Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55081
Title: ปัจจัยเชิงเหตุของความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพยาบาลวิชาชีพ: การวิเคราะห์อภิมาน
Other Titles: ANTECEDENTS OF ORGANIZATIONAL COMMITMENT OF PROFESSIONAL NURSES: A META-ANALYSIS
Authors: กุหลาบ ศรีโฮมจันทร์
Advisors: ชนกพร จิตปัญญา
อารีย์วรรณ อ่วมตานี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Subjects: ความผูกพันต่อองค์การ
พยาบาล
Organizational commitment
Nurses
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิเคราะห์อภิมานครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะของงานวิจัยที่ศึกษาปัจจัยเชิงเหตุของความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพยาบาลวิชาชีพ 2) เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยดัชนีมาตรฐานจำแนกตามตัวแปรปัจจัย และคุณลักษณะงานวิจัย และ3) วิเคราะห์ค่าเฉลี่ยดัชนีมาตรฐานของปัจจัยเชิงเหตุ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ วิทยานิพนธ์ในระดับบัณฑิตศึกษา ตั้งแต่ พ.ศ. 2538-2558 จำนวน 44 เรื่อง เครื่องมือในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินคุณภาพงานวิจัยและแบบบันทึกคุณลักษณะงานวิจัย ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการของ Glass, et al. (1987) ได้ค่าดัชนีมาตรฐานจำนวน 329 ค่า และวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยดัชนีมาตรฐานโดยใช้ t-test และOne-way ANOVA ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณลักษณะของงานวิจัย พบว่า หน่วยงานที่มีการศึกษามากที่สุดคือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ร้อยละ 38.6) เผยแพร่ในช่วงปี พ.ศ. 2541-2545 (ร้อยละ 38.6) เป็นงานวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ (ร้อยละ 63.6) มีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (ร้อยละ 40.9) และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (ร้อยละ 41) 2) ตัวแปรแหล่งที่มาของกลุ่มตัวอย่าง การสุ่มกลุ่มตัวอย่าง วิธีหาค่าความตรง ค่าความเที่ยงของความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ ระยะเวลาเก็บข้อมูล และคะแนนคุณภาพงานวิจัย ส่งผลให้เกิดความแตกต่างและความแปรปรวนของค่าดัชนีมาตรฐานของกลุ่มปัจจัยเชิงเหตุของความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพยาบาลวิชาชีพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยดัชนีมาตรฐานของปัจจัยเชิงเหตุของความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพยาบาลวิชาชีพ ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ ด้านองค์การ ด้านลักษณะงาน ด้านผู้นำ และด้านปัจจัยส่วนบุคคล ซึ่งพบว่ามีค่าเฉลี่ยดัชนีมาตรฐาน เท่ากับ .476 .398 .379 และ.121 ตามลำดับ โดยมีตัวแปรสำคัญที่มีค่าเฉลี่ยดัชนีมาตรฐานสูงที่สุดในแต่ละด้าน ได้แก่ การเป็นโรงพยาบาลดึงดูดใจ (r =.637) คุณภาพชีวิตการทำงาน (r=.590) ความไว้วางใจในหัวหน้าหอผู้ป่วย (r=.461) และประสบการณ์การทำงาน (r=.192) ตามลำดับ
Other Abstract: The purposes of this meta-analysis study were to 1) describe research characteristics of antecedent variables of organizational commitment of professional nurses 2) compare mean of correlation coefficients across antecedent variables and research characteristics and 3) analyze the effect size of antecedent variables. The population were master’s theses 44 correlation research conducting during 1995-2015. The data were collected through a research report evaluation form and a research characteristic recording form devised according to Glass, et al. (1987) method tested by five experts. There were 329 correlation coefficients and statistics used in this study were t-test and One-way ANOVA. The findings of study were as follows: 1) The most of research characteristics were Chulalongkorn University (38.6%), published during 1998-2002 (38.6%), researches were correlation studies (63.6%), the sample was selected by multi-stage sampling (40.9%) and data was analyzed by Pearson’s product moment correlation coefficient (41%). 2) Population source, random sampling, validity, reliabilities of antecedent variables of organizational commitment, collection period and research quality were statistically and significantly affected on the mean of correlation coefficients of antecedent variables of organizational commitment of professional nurses, at .05 level. 3) The antecedent variables were 4 factors including organizational factors, working factors, leadership factors and personal trait factors, ordered by effect size .476 .398 .379 and .121 respectively. The highest effect size in each factor were magnet hospital (r =.637) quality of working life (r =.590) trust in head nurse (r =.461) and working experience (r =.192) respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55081
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.634
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.634
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5777154836.pdf7.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.