไทยใหม่แล้วบรรเลงด้วยวงดนตรีไทยประยุกต์ร่วมสมัยและวิธีการพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis) แมวไทย มีประวัติความเป็นมายาวนานอยู่คู่กับคนไทย มีความเชื่อมโยงไปสู่ต่างประเทศ มีคติความเชื่อทั้งราชสำนักและชนพื้นถิ่นได้แก่เข้าร่วมในงานพระราชพิธีและพิธีขอฝนของชาวบ้านที่มีความเดือดร้อน ลักษณะนิสัยของแมว 5 ชนิดที่ผู้วิจัยทำการสืบค้นข้อมูลพบว่ามีอุปนิสัยดีและเฉลียวฉลาด การประพันธ์เพลง “ตับวิฬาร์เริงสำราญ” เป็นการประพันธ์เพลงตับ ประเภทตับเรื่อง กำหนดใช้วงดนตรีไทยประยุกต์ร่วมสมัยทำการบรรเลง ทำนองเพลงแบ่งออกเป็น 3 ช่วงได้แก่ ปฐมบท กล่าวถึงประวัติความเป็นมา ความเชื่อ และบริบทต่าง ๆ ของแมวไทย ทำนองแบ่งออกเป็นลูกนำ 4 ท่อน ส่วนที่สอง มัชฌิมบท กล่าวถึงอุปนิสัย สัญชาตญาณ พฤติกรรม ทำนองเพลงแบ่งออกเป็นทำนองอุปนิสัย 5 ท่อน และส่วนที่สาม ปัจฉิมบท กล่าวถึงลักษณะเด่นของแมวไทยทั้ง 5 ชนิด ทำนองเพลงแบ่งออกเป็น 5 เพลงตามชนิดของแมวไทย ทำนองเพลงมีทั้งการประพันธ์ทำนอง 8 ห้องโน้ตเพลงและแบบฉิ่งตัดได้แก่ 7 ห้องโน้ตเพลง ทำนองเพลงประพันธ์โดยยึดหลักการประพันธ์เพลงเกี่ยวกับสัตว์โดยคัดเลือก นก มาเป็นแนวในการประพันธ์อิงขนบและทำการประพันธ์ทำนองใหม่โดยไม่อิงขนบ เครื่องดนตรีสากลและเครื่องตกแต่งทำนองที่นำมาใช้ได้แก่ คลาริเน็ต หมากกะโหล่ง โปงเหล็ก เกราะ กังสดาล ระฆัง กระพรวน ขลุ่ยนกชนิดต่าง ๆ ขลุ่ยจีน ส่วนเครื่องกำกับจังหวะ หน้าทับได้แก่กลองแขก ตะโพนไทย เปิงมาง จังหวะหน้าทับที่นำมาตีกำกับทำนองมีทั้งจังหวะอิสระ และจังหวะหน้าทับเดิมได้แก่ หน้าทับพระทอง หน้าทับกระบี่ลีลา หน้าทับเบ้าหลุด หน้าทับลาว หน้าทับสองไม้สองชั้น หน้าทับตะเขิ่ง (กลองแขก) หน้าทับสดายงค์ ชั้นเดียว
Other Abstract: The objectives of this research are: to study the history, origin, beliefs as well as the general characteristics and behaviours of feline in general and the five existing types of Thai feline in particular in order to create a new music composition; to study the musical form of the Phleng Thap (suite) genre of the classical Thai music; to study the classical Thai melodies relating to various animals and their contexts; and to integrate the acquired knowledge into the composition of Thap Wila Roengsamran (the feline Suite), which reflects the characteristics of the five existing types of Thai cats. The research employed a qualitative research methodology of interviewing seven authorities on Thai cats and classical Thai music. The research findings were analysed by Thai contemporary ensemble and presented as a descriptive analysis. The research findings include the composition of the Cat’s Suite describing the unique characteristics of the five existing types of Thai cats and data from the survey and study of historical evidences relating to Thai cats from different sources of information and textbooks. These data were used in the creative composition of the Cat’s Suite which is based on the musical form of the Phleng Thap genre of the classical Thai music. The resulting Cat’s Suite composition addresses the valuable cultural identity which are unique to Thai cats. The research findings can contribute to the study and development of the body of knowledge on Thai cats, the preservation of Thai art and culture, and the conservation of Thai cats.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ศิลปกรรมศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54999
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1103
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.1103
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5686826235.pdf18.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.