Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55219
Title: การวางผังเมืองและการปรับตัวกับสภาพการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ: กรณีศึกษาน้ำท่วมในจังหวัดปทุมธานี
Other Titles: URBAN PLANNING AND CLIMATE CHANGE ADAPTATION: A CASE STUDY OF URBAN FLOOD IN PHATHUM THANI PROVINCE
Authors: เยาวลักษณ์ จันทมาศ
Advisors: สุธี อนันต์สุขสมศรี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Sutee.A@chula.ac.th,Sutee.A@chula.ac.th
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จังหวัดปทุมธานี มีบทบาทสำคัญในการเป็นเมืองรองรับการขยายตัวของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (Bangkok Metropolitan Region) ในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การศึกษา สังคมและวัฒนธรรม ส่งผลทำให้จังหวัดปทุมธานีเกิดกระบวนการเป็นเมือง (Urbanization) ขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ทว่าการขยายตัวของเมืองนั้นเกิดขึ้นแบบไร้ทิศทาง (Urban Sprawl) บางพื้นที่ขยายตัวไปในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงน้ำท่วม (Flood Risk Areas) โดยเฉพาะในช่วงระยะเวลา 10 ปี ที่ผ่านมา จังหวัดปทุมธานีประสบกับปัญหาสถานการณ์น้ำท่วมที่มีความถี่และรุนแรงมากขึ้น ซึ่งอาจเป็นผลมาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Climate Change) ส่งผลให้พื้นที่ที่มีความเสี่ยงน้ำท่วมขยายตัว ผนวกกับการขาดมาตรการในการตั้งรับปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ การตั้งถิ่นฐานชุมชนเมืองในจังหวัดปทุมธานีจึงมีความเสี่ยงต่อภัยน้ำท่วมมากขึ้น จุดประสงค์หลักของงานวิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Land Use Change) เพื่อทำความเข้าใจทิศทางการขยายตัวของเมือง ร่วมกับการวิเคราะห์ระดับความเสี่ยงต่อภัยน้ำท่วมของพื้นที่ ภายใต้บริบทของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในจังหวัดปทุมธานี โดยการระบุพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมด้วยการวิเคราะห์ซีฟ (Sieve Analysis) ด้วยเครื่องมือระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information Systems) และการวิเคราะห์มาตรการในการตั้งรับปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ จากภาพฉายของการพัฒนาเมืองด้วยกระบวนการวิเคราะห์ฉากทัศน์ (Scenario Analysis) โดยผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ระดับความเสี่ยงน้ำท่วมของพื้นที่เสี่ยงสูงขึ้น ภายใต้บริบทของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ และพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมในจังหวัดปทุมธานี ขยายตัวขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่บริเวณฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาที่ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของ 3 อำเภอ ได้แก่ (1) อำเภอสามโคก, (2) อำเภอเมืองปทุมธานี และ (3) อำเภอลาดหลุมแก้ว อีกทั้งทิศทางการขยายตัวของเมืองในพื้นที่ของจังหวัดปทุมธานี มีแนวโน้มที่จะเติบโตเข้าไปยังพื้นที่เสี่ยงใน 3 อำเภอ ดังนั้นมาตรการในการตั้งรับปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของจังหวัดปทุมธานีจึงเป็นสิ่งสำคัญ ผลของการศึกษายังพบว่า ในปัจจุบันจังหวัดปทุมธานียังขาดมาตรการทางผังเมืองเพื่อตั้งรับปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นผลของงานวิจัยนี้ จึงนำเสนอมาตรการทางผังเมืองเพื่อเพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพในการตั้งรับปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงน้ำท่วมเพิ่มขึ้นใน 3 อำเภอของจังหวัดปทุมธานี โดยประกอบไปด้วย 2 มาตรการ คือ (1) มาตรการเชิงโครงสร้าง (Infrastructure Measures) และ (2) มาตรการที่ไม่ใช้โครงสร้าง (Non – Infrastructure Measures) หรือ มาตรการเชิงนโยบาย (Policy Measures) โดยมาตรการทางผังเมืองที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่เสี่ยงจะแตกต่างกันไปตามบริบทและแผนการจัดการเชิงพื้นที่ เช่น ในพื้นที่อำเภอสามโคกควรมีการเพิ่มมาตรการเชิงนโยบาย ผ่านการกำหนดพื้นที่กันออก (Setback) ในพื้นที่อำเภอเมืองปทุมธานี ควรมีการเพิ่มมาตรการเชิงนโยบายด้วยการควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินผ่านข้อกำหนดกฎหมาย และในพื้นที่อำเภอลาดหลุมแก้ว ควรมีการใช้มาตรการเชิงโครงสร้าง ผ่านการจัดทำเส้นทางน้ำไหลในเมือง (Urban Floodway)
Other Abstract: The Province of Pathumthani has played an important role in Bangkok Metropolitan Region in terms of economic, industrial, education, social, and culture in driving the urbanization process. However, the urban areas have been sprawling without control. Some urban areas have expanded to areas with the risk of flood. Especially, in the past 10 years, Pathumthani has suffered from more frequent and more severe floods, which might be affected by climate change. Together with inefficient climate change adaptation plans, the areas with the risk of flood have been expanded making the urban settlements in Pathumthani facing higher flood risk. The objectives of this research are to examine land use changes in order to understand the direction of urban expansion, to analyze the level of flood risk under climate change in Pathumthani by using Sieve Analysis and Geographic Information Systems, and to examine flood adaptation plans and the projections of urban development by using Scenario Analysis. The results show that the flood risk of Pathumthani has been higher under climate change, and the areas with the flood risk have been expanded, especially in the western side of Chao Phraya River which covers the majority of the areas in (1) Sam Khok District, (2) Mueang Pathum Thani District, and (3) Lat Lum Kaeo District. Moreover, the results suggest that the direction of urbanization is expended into the three districts with the high flood risk. Thus, the climate change adaptation plans are essential for Pathumthani In addition, the study finds that, currently, there is a relative lack of efficient climate change adaptation plan in Pathumthani. Therefore, this research suggests urban planning methods to increase capacity and efficiency of climate change adaptation plans especially for the three districts with the high flood risk in Pathumthani. The suggested plans include infrastructure and non-infrastructure/policy measures for each district, which are different based on the context and mitigation plans of the areas. For example, there should be a policy measure on a setback in the flood risk area in Sam Khok District, a policy measure on zoning in the flood risk area in Mueang Pathum Thani District, and an infrastructure measure on an urban floodway zone in Lat Lum Kaeo District
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางแผนภาคและเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55219
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.209
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.209
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5873325125.pdf18.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.