Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55198
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกุลยศ อุดมวงศ์เสรี-
dc.contributor.authorศศิภา วงษ์สุรไพฑูรย์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-10-30T04:30:15Z-
dc.date.available2017-10-30T04:30:15Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55198-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559-
dc.description.abstractจากการพัฒนาของประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) และความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศเพิ่มสูงขึ้น ภาครัฐจึงจำเป็นต้องกำหนดนโยบายเพื่อให้กระบวนการจัดหาพลังงานไฟฟ้าเพียงพอต่อความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศในระยะยาวอย่างเหมาะสมเพื่อให้เกิดความมั่นคงทางด้านพลังงาน รวมถึงต้องกระจายสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าให้มีความสมดุลโดยไม่พึ่งพาเชื้อเพลิงชนิดใดชนิดหนึ่งมากจนเกินไป ในการนี้ กระทรวงพลังงานจึงได้จัดทำแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า (Power development Planning) และแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (Alternative Energy Development Plan; AEDP) ขึ้น อย่างไรก็ดี การใช้งานพลังงานทดแทนในสัดส่วนที่สูงโดยเฉพาะจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของระบบไฟฟ้าเนื่องจากความผันผวนของความต้องการใช้ไฟฟ้า(สุทธิ)มากขึ้น ดังนั้น ในอนาคตจะต้องการวิธีการวางแผนและควบคุมดูแลระบบผลิตไฟฟ้าที่มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ นำเสนอหลักการในการวางแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าโดยพิจารณาเงื่อนไขเชิงพื้นที่เพื่อคำนึงถึงข้อจำกัดทางด้านเชื้อเพลิงรายพื้นที่ ซึ่งจะคำนวณดัชนีกำลังผลิตไฟฟ้าสำรองประจำพื้นที่หรือดัชนีโอกาสเกิดไฟฟ้าดับประจำพื้นที่ เพื่อเป็นตัวกำหนดว่าพื้นที่ใดควรต้องสร้างโรงไฟฟ้าก่อน นอกจากนี้ ยังพิจารณาการตอบสนองของโรงไฟฟ้าต่อการเปลี่ยนแปลงของโหลดโดยคำนึงถึงประเภทของโรงไฟฟ้าใหม่ที่มีคุณสมบัติการตอบสนองที่รวดเร็วและสอดคล้องกับลักษณะความผันผวนของความต้องการใช้ไฟฟ้าในกรณีที่ระบบไฟฟ้ามีสัดส่วนของพลังงานหมุนเวียนสูง โดยแบ่งช่วงโหลดที่พิจารณาออกเป็น 3 ช่วง คือ ช่วงโหลดช่วงสูง ช่วงโหลดปานกลาง และช่วงโหลดฐาน เมื่อนำวิธีการที่นำเสนอไปใช้ทดสอบกับระบบผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยตามข้อมูลแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ พ.ศ. 2558-2579 (PDP 2015) ทำให้เห็นข้อดีของการวางแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าโดยพิจารณาเงื่อนไขเชิงพื้นที่และการตอบสนองของโรงไฟฟ้าต่อการเปลี่ยนแปลงของโหลด โดยจะพบว่า การสร้างโรงไฟฟ้าตามแผนดังกล่าวสามารถตอบสนองต่อความผันผวนของโหลดในอนาคตได้ดี-
dc.description.abstractalternativeAs Thailand has been being developed continuously, its GDP as well as electricity demand have also been being increased. Then, government must appropriately impose energy policy to cope with the increasing demand in long term and to enhance the national energy security. In addition, fuel diversification must be taken into consideration, to lessen dependence of any particular fuel. For this matter, the ministry of energy developed Power Development Plan (PDP) and Alternative Energy Development Plan (AEDP). However, an increasing use of alternative energy from renewable sources may lead to problems in power system security due to drastic change in net power demand. Thus, more complicated power system planning and control are required in the future. This thesis proposes a concept of power development planning considering regional condition concerning fuel restrictions in each area. Area-based reserve margin index or area-based LOLE index will be calculated and used to determine in which area a new power plant should be added first. In addition, power plant response to load change is also considered. New types of power plant with faster response will be chosen to match with demand fluctuation due to high portion of renewable energy. The load pattern will be classified in the three levels; Peak Load, Intermediate Load, and Base Load. This proposed method was applied to Thailand Power Development Plan 2015-2036 (PDP2015). The obtained results illustrated the benefits of power development planning considering regional condition and power plant response to load change that the new power plants installed from this planning method can well respond to future load fluctuation-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.949-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleการวางแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าโดยพิจารณาเงื่อนไขเชิงพื้นที่และการตอบสนองของโรงไฟฟ้าต่อการเปลี่ยนแปลงของโหลด-
dc.title.alternativePOWER DEVELOPMENT PLANNING CONSIDERING REGIONAL CONDITION AND POWER PLANT RESPONSE TO LOAD CHANGE-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineวิศวกรรมไฟฟ้า-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorKulyos.A@Chula.ac.th,kulyos.a@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.949-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5870247321.pdf13.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.