Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55194
Title: | การหาปริมาณไอน้ำในบรรยากาศจากสัญญาณดาวเทียมจีเอ็นเอสเอสโดยใช้ค่าอุณหภูมิเฉลี่ยท้องถิ่น |
Other Titles: | Determination of precipitable water vapor from GNSS signal using local mean temperature |
Authors: | ธนพัทธ์ จงรักชอบ |
Advisors: | เฉลิมชนม์ สถิระพจน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Chalermchon.S@Chula.ac.th,Chalermchon.S@Chula.ac.th |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้แสดงการเปรียบเทียบผลการคำนวณค่าปริมาณไอน้ำในบรรยากาศ Precipitable Water Vapor (PWV) ที่คำนวณจากข้อมูลการรังวัดสัญญาณดาวเทียม GNSS แบบต่อเนื่อง (Continuously Operating Reference Stations, CORS) โดยในประการแรก ได้ทำการเปรียบเทียบการคำนวณค่าปริมาณไอน้ำในบรรยากาศจากข้อมูลระบบดาวเทียม GPS ที่สถานีรังวัดสัญญาณดาวเทียมแบบต่อเนื่อง ของกรมโยธาธิการและผังเมือง จังหวัดนครราชสีมา (NKRM) กับค่าปริมาณไอน้ำในบรรยากาศที่คำนวณได้จากเครื่องวัดรังสีในช่วงคลื่นไมโครเวฟ Microwave Radiometer (MWR) ณ สถานีเรดาร์ฝนหลวง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา อีกทั้งได้มีการใช้ค่าจากอุณหภูมิเฉลี่ยท้องถิ่น มาใช้เพิ่มความถูกต้องให้กับผลการคำนวณค่าปริมาณไอน้ำในบรรยากาศในพื้นที่ประเทศไทย (พื้นที่ทดสอบ) ประการที่สอง ได้มีการใช้ข้อมูลรังวัดจากระบบดาวเทียม GNSS ที่สถานีรังวัดสัญญาณดาวเทียมแบบต่อเนื่อง ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CUUT) มาทำการประเมินค่าความถูกต้องของค่าปริมาณไอน้ำในบรรยากาศจาก GNSS ที่แตกต่างกัน 5 รูปแบบ คือ GPS, GLONASS, BEIDOU, GPS ร่วมกับ GLONASS และ แบบร่วมกันทั้ง 3 ระบบ (GPS, GLONASS, BEIDOU) โดยใช้ค่าปริมาณไอน้ำในบรรยากาศจาก GPS เป็นตัวเปรียบเทียบ นอกจากนั้น อีกทั้งยังได้ทำการเปรียบเทียบ ผลการคำนวณการประมาณค่าคลาดเคลื่อนในชั้นบรรยากาศโทรโพสเฟียร์ (Zenith Total Delay, ZTD) ซึ่งได้จากสมการ Mapping Function ที่แตกต่างกันใน 2 รูปแบบ คือ Global Mapping Function (GMF) และ Niell Mapping Function (NMF) จากผลการศึกษา พบว่าการประมวลผลเพื่อหาค่าปริมาณไอน้ำในบรรยากาศจากการใช้ข้อมูล GPS โดยใช้ค่าอุณหภูมิเฉลี่ยท้องถิ่นสามารถใช้ทดแทนเครื่อง Microwave Radiometer ในการพยากรณ์อุตุนิยมวิทยา นอกจากนี้สามารถใช้ระบบดาวเทียม GLONASS ในการหาค่าปริมาณไอน้ำในบรรยากาศที่มีความถูกต้องใกล้เคียงกับระบบดาวเทียม GPS แต่สำหรับ ระบบดาวเทียม BEIDOU ในเรื่องของวงโคจรยังไม่มีความถูกต้องและยังไม่มีความเสถียร อาจทำให้ค่าปริมาณไอน้ำในบรรยากาศที่ได้ยังไม่มีความถูกต้องเท่าที่ควร อีกทั้งการใช้สมการ Mapping Function ที่แตกต่างกันไม่มีผลต่อการหาค่าปริมาณไอน้ำในบรรยากาศสำหรับประเทศไทย |
Other Abstract: | This thesis demonstrates a comparison of Precipitable Water Vapor (PWV) derived from GNSS Continuously Operating Reference Stations (CORS) in five different cases: GPS-only, GLONASS-only, BEIDOU-only, GPS combine with GLONASS and GPS combine with GLONASS BEIDOU. Firstly, the PWV derived from GPS CORS station of Department of Public Works and Town & Country Planning (NKRM) and Microwave Radiometer (MWR) of Bureau of Royal Rainmaking and Agricultural Aviation (BRRAA) are compared. In addition, a previously derived local mean temperature (Tm) is used to improve the estimation of the GNSS-derived PWV in a vicinity of Thai region. Secondly, the GNSS observations from CORS station located at Chulalongkorn University (CUUT) is used to evaluate the GNSS-derived PWV in five different cases as previously mentioned. The PWV from GPS-only is used as a referenced PWV to compare with GLONASS-only, BEIDOU-only, GPS combine with GLONASS and GPS combine with GLONASS BEIDOU PWVs. Moreover, this thesis demonstrates a comparison of Zenith Total Delays (ZTD) which are calculated from two different mapping functions, namely Global Mapping Function (GMF) and Niell Mapping Function (NMF). According to the result, Deriving PWV from GPS with local Temperature Mean model is equivalent to Microwave Radiometer which is used in meteorology application. In addition, GLONASS system is nearly equal GPS system in Derivation of PWV but BEIDOU is less accurate than GPS and GLONASS due to its orbit’s performance. Additionally, The different of Mapping function is not effect in PWV deriving in Thailand region. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมสำรวจ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55194 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1014 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.1014 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5870161021.pdf | 3.74 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.