Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55013
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorไพโรจน์ ลดาวิจิตรกุล-
dc.contributor.authorปุณยนุช ธัญญกุลสัจจา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-10-30T04:23:02Z-
dc.date.available2017-10-30T04:23:02Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55013-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559-
dc.description.abstractแท็บเล็ตเป็นอุปกรณ์ที่มาพร้อมกับปากกาดิจิตอลที่รองรับการเขียนได้อย่างเสมือนจริงสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ 1.ทัชสกรีนเป็นอุปกรณ์ที่ได้รับสัมผัสโดยตรงกับหน้าจอแสดงผล 2.ทัชแพดเป็นการสัมผัสทางอ้อมโดยจะต้องมีจอแสดงผลใช้งานร่วมกัน ทำให้ข้อมูลถูกส่งไปประมวลผลเป็นเวลานานรวมถึงการที่ทัชแพดมีราคาที่ต่ำกว่าทัชสกรีนมาก จึงได้ศึกษาเปรียบเทียบสมรรถนะในการใช้งานทัชสกรีนและทัชแพดที่มีการใช้งานร่วมกับหน้าจอแสดงผลขนาดต่างๆสำหรับงานแตะและงานลากตามมาตรฐาน ISO 9241-9 ที่อ้างอิงวิธีการทดสอบจากกฎของฟิตส์และสเตียริ่ง โดยนำมุมการมองเห็นมาประยุกต์ใช้ในการกำหนดขนาดของจอแสดงผล ซึ่งขนาดมุมการมองเห็นของจอทัชสกรีนถูกใช้เป็นหน่วยวัดในการเปรียบเทียบขนาดมุมการมองเห็นของหน้าจอแสดงผลสำหรับการใช้งานร่วมกับทัชแพดที่แตกต่างกัน สำหรับทัชแพดที่ใช้งานร่วมกับจอแสดงผลขนาดเล็ก จะมีอัตราส่วนของขนาดหน้าจอแสดงผลเล็กลงมาเมื่อเทียบกับหน้าจอทัชสกรีนคือ 1: 1: 0.82: 0.52: 0.23 ตามลำดับ และสำหรับทัชแพดที่ใช้งานร่วมกับจอแสดงผลขนาดใหญ่ มีอัตราส่วนของขนาดหน้าจอแสดงผลใหญ่ขึ้นเปรียบเทียบกับหน้าจอทัชสกรีนคือ 1: 1: 1.48: 1.96 ตามลำดับ ในงานวิจัยนี้มีผู้เข้าร่วมการทดลองทั้งหมด 30 คน โดยจะแบ่งกลุ่มการทดสอบออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1.การใช้งานทัชสกรีน 2.การใช้งานทัชแพดร่วมกับจอแสดงผลที่มีมุมการมองเห็นขนาดเล็กลง 3.การใช้งานทัชแพดร่วมกับจอแสดงผลที่มีมุมการมองเห็นขนาดใหญ่ขึ้น จากผลการวิจัยพบว่าที่มุมการมองเห็นเท่ากันการใช้งานทัชสกรีนทั้งงานแตะและงานลากให้สมรรถนะในการใช้งานสูงกว่าทัชแพด ส่วนมุมการมองเห็นใหญ่ขึ้นการใช้งานทัชแพดร่วมกับจอแสดงผลขนาดใหญ่ทั้งงานแตะและงานลากมีสมรรถนะในการใช้งานไม่แตกต่างกัน และที่มุมการมองเห็นเล็กลง การใช้งานทัชแพดร่วมกับจอแสดงผลขนาดใหญ่สำหรับงานแตะมีสมรรถนะในการใช้งานลดลงแต่สำหรับงานลากมีสมรรถนะในการใช้งานไม่แตกต่างกัน-
dc.description.abstractalternativeTablet is an input device with digital pen which provides virtual writing. Tablet is divided into two categories. The first one is touchscreen which is direct touch interface device and the second is touchpad which is indirect touch interface device that require output device. In addition, touchpad is cheaper than touchscreen. This experiment studied about using touchscreen and touchpad with different size of display in both tapping and dragging task followed in ISO 9241-9 which cited the method of fitts’ law and steering law by adapting visual angle to determine display size. The visual angle of touchscreen was used as a benchmark to compare with others visual angle. For the touchpad with small display usage, the ratio between small display size and touchscreen display size decreased as 1: 1: 0.82: 0.52: 0.23. For the touchpad with large display usage, the ratio between large display size and touchscreen display size increased as 1: 1: 1.48: 1.96. In the study, there were 30 participants in the experiment. The participants were divided to do three different groups. The first group was the touchscreen usage. The second group was the touchpad with decreasing visual angle display usage. The last group was the touchpad with increasing visual angle display usage. The results of these experiment showed that Firstly, touchscreen provided higher performance than touchpad with equal visual angle in both tapping and dragging tasks. Secondly, touchpad with increasing visual angle of big display usage provided equal performance in both tapping and dragging tasks. Lastly, touchpad with decreasing visual angle of big display usage provided diminishing performance in tapping task but in dragging task the usage provided equal performance.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1071-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleการเปรียบเทียบสมรรถนะการใช้งานของทัชสกรีนและทัชแพด-
dc.title.alternativeA comparison of using performance between touchscreen and touchpad-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineวิศวกรรมอุตสาหการ-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorPhairoat.L@Chula.ac.th,Phairoat.L@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.1071-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5770233421.pdf5.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.