Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55104
Title: ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการจัดการกับอาการต่ออาการทางลบของผู้ป่วยจิตเภท
Other Titles: THE EFFECT OF SYMPTOM-MANAGEMENT SELF-EFFICACY PROGRAM ON NEGATIVE SYMPTOMS OF SCHIZOPHRENIC PATIENTS
Authors: ดลกมล มัทยัตร์
Advisors: เพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Pennapa.D@Chula.ac.th,dnayus@yahoo.com,Pennapa.D@Chula.ac.th
Subjects: ผู้ป่วยจิตเภท -- การรักษา
Schizophrenics -- Treatment
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง เพื่อเปรียบเทียบอาการทางลบของผู้ป่วยจิตเภทก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการจัดการกับอาการ และเพื่อเปรียบเทียบอาการทางลบของผู้ป่วยจิตเภทกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการจัดการกับอาการกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยจิตเภท จำนวน 40 ราย ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ ที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจิตเวชนครสวรรค์ราชนครินทร์ โดยจับคู่ให้ทั้ง 2 กลุ่มมีความใกล้เคียงกันด้านเพศและอาการทางลบ และสุ่มเข้ากลุ่มทดลอง 20 ราย และกลุ่มควบคุม 20 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการจัดการกับอาการ ที่ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ 1) การกระตุ้นทางอารมณ์ 2) การใช้ตัวแบบ 3) ประสบการณ์ความสำเร็จ 4) การใช้คำพูดชักจูง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วยจิตเภทและแบบประเมินอาการทางลบ เครื่องมือทุกชุดผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน โดยแบบประเมินอาการทางลบมีค่าความตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ .84 มีค่าความเที่ยงจากการสังเกต เท่ากับ .72 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ค่าเฉลี่ยคะแนนอาการทางลบของผู้ป่วยจิตเภท ภายหลังได้รับโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการจัดการกับอาการ ต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการจัดการกับอาการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ค่าเฉลี่ยคะแนนอาการทางลบของผู้ป่วยจิตเภทที่ได้รับโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการจัดการกับอาการ ต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purpose of this quasi-experimental research were to compare the negative symptoms of schizophrenic patients before and after receiving the symptom-management self-efficacy program, and to compare the negative symptoms of schizophrenic patients who received the symptom-management self-efficacy program with those who received regular nursing care. Research samples were 40 schizophrenic patients who met the inclusion criteria from outpatient department, Nakhon Sawan Ratchanakharin Psychiatric Hospital. They were matched by gender and negative symptoms and randomly assigned to experimental and control groups, 20 subjects each. The experimental instrument was the symptom-management self-efficacy program consisted of 4 steps: 1) Emotion arousal 2) Modeling 3) Mastery experience 4) Verbal persuasion. Data were collected using the personal patients’ record form and the positive and negative syndrome scale. All instruments were tested for content validity by 5 professional experts. The content validity index of the positive and negative syndrome scale was .84. Its inter-rater reliability was .72. Data were analyzed using mean, standard deviation and t-test. Major findings were as follow: 1. The mean score of negative symptoms of schizophrenic patients after participating in the symptom-management self-efficacy program was significantly lower than that before receiving the program, at the .05 level. 2. The mean score of negative symptoms of schizophrenic patients who received the symptom-management self-efficacy program was significantly lower than those who received regular nursing care, at the .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55104
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.616
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.616
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5777308136.pdf3.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.