Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55106
Title: ผลของโปรแกรมบำบัดแบบตั้งเป้าหมายชีวิตต่อการทำหน้าที่ของผู้ป่วยโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว
Other Titles: THE EFFECT OF LIFE GOALS THERAPY PROGRAM ON FUNCTIONING IN PATIENTS WITH BIPOLAR DISORDER
Authors: พรรณ์นิภา ไชยผง
Advisors: ยุพิน อังสุโรจน์
สุนิศา สุขตระกูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Subjects: โรคอารมณ์แปรปรวน
การบำบัด
Manic-depressive illness
Healing
Bipolar disorder
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองใช้รูปแบบเปรียบเทียบระหว่างสองกลุ่มที่ไม่เท่าเทียมกัน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบการทำหน้าที่ของผู้ป่วยโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมบำบัดแบบตั้งเป้าหมายชีวิต 2) เปรียบเทียบการทำหน้าที่ของผู้ป่วยโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว ระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมบำบัดแบบตั้งเป้าหมายชีวิตกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้วที่เข้ารับบริการแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ จำนวน 40 ราย ได้รับการจับคู่ด้วย เพศ และระดับความรุนแรงของการการซึมเศร้าหรือคลุ้มคลั่ง และสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) โปรแกรมบำบัดแบบตั้งเป้าหมายชีวิต 2) แบบวัดความรู้เรื่องโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว 3) แบบวัดอาการซึมเศร้า 4) แบบวัดอาการคลุ้มคลั่ง 5) แบบสอบถามการทำหน้าที่ เครื่องมือทุกชุดผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน เครื่องมือชุดที่ 5 มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ .87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. การทำหน้าที่ของผู้ป่วยโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้วหลังได้รับโปรแกรมบำบัดแบบตั้งเป้าหมายชีวิตดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2. การทำหน้าที่ของผู้ป่วยโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้วที่ได้รับโปรแกรมบำบัดแบบตั้งเป้าหมายชีวิตดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Other Abstract: This research is a quasi-experimental research design were used nonequivalent comparison-group design. The objectives were: 1) to compare function of patients with bipolar disorder before and after received the life goals therapy program. and 2) to compare function of patients with bipolar disorder who received the life goals therapy program and who received the usual care. The 40 samples were patients with bipolar disorder, who were the out patients of Nakornratchasima Rajanagarindra Psychiatric Hospital. They were matched pair by sex and severity of depression or mania then randomly assigned to the experimental and control groups as 20 subjects in each group. Research instruments comprised of: 1) Life goals therapy program 2) Knowledge on Bipolar disorder test 3) Montgomery Asberg Depression Rating Scale 4) Thai Mania Rating Scale 5) The Functioning Assessment Short Test. The content validity of all instruments had verified by 5 professional experts. The 5th instruments had Cronbach's Alpha reliability of .87. The t-test were used in data analysis. The conclusions of this research are as follows: 1) The functioning of patients with bipolar disorder who received a life goals therapy program was significantly better than that before (p< .05). 2) The functioning of patients with bipolar disorder who received a life goals therapy program were significantly better than those who received the usual care. (p< .05).
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55106
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.630
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.630
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5777315536.pdf3.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.