Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55170
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ชัชพล ไชยพร | - |
dc.contributor.author | พิชญา อิทธิยาภรณ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2017-10-30T04:28:51Z | - |
dc.date.available | 2017-10-30T04:28:51Z | - |
dc.date.issued | 2559 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55170 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 | - |
dc.description.abstract | ระบบริหารงานราชทัณฑ์ของประเทศไทยไม่เพียงแต่ประสบปัญหาผู้ต้องขังล้นเรือนจำ (Overcrowding) เท่านั้น แต่ยังประสบปัญหาการควบคุมผู้ต้องขังด้วย เนื่องจากการดำเนินนโยบายของรัฐที่มุ่งปราบปรามยาเสพติดอย่างจริงจัง ทำให้ผู้ต้องขังในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดเข้ามาสู่เรือนจำมากขึ้น ประกอบกับลักษณะประชากรผู้ต้องขังที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม จากการประกอบอาชญากรรมที่ไม่ซับซ้อนมากนักแต่ปัจจุบันกลับมีการประกอบอาชญากรรมในลักษณะที่เป็นองค์กร (Organized Crime) มีพฤติการณ์ประกอบการกระทำความผิดที่ซับซ้อน อีกทั้งเทคโนโลยีในปัจจุบันที่พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว บางกรณีปรากฏว่ามีการใช้เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aerial Vehicle หรือ UAV) เป็นเครื่องมือเพื่อลักลอบนำยาเสพติดหรือสิ่งของต้องห้ามเข้าเรือนจำ แต่เมื่อพิจารณาถึงสภาพหรือลักษณะของเรือนจำที่ใช้ควบคุมผู้ต้องขังกลับไม่ได้ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงให้เท่าทันและเหมาะสมกับลักษณะประชากรผู้ต้องขังที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้การควบคุมผู้ต้องขังเหล่านั้นยังขาดประสิทธิภาพเพราะ ผู้ต้องขังมีช่องทางที่สามารถติดต่อกับบุคคลภายนอกเพื่อกระทำผิดกฎหมายและมีพฤติการณ์ใช้เรือนจำเป็นที่ประกอบอาชญากรรม หากพิจารณาการบริหารงานราชทัณฑ์ในต่างประเทศพบว่า ประเทศต่างๆ ประสบปัญหาการควบคุมผู้ต้องขังเช่นเดียวกัน จากการศึกษาพบว่า แต่ละประเทศเผชิญปัญหาและลักษณะผู้ต้องขังที่ยากแก่การควบคุมแตกต่างกันไป หน่วยงานราชทัณฑ์ในหลายประเทศจึงพยายามพิจารณาหามาตรการเพื่อจัดการควบคุมผู้ต้องขังที่ก่อปัญหาในลักษณะดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพ มาตรการหนึ่งที่ได้รับความนิยมและแพร่หลายคือ การแยกควบคุมผู้ต้องขังที่สร้างปัญหาออกจากกลุ่มผู้ต้องขังทั่วไปและใช้เรือนจำความมั่นคงสูงสุด (Super Maximum Security Prisons) ผู้ต้องขังที่ถูกควบคุมในเรือนจำความมั่นคงสูงสุดจะถูกตัดหรือลดสิทธิประโยชน์ที่ผู้ต้องขังทั่วไปพึงได้รับ เพราะวัตถุประสงค์ของเรือนจำความมั่นคงสูงสุดเน้นการควบคุมผู้ต้องขังเป็นหลัก ดังนั้น บทบัญญัติบางประการของพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 จึงไม่อาจนำมาใช้กับการควบคุมผู้ต้องขังในเรือนจำความมั่นคงสูงสุดได้ กรณีจำต้องกำหนดหมวดเฉพาะของเรือนจำความมั่นคงสูงสุดขึ้นในพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 และใช้บทบัญญัติในหมวดอื่นเพียงเท่าที่ไม่ขัดกับบทบัญญัติเฉพาะในหมวดเรือนจำความมั่นคงสูงสุด | - |
dc.description.abstractalternative | The correctional administration of Thailand faced many problems not only overcrowding issues but also confinement problems. As a result of government policies to vanquish the drugs problem bring the huge number of the drug inmates to correctional institutions. Moreover the behavior of inmates have changed from street crimes to organized crimes but the same old prison do not have change the incarcerate system. It is affected to the efficiency of inmates confinement. In abroad face the problems of the inmates confinement such as Gang affiliation inmates, escaping inmates or the inmates who have threat to the security of prisons. The measure that they used to deal with that problems is solitary confinement the inmates by use the Super maximum security prisons. In Thailand, we have an idea to use that prison by originate the maximum units in many correctional institutions but we found that the confinement problems still remain in correctional system. It is necessary to has a Super maximum security prison in Thailand. For the study in legal issues of Correction Act B.E. 2560, many sections can’t apply for the confinement in Super maximum security prison such as educational, training or recreation sections. If Thailand use that prisons to incarcerate the inmates, it is necessary to legislated the specific section for Super maximum security prison in Correction Act B.E. 2560. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.476 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.title | แนวทางการกำหนดกระบวนพิจารณาเพื่อควบคุมผู้ต้องขังในเรือนจำความมั่นคงสูงสุด | - |
dc.title.alternative | Guideline to impose the procedure in super maximum security prisons | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | นิติศาสตร์ | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.email.advisor | Chachapon.J@Chula.ac.th,chachapon.j@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2016.476 | - |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5786001934.pdf | 2.56 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.