Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55031
Title: | การใช้อัลตราซาวด์ในการสกัดน้ำมันจากสาหร่ายสไปรูลิน่าร่วมกับตัวทำละลาย |
Other Titles: | Application of ultrasound for lipid extraction from Spirulina platensis with solvent extraction |
Authors: | ภัคจิรา ลิ้มภัทรชัย |
Advisors: | อรอนงค์ ลาภปริสุทธิ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Onanong.L@chula.ac.th,onny80@gmail.com |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้ใช้วิธีอัลตราซาวด์ร่วมกับตัวทำละลายในการสกัดน้ำมันจากสาหร่าย Spirulina platensis โดยใช้อัลตราซาวด์โพรบที่ความถี่ 20 กิโลเฮิร์ต ในระดับกำลังงานและระยะเวลาที่ต่างกัน เมื่อสกัดน้ำมันด้วยเอทานอล พบว่าที่อัตราส่วน 1:6 ของสาหร่ายแห้งต่อตัวทำละลาย มีปริมาณน้ำมันมากที่สุด และในการสกัดน้ำมันด้วยอัลตราซาวด์ พบว่าสภาวะที่เหมาะสมต่อการสกัดน้ำมัน คือ ระดับกำลังงาน 40 เปอร์เซนต์ ระยะเวลา 5 นาที ซึ่งมีปริมาณน้ำมันเท่ากับ 0.120 กรัมต่อกรัมสาหร่ายแห้ง จากผลการทดลองพบว่า ปริมาณน้ำมันที่สกัดได้มีปริมาณเพิ่มขึ้นเมื่อระดับกำลังงานและระยะเวลาเพิ่มขึ้น เมื่อพิจารณาปริมาณกรดไขมันรวม (C14-C24) พบสภาวะที่เหมาะสม คือ ระดับกำลังงาน 60 เปอร์เซนต์ ระยะเวลา 5 นาที โดยมีปริมาณกรดไขมันรวมเท่ากับ 1.64 มิลลิกรัมต่อกรัมสาหร่ายแห้ง และสำหรับการสกัดน้ำมันด้วยอัลตราซาวด์ร่วมกับเอทานอล พบว่าสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดน้ำมัน คือ ระดับกำลังงาน 40 เปอร์เซนต์ ระยะเวลา 5 นาที มีปริมาณน้ำมันเท่ากับ 0.184 กรัมต่อกรัมสาหร่ายแห้ง สำหรับปริมาณกรดไขมันรวม (C14-C24) ที่สภาวะเหมาะสม คือ 2.76 มิลลิกรัมต่อกรัมสาหร่ายแห้ง ที่ระดับกำลังงาน 80 เปอร์เซนต์ ระยะเวลา 5 นาที และเมื่อวิเคราะห์ปริมาณน้ำมันที่เหลือในกากสาหร่ายด้วยวิธี Bligh and Dyer พบว่ากากสาหร่ายหลังจากการสกัดน้ำมันด้วยอัลตราซาวด์ และอัลตราซาวด์ร่วมกับเอทานอล มีปริมาณน้ำมันที่เหลือในเซลล์สาหร่าย อยู่ในช่วง 0.103-0.157 และ 0.049-0.103 กรัมต่อกรัมสาหร่ายแห้ง ตามลำดับ เมื่อศึกษาแนวทางการใช้ประโยชน์ของกากสาหร่ายโดยการวิเคราะห์ความเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ พบว่ากากสาหร่ายหลังจากสกัดด้วยอัลตราซาวด์ร่วมกับเอทานอลมีความต้านสารอนุมูลอิสระมากกว่ากากสาหร่ายหลังจากสกัดด้วยอัลตราซาวด์ และจากการวิเคราะห์ปริมาณโปรตีน พบว่ากากสาหร่ายหลังการสกัดน้ำมันด้วยอัลตราซาวด์ร่วมกับเอทานอลมีปริมาณโปรตีนต่ำกว่ากากสาหร่ายหลังการสกัดไขมันด้วยอัลตราซาวด์ นอกจากนี้ยังพบว่ากากสาหร่ายหลังจากการสกัดด้วยอัลตราซาวด์มีความเป็นพิษน้อยกว่ากากสาหร่ายหลังจากการสกัดด้วยเอทานอล |
Other Abstract: | This research focused on application of ultrasound with solvent for lipid extraction from Spirulina platensis. Ultrasound extraction was investigated by using a 20 kHz ultrasound probe at different power and sonication time. For ethanol extraction alone, the maximum lipid content was found at the dried algae to ethanol ratio of 1:6. When using utrasound alone, the optimal condition was found at 40 percent and 5 min sonication with the lipid of 0.120 g lipid/g dried algae. It was found that the amount of extracted lipids increased when the power and sonication time increased. When considered the total fatty acids (C14-C24), the optimal condition was at 60 percent for 5 min with the total fatty acids of 1.64 mg fatty acids/ g dried algae. For sonication with ethanol, 0.184 g lipid/g dried algae was found at optimal condition, at 40 percent and 5 min sonication. When considered the total fatty acids (C14-C24), the optimal condition were at 80 percent for 5 min with the total lipids of 2.76 mg fatty acids/ g dried algae. The remained lipids in extracted algae was analyzed by Bligh and Dyer method. The results showed that 0.103-0.157 g lipid/g dried algae was found in samples using ultrasound alone and 0.049-0.103 g lipid/g dried algae was found in those using ultrasound with ethanol. Extracted algae was then analyzed for antioxidant. It was found that samples from ultrasound with ethanol has more antioxidant than those of ultrasound alone. The amount of protein in algae after extracted by ultrasound with ethanol was less than the others. Moreover, extracted algae using ultrasound with ethanol had less toxicity than extracted algae using ethanol alone. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55031 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1025 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.1025 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5770448021.pdf | 6.78 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.