Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55211
Title: การปรับปรุงกระบวนการสังเคราะห์สีย้อมผ้ารีแอกทีฟโดยใช้หลักการซิกซ์ ซิกมา
Other Titles: PROCESS IMPROVEMENT OF REACTIVE DYE SYNTHESIS USING SIX SIGMA CONCEPT
Authors: ธนภัทร สุวณิชย์
Advisors: ปารเมศ ชุติมา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Parames.C@Chula.ac.th,Parames.C@chula.ac.th
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับกระบวนการสังเคราะห์สีย้อมผ้าสำหรับบริษัทกรณีศึกษา ซึ่งเป็นบริษัทข้ามขาติที่เข้ามาตั้งและดำเนินธุรกิจในประเทศไทย โดยมุ่งเน้นในการปรับปรุงผลผลิตที่ได้จากกระบวนการสังเคราะห์สีย้อมผ้ารีแอกทีฟประเภท REACTIVE-A Blue Base ซึ่งไม่เพียงแค่ลดความผันแปรของผลผลิตที่ได้เท่านั้น งานวิจัยนี้ยังมุ่งเน้นถึงการเพิ่มผลผลิตที่ได้จากกระบวนการสังเคราะห์สีย้อมรีแอกทีฟร่วมด้วย โดยการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการสังเคราะห์มีการนำแนวทางซิกซ์ ซิกมา มาประยุกต์ใช้ จากกระบวนการสังเคราะห์สีย้อมผ้ารีแอกทีฟประเภท REACTIVE-A Blue Base ในปัจจุบันให้ผลผลิตที่มีความผันแปรสูง โดยให้ค่าผลผลิตอยู่ระหว่าง 90.4% - 99.1% (S.D. = 2.405 และ Cpk = -0.08) รวมถึงค่าเฉลี่ยของผลผลิตที่ได้มีค่าเท่ากับ 94.5% ซึ่งมีค่าต่ำกว่าค่าผลผลิตคาดหวังที่ 95% ตามที่บริษัทตั้งไว้ ในการดำเนินงานวิจัยนี้ดำเนินตามขั้นตอนของซิกซ์ ซิกมา ทั้ง 5 ขั้นตอน (DMAIC) เพื่อวิเคราะห์หาปัจจัยและค่าสภาวะที่เหมาะสมสำหรับกระบวนการสังเคราะห์สีย้อมรีแอกทีฟในแต่ละขั้นตอนและทั้งหมดของกระบวนการ ซึ่งจากการวิเคราะห์ตามหลักการของซิกซ์ ซิกมา ให้ผลหลังปรับปรุงกระบวนการพบว่าค่าความผันแปรของผลผลิตที่ได้จากกระบวนการสังเคราะห์สีย้อมรีแอกทีฟมีค่าลดลง ซึ่งให้ค่าระหว่าง 96.2% - 98.9% (S.D. = 0.630% และ Cpk = 1.56) รวมถึงค่าเฉลี่ยของผลผลิตที่ได้มีค่าเพิ่มขึ้นเท่ากับ 97.5% ซึ่งมากกว่าค่าผลผลิตคาดหวัง
Other Abstract: This research focuses on the problem occurred in the reactive dye synthesis process of an international textile company in Thailand. The objectives are not only to reduce the variation but also to improve the chemical yield of the reactive synthesis process by applying the Six Sigma concept. The current chemical yield from the process shows a high variation, i.e. 90.4% – 99.1% (S.D. = 2.405 and Cpk = -0.08) with the average yield of 94.5% (lower than the 95% standard set by the company). The five phases of the Six Sigma concept (i.e. DMAIC) is used to determine the appropriate parameter settings of the process. It is found that with new parameter settings the process can reduce the variation of the process to obtain the chemical yield to between 96.2% and 98.9% (S.D. = 0.630 and Cpk = 1.56) with the average yield of 97.5%.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55211
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1057
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.1057
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5870940521.pdf3.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.