Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55187
Title: | ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ : กรณีศึกษา กรมเจ้าท่า |
Other Titles: | FACTORS INFLUENCING PUBLIC MANAGEMENT QUALITY DEVELOPMENT: A CASE STUDY OF THE MARINE DEPARTMENT |
Authors: | ธัญญารัตน์ สหศักดิ์กุล |
Advisors: | กฤษณา วิสมิตะนันทน์ อรัญญา ศรียัพ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Krisana.P@chula.ac.th,krisana@acc.chula.ac.th,krisana@cbs.chula.ac.th nok904@yahoo.com |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐของกรมเจ้าท่า เพื่อเป็นประโยชน์ให้แก่องค์กรในการจัดลำดับความสำคัญในการวางแผนพัฒนาองค์กร ในการวิจัยครั้งนี้ใช้ข้อมูลทุติยภูมิ และข้อมูลปฐมภูมิที่ผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นบุคลากรส่วนกลางของกรมเจ้าท่า ประกอบด้วย ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และพนักงานราชการ จำนวน 262 คน งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ วิเคราะห์และนำเสนอด้วยจำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ F และวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน โดยแบ่งออกเป็น 8 ปัจจัย ประกอบด้วย 1) กลยุทธ์องค์กร 2) รูปแบบการบริหารจัดการ 3) ระบบการปฏิบัติงาน 4) โครงสร้างองค์กร 5) บุคลากร 6) ทักษะ 7) ค่านิยมร่วมองค์กร 8) การเข้าใจผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่มีผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 กับความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐของกรมเจ้าท่าโดยรวม ทั้งหมด 5 ปัจจัย จากระดับค่าสัมประสิทธ์พยากรณ์มากไปน้อย ได้แก่ ระบบการปฏิบัติงาน การเข้าใจผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทักษะ ค่านิยมองค์กร และรูปแบบการบริหารจัดการ ตามลำดับ โดยทั้ง 5 ปัจจัยสามารถพยากรณ์ความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐของกรมเจ้าท่าโดยรวมได้ร้อยละ 68.7 และกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเห็นว่าการขาดความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาการบริหารจัดการภาครัฐของบุคลากรในองค์กรเป็นอุปสรรคในการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐขององค์กรมากที่สุด จากข้อมูลดังกล่าวจึงนำไปสู่ข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไขอุปสรรคและพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐของส่วนกลางกรมเจ้าท่า |
Other Abstract: | The purposes of this research were to investigate factors influencing success of public sector performance management of the Marine Department which help prioritize organizational improvement plans. This research contained information and data from both secondary and primary sources, which researcher has developed and collected data by using questionnaires, obtained from 262 samples, including government officers, government permanent employees and government employees of the Marine Department. This quantitative research analyzed and represented data in numbers, means, standard deviation, percentage. F-test and stepwise multiple regressions analysis consisted of 8 factors which are 1) strategy 2) styles 3) systems 4) structures 5) staffs 6) skills 7) shared values and 8) understanding customers and stakeholders. The results indicated that five factors, which are systems, understanding customers and stakeholders, skills, shared values and styles can determine success of public sector performance management of Marine Department by 68.7%. In addition, the study indicated that most of respondents’ opinions on roadblock to public sectors quality development are personnel lack of knowledge and understanding about public sector performance management. The results brought to suggestions on resolving obstacles and improving public sector quality management of the Marine Department. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การบริหารกิจการทางทะเล |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55187 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.153 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.153 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5787163020.pdf | 3.6 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.